Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
NAM เข้าเฝ้าถวายเครื่องสักการะท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
TTB มองศก.ปี 66 โต 3.7% รับแรงส่งจากนทท.ต่างชาติ-การบริโภคฟื้นตัว
2022-09-27 19:33:40
278
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า การเติบโตของมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 66 จะอยู่ที่ราว 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวเพียง 3.4% ชะลอตัวลงจากปี 65 ตามทิศทางเศรษฐกิจคู่ค้าที่อ่อนแรงลง ขณะที่บางภูมิภาคกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยชัดเจน ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าของไทยยังมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ 1) เศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังทั่วโลกเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในระดับที่แรงและรวดเร็ว 2) ระดับราคาสินค้าทั่วโลกที่อาจทรงตัวในระดับสูงนานกว่าที่คาด
3) ความสามารถในการบริหารจัดการวิกฤตขาดแคลนพลังงานในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่กำลังมาถึง และ 4) ภัยธรรมชาติ รวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังรุนแรงขึ้นทั้งในสหภาพยุโรปและช่องแคบไต้หวัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาการชะงักงันหรือสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกรุนแรงมากกว่าที่ได้ประเมินไว้ ขณะที่การนำเข้าสินค้าในปี 66 จะขยายตัวเพียง 1.0% ชะลอตัวลงจากปี 65 ตามราคาพลังงานในตลาดโลกที่เริ่มลดลง โดยรวมทำให้มองภาพดุลการค้าระหว่างประเทศ (ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์) ปี 66 จะขาดดุลน้อยกว่าปี 65
สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยจะมีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่องไปยังปี 66 หลังจากไทยและประเทศต่าง ๆ ได้ทยอยผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าออกพรมแดนพร้อมกันนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 65 โดย ttb analytics มองว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทยในปี 66 จะอยู่ที่ราว 18.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 9.5 ล้านคนในปี 65 โดยกลุ่มที่จะเข้ามาเที่ยวมากที่สุดยังเป็นนักท่องเที่ยวแถบอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย สิงค์โปร์ และกลุ่มเอเชียตะวันออก คือ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ในส่วนนักท่องเที่ยวยุโรปยังมีแนวโน้มเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณนักท่องเที่ยวจากฝั่งเอเชีย
อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีโอกาสที่จะดีกว่าที่ประเมินไว้จากนักท่องเที่ยวในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ 1) นักท่องเที่ยวเอเชียใต้และตะวันออกกลางที่เติบโตสูงหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายเป็นต้นมา ได้แก่ อินเดีย กลุ่ม GCC (ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน) 2) นักท่องเที่ยวจีน อาจจะออกมาท่องเที่ยวต่างประเทศได้มากขึ้นในปี 66 หลังทางการจีนเริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายแนวนโยบายควบคุมโรค ส่วนการนำเข้าบริการของไทยมีแนวโน้มชะลอลงตามค่าระวางเรือที่ราคาทยอยลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ดุลบริการของไทยในปี 66 มีโอกาสจะกลับมาเกินดุลได้เล็กน้อย หลังขาดดุลอย่างมากในช่วงปี 63-65
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยจะเริ่มแผ่วลงนับตั้งแต่ปลายปี 65 จากผลของฐานที่สูงในปี 64 ซึ่ง ttb analytics มองเงินเฟ้อปี 66 จะอยู่ที่ 2.6% ชะลอลงจากเงินเฟ้อปี 65 อยู่ที่ราว 6.1% อย่างไรก็ตาม ระดับราคาสินค้าในประเทศจะยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อไปจนถึงกลางปี 66 ก่อนจะทยอยลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในครึ่งหลังของปี 66 ดังนั้น ค่าครองชีพที่แพงและหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น จึงยังคงเป็นปัจจัยกดดันกำลังซื้อในประเทศอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่กิจกรรมการท่องเที่ยวของคนไทยภายในประเทศที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับดีต่อเนื่องในปี 66 และกำลังซื้อของกลุ่มคนรายได้ระดับกลาง-บนที่ยังอยู่ในระดับดี จะเป็นปัจจัยหลักที่ยังช่วยพยุงการบริโภคภาคเอกชนให้ยังขยายตัวได้ท่ามกลางปัจจัยท้าทาย สอดคล้องกับทิศทางการบริโภคในหมวดบริการที่ฟื้นตัวชัดเจน จึงมองว่าการบริโภคภาคเอกชนในปี 66 จะสามารถขยายตัวได้ที่ 3.5% ซึ่งถือเป็นระดับการเติบโตใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตโควิด-19 ระหว่างปี 59-62
สำหรับเม็ดเงินการใช้จ่ายภาครัฐในปี 66 ประเมินว่าอาจลดลง แม้งบประมาณจะเพิ่มขึ้นจากปี 65 ก็ตาม ประกอบกับการชะลอตัวลงของการส่งออกสินค้าในปี 66 นี้ จึงประเมินว่าการลงทุนภาคเอกชนในปี 66 จะขยายตัวที่ 2.6% ชะลอลงจากปี 65 ที่ 3.0%
ทั้งนี้ จากปัจจัยทั้งหมดข้างต้น ttb analytics จึงประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 66 จะขยายตัวที่ 3.7% เร่งขึ้นจาก 3.2% ในปี 65 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากกิจกรรมท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทย รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวต่อเนื่องไปในปี 66 ซึ่งโดยรวมเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวได้สูงกว่าตามที่คาดการณ์จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่มีความเสี่ยงด้านต่ำจากความขัดแย้งระหว่างประเทศเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางชะลอตัวลง และภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่ยังเป็นแรงกดดันต่อเนื่อง
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech