Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
วิริยะประกันภัย คืนรอยยิ้มเพื่อน้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.สงขลา
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
กสิกรไทย วางกรอบจีดีพีปี 66 ที่ 3.2-4.2% หวั่นศก.ประเทศคู่ค้าถดถอย
2022-09-28 20:36:30
426
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงจีดีพีปี 65 ที่ 2.9% ขณะที่มองกรอบจีดีพีปี 66 ที่ 3.2-4.2% โดยหวังพึ่งแรงขับเคลื่อนจากการท่องเที่ยว บรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจคู่ค้าถดถอย ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ นำโดยสหรัฐฯ ขณะที่เศรษฐกิจไทยเพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัว
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงปลายปี 65 ต่อเนื่องไปถึงช่วงต้นปี 66 มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคอีกครั้ง (Technical Recession) เช่นเดียวกับเศรษฐกิจยุโรปที่จะเห็นภาวะดังกล่าวที่จีดีพีหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ติดต่อกันเป็นระยะเวลาสองไตรมาส ซึ่งทำให้การฟื้นตัวของไทยคาดหวังแรงส่งจากฝั่งการส่งออกได้ลดลง
นอกจากนี้ สถานการณ์เงินเฟ้อโลกจะยังไม่ลดลงเร็ว โดยได้รับแรงกดดันจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่ยืดเยื้อ ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 65 ต่อเนื่องถึงปี 66 จึงต้องพึ่งพาแรงส่งจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้ไว้ที่ 9.75 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 7.2 ล้านคน ขณะที่ปี 66 จำนวนนักท่องเที่ยวคาดว่าจะขยับขึ้นมาที่ 13.0-20.0 ล้านคน ซึ่งยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตโควิดที่ 40 ล้านคนอย่างมีนัยสำคัญ
ส่งผลให้ในภาพรวมแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงประมาณการจีดีพีของปี 65 ไว้ที่ 2.9% ขณะที่แม้ในปี 66 จีดีพีจะขยายตัวเร่งขึ้นมาที่กรอบ 3.2-4.2% แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงให้ติดตามทั้งเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศ
ขณะที่แนวโน้มดอกเบี้ยนั้น คาดว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมอีก 2 ครั้งที่เหลือของปีนี้ และอาจลากไปถึงช่วงแรกของปีหน้า ขึ้นกับระดับความแรงของอัตราเงินเฟ้อและขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในแต่ละครั้งของเฟด ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยคงปรับขึ้นต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกของปี 66 เป็นอย่างน้อย แต่ในขนาดการปรับขึ้นที่ค่อยเป็นค่อยไป ส่วนเงินบาทในช่วงที่เหลือของปี 65 นี้ คาดว่าจะยังเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่า ตราบใดที่เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด
นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า สัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.ดังกล่าว ผนวกกับนโยบายการปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ กลับมาที่ 0.46% ตั้งแต่ต้นปี 66 นั้น คงทำให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินกู้มาตรฐานตาม แม้ว่าสภาพคล่องจะอยู่ในระดับสูง ขณะที่แม้มองว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะไม่ส่งผลให้เกิดภาวะการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL Cliff) เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เร่งปรับโครงสร้างหนี้และบริหารจัดการหนี้ในเชิงรุก แต่ประเด็นเรื่องคุณภาพหนี้และการช่วยเหลือลูกค้า ก็ยังต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์สัดส่วนหนี้ด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมของระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ในกรอบ 2.90-3.10% ภายในสิ้นปี 66 เทียบกับ 2.88% ณ สิ้นไตรมาส 2/65 ส่วนแนวโน้มสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย คาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 4.5-6.0% ในปี 66 เทียบกับประมาณ 5.0% ในปี 65 ซึ่งถือว่าไม่ได้สูงมาก ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังมีอยู่มาก
ด้านนางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในช่วงที่เหลือของปี 65 และปี 66 นั้น มองว่ายังเผชิญสภาวะที่ท้าทายอยู่มาก โดยเฉพาะจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลักในโลกที่เป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย ทำให้อุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากเงินบาทอ่อนค่าอย่างเต็มที่ สำหรับภาคการท่องเที่ยวก็เช่นกัน ตลาดนักท่องเที่ยวหลักที่เดินทางมา เผชิญปัญหาค่าเงินที่อ่อนและบางประเทศเผชิญความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ประกอบกับราคาพลังงานที่สูงดันค่าโดยสารเครื่องบินและค่าใช้จ่ายรายการอื่นๆ ให้แพงขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางหรือใช้จ่าย
ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาท 10-15% จะกระทบต้นทุนนำเข้าภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยประมาณ 2.2% ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเตรียมตัวรับมือ เส้นทางของการฟื้นตัวในปีหน้าจึงยังไม่ถือว่าราบรื่นนัก
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech