Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
KBANK เปิดบริการสแกนจ่าย QR ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน - ADVANC โบรกฯ เคาะเป้า 315 บ.
MAI
MPJ รุกเปิดพื้นที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ 'ลาดกระบัง-แหลมฉบัง'
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 4 หุ้นหลบภัยตลาดหุ้นดิ่ง
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
LH Bank รุกกลุ่มลูกค้าไต้หวัน-ตปท. อัดโปรฯโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM จัดประมูล ‘Clearance Sale’ ครั้งใหญ่แห่งปี ลดสูงสุดกว่า 50%
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
EXIM BANK จับมือพันธมิตร ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจสู่ตลาดใหม่
Gossip
COCOCO ลุยรับซื้อมะพร้าวแปรรูปในประเทศ
Entertainment
ศุภาลัย กับ “ความเชื่อมั่น”
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
“วิริยะประกันภัย” เปิดแผนงานปี65 ชูกลยุทธ์ Data-Driven Innovation
2022-03-31 20:27:49
383
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - วิริยะประกันภัย ประกาศแผนการดำเนินงานปี 65 ด้วยกลยุทธ์ “Data-Driven Innovation : เข้าใจ เข้าถึง เคียงข้างคุณทุกความเสี่ยงภัย” หวังรักษาความเป็นเบอร์ 1 ธุรกิจประกันวินาศภัยอย่างยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าออกผลิตภัณฑ์ใหม่มากมาย ครอบคลุมทุกความเสี่ยงภัย ส่วนผลประกอบการปี 64 บรรลุเป้า ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม 38,800 ล้านบาท เติบโต 1.56% ฐานะการเงินยังแข็งแกร่ง ด้วยทรัพย์สิน 77,500 ล้านบาท และมีอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องสูงถึง 600.51% มีเงินกองทุนประมาณ 41,400 ล้านบาท จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสินไหมโควิดที่ต้องจ่าย
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 นายอมร ทองธิว กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าธุรกิจประกันวินาศภัยทั้งระบบต่างเจอโจทย์ที่ยากที่สุด เพราะต้องเผชิญกับอุบัติภัยใหม่ “โรคโควิด-19” ที่ยังคงดำเนินต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 แต่ด้วยประสบการณ์ในการบริหารจัดการของวิริยะประกันภัย และการพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวทันอยู่ตลอดเวลา ทำให้วิริยะประกันภัยสามารถบริหารจัดการและก้าวผ่านโจทย์ที่ท้าทายนี้ไปได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง ดั่งเห็นได้จากการได้รับความไว้วางใจจากผู้เอาประกันภัย ทำให้วิริยะประกันภัยยังคงเป็นผู้นำที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งของธุรกิจประกันวินาศภัยมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 30
โดยในปี 2564 วิริยะประกันภัยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้นประมาณ 38,800 ล้านบาท มีอัตราเติบโต 1.56% แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (Motor) 33,400 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ (Non-Motor) 5,400 ล้านบาท และยังคงมีกำไรสุทธิประมาณ 500 ล้านบาท
“ต้องยอมรับว่าการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดก็คือการบริหารจัดการการจ่ายสินไหมทดแทนประกันภัยโควิด เจอ จ่าย จบ เพราะมีจำนวนของผู้เอาประกันภัยที่มาเปิดเคลมประกันภัยโควิดมีปริมาณมาก และยื่นกันอย่างพร้อมเพรียงในคราวเดียวกันหรือช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน บริษัทฯ ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้เอาประกันภัยได้รับทราบว่า การยื่นเคลมค่าสินไหมนั้น สามารถไปยื่นได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการสินไหมทดแทนของบริษัทฯ ที่มีอยู่ทุกที่ทั่วไทย และมีระบบเทคโนโลยีเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว ส่งผลให้ภาวะกระจุกตัวในการทำเคลมได้ถูกกระจายไปยังแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนได้อย่างรวดเร็ว ตามกลยุทธ์ การยึดหลักลูกค้าเป็นศูนย์กลางให้บริการครบวงจรด้วยความยืดหยุ่นและวิริยะประกันภัยก็มีสินทรัพย์สภาพคล่องและเงินกองทุน เพียงพอที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรมธรรม์ประกันภัยโควิดทุกฉบับ ที่บริษัทฯ ได้ให้ความคุ้มครองไว้ ด้วยปรัชญาในการทำธุรกิจของเรา นั่นก็คือ ความเป็นธรรม คือ นโยบาย” นายอมรกล่าว
ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2564 วิริยะประกันภัยมีสินทรัพย์รวม 77,500 ล้านบาท และมีอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องสูงถึง 600.51% มีเงินกองทุนประมาณ 41,400 ล้านบาท ในขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย อยู่ในระดับสูงเกินกว่ามาตรฐานที่สำนักงานคปภ. กำหนดไว้ถึง 170%
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2565 วิริยะประกันภัยจะดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ “Data-Driven Innovation : เข้าใจ เข้าถึง เคียงข้างคุณทุกความเสี่ยงภัย” อันเป็นกลยุทธ์ที่เกิดจากคณะผู้บริหารของบริษัทฯ เห็นพ้องกันว่าจากเหตุการณ์วิกฤตโควิดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างมากและยังส่งผลกระทบไปถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะหดตัว กำลังซื้อลดลง วิริยะประกันภัยจึงเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองผู้เอาประกันภัยให้ทันต่อสถานการณ์ โดยการนำ Data-Driven Innovation มาใช้
โดยในด้านประกันภัยรถยนต์นั้น นายอมรเปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหลากหลายผลิตภัณฑ์ด้วยกัน อาทิ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 (2+, 3+) ระยะสั้น ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองแบบไม่เต็มปีได้, ผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 รวมความคุ้มครองความเสียหายต่อรถ กรณีรถชนรถฝ่ายถูก เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการทำประกันภัย ป.3 เป็นหลัก แต่ไม่ต้องการมีปัญหาในการจัดซ่อมรถ และติดตามเรียกร้องจากคู่กรณีหากถูกชน โดยบริษัทฯ จะเป็นคนดูแลการจัดซ่อมรถให้ลูกค้า และสวมสิทธิ์ไปเรียกร้องจากคู่กรณีเอง, ผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 (2+) ซ่อมห้าง เพื่อตอบสนองลูกค้าในช่วงโควิด ที่ยังเป็นรถใหม่ อายุไม่เกิน 5 ปี แต่ต้องการประหยัดค่าเบี้ยประกันจากประกันภัยประเภท 1 ทำประกันแบบ 2+ แทน และผลิตภัณฑ์เพื่อสนองรับความต้องการผู้คนในแต่ละภูมิภาคได้เป็นการเฉพาะ แตกต่างทั้งเงื่อนไขความคุ้มครอง และเบี้ยประกันภัย นอกจากนี้ภายในปีนี้ บริษัทฯ มีแผนจะออกผลิตภัณฑ์ประกันรถยนต์ ซึ่งคิดราคาเบี้ยตามพฤติกรรมการขับขี่หรือตามลักษณะการใช้รถ เพิ่มมาอีก 1-2 ผลิตภัณฑ์
ส่วนทางด้านประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ (Non-Motor) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพนั้น ในปี 2565 นี้ บริษัทฯ จะออกผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการรายบุคคลหรือเรียกได้ว่าสามารถสนองรับการตลาดแบบ Personalization ผลิตภัณฑ์ความคุ้มครองเฉพาะตัวและตรงข้อเท็จจริงของแต่ละบุคคล
ด้าน นายสยม โรหิตเสถียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงการความสำเร็จในการให้บริการสินไหมทดแทนว่า ในปีที่ผ่านมาวิริยะประกันภัยได้ขยายศูนย์บริการสินไหมทดแทนออกไปมากมาย ทั้งในศูนย์การค้า ปั๊มน้ำมัน อาคารพาณิชย์ตามย่านชุมชน และย่านการจราจรหนาแน่นที่มักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ ตลอดไปถึงการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้อย่างเช่น การบริการเคลมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือของลูกค้าเพียงเครื่องเดียว ด้วยระบบ VDO CALL ( VClaim on VCall)
ส่วนเรื่องของการใช้ Big Data มาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสินไหมทดแทนนั้น วิริยะประกันภัยได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และได้สรรหานวัตกรรมและโมเดลที่ทันสมัยในการบริหารจัดการข้อมูลมาเพื่อยกระดับความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง มีการเชื่อมโยงโครงสร้างธุรกิจด้วยข้อมูล รวมถึงสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกฝ่าย ทุกระดับ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อประกอบการตัดสินใจในทุกขั้นตอนของการทำงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ ไปด้วยกัน
“วิริยะประกันภัยมีข้อมูลมากมายเนื่องจากเราให้บริการลูกค้ากว่าล้านกรมธรรม์ต่อปี ข้อมูลการทำประกันภัยของลูกค้าที่สะสมมาต่อเนื่องกันหลายปี จึงมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยเฉพาะสถิติข้อมูลการเกิดเหตุ ลักษณะการเกิดเหตุ ช่วงเวลาเกิดเหตุ พื้นที่เกิดเหตุ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราบริหารจัดการงานสินไหมของบริษัทฯ ให้มีความแม่นยำ ลดระยะเวลาและขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังได้นำข้อมูลลักษณะการเกิดเหตุไปใช้ประโยชน์ทางสังคมผ่านหลากหลายโครงการ เพื่อรณรงค์ช่วยลดและบรรเทาความรุนแรงของอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนจัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ต่าง ๆ กับหน่วยงานราชการและองค์กรสาธารณะต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบก เป็นต้น”
สำหรับแนวทางการพัฒนาช่องทางการขายของวิริยะประกันภัยนั้น นายดลเดช สัจจวีระกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวชี้แจงในประเด็นนี้ว่า ตัวแทนและนายหน้าประกันภัยที่มีอยู่ประมาณเกือบ 10,000 คน ยังเป็นช่องทางขายที่สำคัญของบริษัทฯ เพราะเบี้ยประกันภัยที่ได้รับมาทั้งหมดกว่า 50% ได้มาจากการทำงานอย่างหนักหน่วงของตัวแทนและนายหน้าประกันภัย ดังนั้นการส่งเสริมการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ตัวแทนและนายหน้า สามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสารและการเข้าสู่สังคมดิจิทัล และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการนำสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาใช้สนับสนุนงานขาย การประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ด้านประกันภัยแก่ลูกค้า และประชาชนทั่วไป
ส่วนช่องทางการขายทั้งแบบออนไลน์และแบบออฟไลน์อื่น ๆ บริษัทฯ มีให้บริการอย่างครบครัน เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นจุดบริการในห้างสรรพสินค้า เพื่อรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองใหญ่ที่ชอบการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ ในห้างสรรพสินค้า www.Viriyah.com และ Platform ออนไลน์ต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มีวิถีชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า ชาวดิจิทัล (Digital Native)
ส่วนแผนงานด้านการประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์หรือ Non-Motor นางฐวิกาญจน์ เตชทวีทรัพย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยว่า ถึงแม้บริษัทจะเจอภาวะวิกฤตโควิดที่หนักหน่วงในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ผลการดำเนินงานของ Non- Motor ในปี 2564 ยังคงเติบโตได้ถึง 12.17% ด้วยเบี้ยประกันภัย 5,400 ล้านบาท และบริษัทฯยังคงสามารถขยายอัตราส่วนประกันภัย Non-Motor เพิ่มเป็น 13.98% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นางฐวิกาญจน์ เปิดเผยต่อไปอีกว่า เป้าหมายหลักปี 2565 ของ Non-Motor ก็จะยังคงเพิ่มสัดส่วนประกันภัย Non-Motor เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่เราวางไว้ โดยมุ่งเน้น พัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงรายบุคคล รวมถึงทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งนอกจากการดูแลทางด้านผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพและการบริการลูกค้าด้านต่าง ๆ แล้ว บริษัทฯ ยังได้ขยายการดูแลต่อไปยังสุขภาพของรถยนต์ด้วย โดยเมื่อต้นปีนนี้เอง บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ “ประกันภัยการขยายเวลารับประกันสำหรับอะไหล่รถยนต์” หรือ “Extended Warranty” ด้วยแนวคิดที่ว่าหากประกันภัยรถยนต์คุ้มครองอุบัติเหตุ ประกันภัยนี้ก็จะคุ้มครองสุขภาพของรถคุณ ซึ่งแผนนี้ออกแบบให้คุ้มครองต่อเนื่องได้ทันทีเมื่อระยะการรับประกันจากผู้ผลิตสิ้นสุดลง ซึ่งให้ความคุ้มครองสูงสุด 14 กลุ่มอะไหล่หลักและชิ้นส่วน
ส่วนทางด้านการพัฒนาบริการ บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาระบบ Core System เพื่อรองรับการเติบโตของประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาระบบ CRM และ การใช้ Data-Driven เข้ามาช่วย เพื่อให้เราตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงไปถึงมีการเปิดตัวแคมเปญ Get Healthy เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าของเราได้ให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ซึ่งมุ่งเน้นให้คำแนะนำการปรับพฤติกรรมการบริโภค ด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิดของนักโภชนาการและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจากการดำเนินงานมาตั้งแต่ต้นปีได้รับการสนองรับเกินคาด ลูกค้าได้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก และผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจจากผู้เข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Healthy Life ได้วางแผนต่อยอดในการให้คำแนะนำด้านสุขภาพหรือประเด็นโรคที่น่าสนใจในหัวข้อต่าง ๆ ผ่าน Doctor’s Talk ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมะเร็ง PM 2.5 โอไมครอน และอีกหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจที่จะตามมา เช่น ออฟฟิศซินโครม Long Covid หรือ Mental Health Issues
KBANK เปิดบริการสแกนจ่าย QR ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน - ADVANC โบรกฯ เคาะเป้า 315 บ.
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก