Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
ตลท. จัดงานสัมมนา "Legacy & Future: 50 Years of Thai Capital Market"
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
ttb analytics ชี้ตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้ากลุ่ม xEV พุ่ง 48%
2022-05-26 20:46:36
5892
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ttb analytics ประเมินปี 65 รถยนต์นั่งไฟฟ้ากลุ่ม xEV พุ่ง 48% รับอานิสงส์มาตรการสนับสนุนรถพลังงานไฟฟ้าและราคาน้ำมันแพง แนะธุรกิจเกี่ยวข้องเร่งปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์นั่งไฟฟ้า (Electric Vehicles : xEV) ของไทยปี 65 แตะ 6.36 หมื่นคัน โดยเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ถึง 1 หมื่นคัน หรือขยายตัว 539.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากอานิสงส์มาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ตามกระแสความนิยมยานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกในด้านราคาและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid) และไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) ที่คาดว่าจะสูงถึง 5.3 หมื่นคัน สวนทางกับกระแสรถยนต์นั่งเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) หดตัวจากปี 64 ถึง 8.8%
ทั้งนี้ ท่ามกลางแผนการยกเลิกการใช้ยานยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในหลายประเทศ และการตื่นตัวต่อภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และที่สำคัญ ด้วยการปรับปรุงพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ทำให้ความจุของแบตเตอรี่ (Battery Capacity) ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่าภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี และส่งผลให้ต้นทุนราคาแบตเตอรี่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความกังวลในการขับขี่ (Range Anxiety) จากข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่าง สถานีชาร์จไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอและกระจุกในพื้นที่เขตเมืองเป็นหลักแล้ว ยังทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าจับต้องได้มากขึ้น และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ผลกระทบจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ซื้อรถใหม่จะพิจารณามากขึ้นในปีนี้ โดยที่ผ่านมารถไฟฟ้าจะมีตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย ไปจนถึงผู้ที่อาศัยในเขตเมือง แต่ปัจจุบันผู้ซื้อรถใหม่เริ่มหันมาให้ความสนใจในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
ล่าสุดภาครัฐได้ออกมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนเม.ย.65 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติม การลดภาษีสรรพสามิตและภาษีอากรขาเข้าสำหรับรถยนต์ BEV รวมถึงมาตรการกระตุ้นยอดขายจากฝั่งผู้ผลิตในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาขายปลีกรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจับต้องได้มากขึ้น ทำให้แนวโน้มความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าขยายวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ใช้รถยนต์ที่เป็นกลุ่ม Eco Car ซึ่งมียอดขายรถใหม่เฉลี่ยอยู่ประมาณ 2-3 แสนคันต่อปี และอาจเป็นตลาดที่มีศักยภาพเติบโตสูงในระยะต่อไป
ttb analytics จึงประเมินว่า ยอดขายรถยนต์ BEV ในปี 65 จะสูงถึง 10,203 คัน ส่วนยอดขายแบบ Hybrid และ PHEV จะอยู่ที่ 41,927 คัน และ 11,469 คัน ตามลำดับ เหล่านี้เห็นได้จากตัวเลขยอดจองรถยนต์ xEV ในงานมหกรรมมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมาที่สูงเกิน 3.1 พันคัน หรือคิดเป็นกว่า 10% ของยอดจองรถ 33,936 คัน ประกอบกับแรงส่งในช่วงปลายปีนี้ ที่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่นจะส่งรถยนต์ BEV เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอีก
อย่างไรก็ดี ต้องจับตาเรื่องการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) และชิ้นส่วนที่สำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดว่าจะยังคงลากยาวต่อไปจากปัญหา Supply Disruption หลังความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครนส่อเค้ายืดเยื้อ และการคงมาตรการ Zero COVID ของจีน ซึ่งอาจกระทบต่อยอดการผลิตรถยนต์ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ทำให้การส่งมอบอาจล่าช้าออกไปอย่างน้อย 6-12 เดือน
แม้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะโตเร็ว แต่โอกาสที่จะกลายเป็นฐานผลิตรถยนต์ BEV ของภูมิภาคยังค่อนข้างยาก เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญกับการแข่งขันจากค่ายรถยนต์จากจีนมากขึ้น ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์ BEV ในไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทยยังค่อนข้างเล็ก และบริษัทผู้ผลิตหลักจากประเทศญี่ปุ่นยังไม่เดินหน้ารุกตลาด BEV อย่างเต็มที่ จึงทำให้จีนเร่งรุกตลาดสร้างฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รถยนต์ BEV ที่วิ่งบนท้องถนนในปัจจุบันเกิน 80% เป็นผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศจีนทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดี การตั้งฐานผลิตรถยนต์ BEV ของค่ายรถจีนนอกประเทศก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่คุ้มค่านัก เนื่องจากปริมาณการผลิตรถยนต์ BEV ในโรงงานประเทศจีนมีขนาดใหญ่ จึงมีการผลิตสินค้าจำนวนมากในครั้งเดียวจนได้ต้นทุนที่ต่ำ หรือที่เรียกว่า การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อคันถูกกว่าไทยค่อนข้างมาก อีกทั้งผู้ผลิตยังสามารถนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมาขายในไทยโดยตรงผ่านสิทธิประโยชน์ด้านเขตการค้าเสรีไทย-จีน (FTA) แทนที่จะเข้าร่วมโครงการสนับสนุนจากภาครัฐที่ผู้ผลิตมีภาระผูกพันที่จะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศอีกด้วย
แน่นอนว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะเจอแรงกระเพื่อมจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าชัดเจนขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ ICE ที่เป็นซัพพลายเชนกลุ่ม Tier 2 และ 3 ในโครงสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่อาจรวมถึง ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธุรกิจให้บริการบำรุงรักษาและอะไหล่ซ่อมรถ ธุรกิจประกันภัยรถ ตลอดจนธุรกิจสถานีบริการน้ำมันและก๊าซ ที่จำเป็นจะต้องเร่งปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่ที่กำลังจะมาถึงนี้
อย่างไรก็ตาม ttb analytics คาดว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานรถยนต์ไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้า ธุรกิจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในระยะแรก ธุรกิจติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (Wallbox EV Charger) จะมีแนวโน้มสดใสตามความต้องการของรถยนต์ BEV ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังสามารถรองรับลูกค้ารถยนต์ PHEV ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีตามการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ซึ่งในปัจจุบันมีรถยนต์ BEV และ PHEV สะสมทั่วประเทศถึง 3.5 หมื่นคัน ทำให้ผู้ผลิตทั้งรายเล็กและรายใหญ่หันมาสนใจธุรกิจให้บริการติดตั้ง Wallbox EV Charger กันอย่างคึกคัก โดยจะตอบโจทย์ทั้งในแง่ของความรวดเร็วในการชาร์จ ความปลอดภัยในการใช้งาน อีกทั้งยังลดข้อจำกัดจากสถานีและหัวจ่ายไฟฟ้าที่ยังมีน้อย เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เองมักเป็นการใช้งานเพื่อเดินทางไป-กลับที่พักเป็นประจำ ทำให้การชาร์จไฟฟ้าในเวลากลางคืนก่อนออกจากบ้านนับว่าสะดวกมากกว่าที่จะต้องไปจอดเพื่อชาร์จที่สถานี รวมทั้งการชาร์จที่บ้านยังมีต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ถูกกว่าการชาร์จตามสถานีชาร์จไฟฟ้าถึงราว 1-3 เท่าอีกด้วย
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech