Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
วิริยะประกันภัย คืนรอยยิ้มเพื่อน้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.สงขลา
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
ttb analytics ประเมินเศรษฐกิจไทยเติบโต 3.0%
2022-03-31 20:48:55
1455
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ttb analytics ประเมินเศรษฐกิจไทยเติบโต 3.0% จากปัจจัยการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่ยังมีอยู่ และแรงกดดันเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงหลังเกิดความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน พร้อมยังมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ หากสถานการณ์ยืดเยื้อ
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ระบุว่า จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่ทำให้ประชาชนยังต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตและการใช้จ่าย ผนวกกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังถูกแรงกดดันเพิ่มเติมจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน โดยหลังปฏิบัติการพิเศษทางทหารฯ มีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบเร่งตัวสูงขึ้นมาก โดย ttb analytics คาดว่า ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และในกรณีที่สถานการณ์ยืดเยื้อบานปลาย ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสปรับราคาขึ้นถึง 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยมีโอกาสอยู่ในระดับสูงตลอดปี 65
ด้วยสถานการณ์การบริโภคภาคเอกชนที่ได้แผ่วลงจากการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน นับตั้งแต่ม.ค.65 รวมกับราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ส่งผ่านผลกระทบเพิ่มไปยังผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบทันทีและรุนแรงมากที่สุด เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในบ้านและการเดินทางถึง 25% ของค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นราว 15% จากปี 64 ขณะเดียวกันยังมีสัดส่วนการบริโภคในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสัดส่วนสูงถึง 20% ซึ่งปรับเพิ่มราคาขึ้นราว 8%
ขณะที่ยอดขายสินค้าหมวดคงทน โดยเฉพาะรถยนต์จะยังขยายตัวได้จากมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ แม้ผู้ซื้อบางส่วนอาจชะลอการซื้อออกไปสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจช่วงระยะเวลาต่อจากนี้ไปลดลง ประกอบกับรายได้และการจ้างงานทั่วไปที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ในขณะที่ภาระหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง จึงมองว่าการบริโภคภาคเอกชนของไทยโดยรวมจะฟื้นตัวล่าช้าที่ 2.7% แม้จะได้รับแรงพยุงบางส่วนจากมาตรการกระตุ้นฯ ของภาครัฐ
ขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่แพงขึ้นจะส่งผลให้การท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง โดยกระทบต่อกิจกรรมและการเดินทางในช่วงสงกรานต์ อีกทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยเดินทางเข้าไทยหลังเปิดประเทศส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปมากถึง 45% และชาวรัสเซีย 7% ซึ่งความไม่มั่นคงในภูมิภาคยุโรปจะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยลดลง และคาดว่าในปี 65 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยเพียง 4.5 ล้านคน
ด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้าของไทย จะได้รับผลกระทบทางตรงจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างจำกัด เนื่องจากมูลค่าการส่งออกโดยตรงของไทยไปรัสเซียและยูเครนมีสัดส่วน 0.45% จากมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกจากไทยไปยังรัสเซียที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด คือ หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน จากปัญหาห่วงโซ่การผลิตที่รุนแรงขึ้นและการขนส่งสินค้าที่อาจสะดุดตัวชั่วคราว ขณะที่การนำเข้าโดยตรงจากรัสเซียจะได้รับผลกระทบผ่านราคานำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นและการขาดแคลนสินค้าในกลุ่มปุ๋ยเคมี, น้ำมันดิบ และเหล็ก รวมไปถึงการนำเข้าธัญพืชจากยูเครนด้วย เช่น ข้าวสาลี
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางอ้อมต่อไทยจะมีมากกว่า โดยการส่งออกจะได้รับผลผ่านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และการนำเข้าจะถูกกระทบจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของคู่ค้าสำคัญของไทย คือ สหภาพยุโรป-27 และสหรัฐฯ ซึ่งประเทศเหล่านี้พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบโดยเฉพาะเหล็ก เคมีภัณฑ์ และพลังงานจากรัสเซียและยูเครนมาก ดังนั้น ในระยะถัดไปนอกจากจะเห็นการชะลอตัวในปริมาณการนำเข้าของไทยโดยเฉพาะหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์จากสหรัฐฯ และยุโรปแล้ว ปริมาณการส่งออกสินค้าของไทยก็จะชะลอตัวลงเช่นกัน แต่เนื่องจากราคาส่งออกจะปรับสูงขึ้นมากตามต้นทุนที่เร่งตัว จึงประเมินว่ามูลค่าการส่งออกของไทยปี 65 จะอยู่ที่ราว 287 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 5.8%
ดังนั้น ภาระต้นทุนในประเทศที่สูงขึ้น พร้อมกับความต้องการภายในประเทศและเศรษฐกิจภาคต่างประเทศที่ชะลอตัวลง จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและกิจกรรมการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางลดลงเช่นกัน อีกทั้งการระมัดระวังในการจ้างงานใหม่เพื่อควบคุมต้นทุน ttb analytics จึงประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวที่ 3.0% ซึ่งเป็นทิศทางฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ช้าลงกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจะขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ หากสถานการณ์ความขัดแย้งในยุโรปยืดเยื้อบานปลายและเกิดการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานในตลาดโลกและตลาดในประเทศทรงตัวระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ กิจกรรมภาคธุรกิจไทยก็อาจลดลงมากกว่าที่คาดจากสาเหตุการปรับต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับการจ้างงานในอนาคต
โดยราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นหลังเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศในช่วงนี้ ส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยที่ใช้พลังงานหรือวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ข้าวโพด ถั่วเหลือง และโลหะต่าง ๆ จำเป็นต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและผันผวนมากขึ้น ขณะที่การปรับราคาสินค้าขึ้นยังทำได้น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุนตามการบริโภค ที่มีแนวโน้มชะลอตัวและการท่องเที่ยวที่จะฟื้นตัวช้าออกไป ความเสี่ยงด้านต้นทุนและด้านการตลาดของภาคธุรกิจจึงเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ภาคธุรกิจจำต้องมีความระมัดระวังในการตัดสินใจขยายการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค และภาคก่อสร้าง
ดังนั้น ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการขนส่ง การทำตลาดออนไลน์เพื่อเจาะตลาดใหม่ ๆ และบริหารสต๊อกสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยช่วยรักษาการเติบโตและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจเอาไว้ได้ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech