Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
MAI
LTS ยัน! ไร้ผลกระทบสหรัฐฯ จำกัดส่งออกชิป AI
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
คปภ. Kick off โครงการ “OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 4”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
ORN จัดงาน Analyst Meeting ให้ข้อมูลกลยุทธ์การเติบโตช่วงครึ่งปีหลัง 2568
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
BBIK แนะภาคธุรกิจทำ ‘Data Architecture’ ยกระดับคุณภาพฐานข้อมูล
2022-05-19 23:12:55
5200
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – BBIK แนะภาคธุรกิจเร่งทำ “Data Architecture” ในการออกแบบและสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลองค์กรในทุกกระบวนการ ให้เป็นไปอย่างมีระบบระเบียบและมีมาตรฐานผ่านหลักปฏิบัติ 6 ขั้นตอนเพื่อปูทางสู่การเป็น Data-Driven Organization ช่วยปลดล็อคศักยภาพและการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 นายพิพัฒน์ ประภาพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการและหัวหน้าทีม Big Data and Advanced Analytics บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเผยว่า กระแสความตื่นตัวของภาคธุรกิจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในประเทศไทยนั้นถือว่าอยู่ในระดับสูง แต่กลับมีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่มองข้ามขั้นตอนสำคัญในการวางรากฐานให้กับข้อมูลอย่าง การวางแผนและออกแบบการจัดการข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างเป็นระบบ “Data Architecture หรือ สถาปัตยกรรมข้อมูล” ส่งผลให้หลายองค์กรที่นำ Artificial Intelligence (AI) หรือ Machine Learning (M/L) มาใช้งานโดยที่ไม่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลที่เหมาะสม ต้องเผชิญกับปัญหาด้านการประมวลผลข้อมูลที่คลาดเคลื่อน จำเป็นต้องใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล (Data Cleansing) นานเกินไปจน ทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจและก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ซึ่งหากไม่แก้ไขปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อขีดความสามารถการแข่งขันในอนาคตในที่สุด
“การให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูลในประเทศไทยนั้นยังน้อย สวนทางกับความต้องการทำ Data Analytics หรือ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่มีสูง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณภาพและถูกต้องแม่นยำสูงนั้น จำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมข้อมูลที่กำหนดมาตรฐานในการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ตรวจสอบ คัดกรอง แก้ไข และวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง รวมทั้งออกแบบให้การเรียกใช้งานข้อมูลที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งในโลกของ Data Analytics มีคำเปรียบเปรยเกี่ยวกับข้อมูลว่า Garbage in – Garbage out หรือ GIGO หมายถึง หากข้อมูลที่เราป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ ไม่สอดคล้องกับความต้องการ จึงเปรียบเหมือนกับขยะ ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ก็ไม่ต่างกับขยะที่ไร้ประโยชน์เช่นกัน ด้วยเหตุนี้การสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูลจึงเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญในการนำข้อมูลไปใช้งานทุกรูปแบบ” นายพิพัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ Data Architecture จึงเป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานและการออกแบบการบริหารจัดการ โครงสร้างและสร้างมาตรฐานคุณภาพข้อมูลให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และตอบโจทย์ธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล ลดเวลาการทำงาน และความผิดพลาดจาก Human Error รวมถึงยกระดับความถูกต้องแม่นยำให้กับข้อมูล เพื่อเพิ่มศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วย
ดังนั้นองค์กรที่ต้องการก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หรือองค์กรที่กำลังประสบปัญหาการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงควรเร่งทำ Data Architecture ซึ่งทาง บลูบิค ได้วางแนวปฏิบัติในการทำ Data Architecture เบื้องต้น 6 ขั้นตอน ที่สามารถปรับใช้ได้กับทุกองค์กร ด้วยการออกแบบโมเดลสถาปัตยกรรมข้อมูลเฉพาะสำหรับแผนกลยุทธ์หรือโครงการต่างๆ ดังนี้
1) การทำความเข้าใจกลยุทธ์ของธุรกิจ รวบรวมความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ เพื่อนำไปกำหนดการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการตัดสินใจ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลยุทธ์นั้นๆ
2) การคัดแยกข้อมูลที่มีคุณค่า (Identify Value Data) เมื่อเข้าใจกลยุทธ์ทางธุรกิจแล้ว คัดกรองเฉพาะข้อมูลหลักที่จำเป็นต้องมีคุณภาพ (Critical Data Elements) ทำความเข้าใจกับทิศทางการไหลของข้อมูล และโครงสร้างของข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการคิดแผนกลยุทธ์ และมีประโยชน์ต่อกระบวนการตัดสินใจ โดยจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล จัดให้มีการกำหนดโครงสร้างและคุณลักษณะข้อมูลที่มีคุณภาพที่ชัดเจน และเข้าใจการไหลของข้อมูลตั้งแต่การนำเข้าข้อมูลจนถึงส่วนที่จะนำข้อมูลไปใช้งาน
3) การจัดลำดับความสำคัญข้อมูล (Prioritization of Data) การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลทำให้สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นของการออกแบบและจัดระเบียบของโมเดลข้อมูล เพื่อที่จะทำให้สถาปัตยกรรมข้อมูลที่สร้างขึ้นมานั้นสอดคล้องกับการนำข้อมูลไปใช้งานและกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กร จึงสามารถเรียกข้อมูลไปใช้ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
4) การนำข้อมูลที่ได้มาไปเชื่อมโยงกับ Use Case เพื่อกำหนดกรอบข้อมูล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นในเชื่อมต่อ รวบรวมข้อมูล การออกแบบแบบจำลองข้อมูล และเข้าสู่กระบวนการสร้างแบบจำลองข้อมูล สำหรับกลยุทธ์นั้นได้, 5) การใช้ประโยชน์จากข้อมูล Insights นำข้อมูลที่ผ่านการกระบวนการวิเคราะห์โดย Data Analytics หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อทำแผน Quick Win หรือ ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้
6) การสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนในองค์กร เมื่อประสบความสำเร็จจากการนำข้อมูลจากสถาปัตยกรรมไปใช้แล้ว ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในองค์กรทราบถึงความสำคัญและประสิทธิผลในการใช้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณภาพ เพื่อปรับมุมมองเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมข้อมูลให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
“เมื่อ Data-Driven Organization กลายเป็นพันธกิจของหลายองค์กร การวางรากฐานข้อมูลด้วยการสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูลจะช่วยให้องค์กรเข้าใจข้อมูลและการจัดการข้อมูลได้ดีขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการใช้งานในภาคธุรกิจนั้น ซึ่งภารกิจเหล่านี้ล้วนจำเป็นต้องมีบุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เข้าใจทั้งภาคธุรกิจและเทคโนโลยีเป็นอย่างดี เพื่อให้การปรับเปลี่ยนองค์กรสามารถบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น จากประสบการณ์ของ บลูบิค ที่ได้เข้าไปช่วยปรับเปลี่ยนองค์กรชั้นนำสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล พบว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจการใช้งานข้อมูลในมุมธุรกิจนั้น สามารถลดความเสี่ยงจากข้อมูลสำคัญสูญหายระหว่างกระบวนการจัดเก็บ ลดเวลากระบวนการทำ Data Cleansing สามารถตรวจสอบและสร้างมาตรฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับธุรกิจ ทำให้จำนวนข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องและแม่นยำมีมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยงจากการตัดสินใจผิดพลาดลดลงด้วย” นายพิพัฒน์ กล่าว
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน