Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
MAI
LTS ยัน! ไร้ผลกระทบสหรัฐฯ จำกัดส่งออกชิป AI
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
คปภ. Kick off โครงการ “OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 4”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
DDD ส่ง “ออม-กรณ์นภัส” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์ “เลอซาช่า”คนล่าสุด
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
คปภ.คาดเบี้ยประกันรับปี66 ทะยาน8.9แสนล.โต1.95%
2022-11-07 07:23:02
1128
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - คปภ.คาดการร์เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงปี 65 อยู่ที่ 6.14 แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 8.9 แสนล้าน ในปี 66 เติบโต 1.95% ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพยังฮิต รุกหารือภาคธุรกิจ หาข้อสรุปเบี้ยประกันภัยรถ EV
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ประมาณการเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของปี 2565 จากสถานการณ์ปัจจุบันประมาณการเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จากข้อมูลรายงานแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินกิจการของบริษัท (รายงาน XML จากระบบ CRR) คาดจะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงประมาณ 886,211 ล้านบาท เติบโตประมาณ +0.10% ถึง +2.10% แบ่งเป็น ประมาณการเบี้ยประกันชีวิต จำนวน 614,917 ล้านบาท เติบโตประมาณ -0.82% ถึง +1.18% สอดคล้องกับการประมาณการของสมาคมประกันชีวิตไทย (ประมาณการไว้ +0.00% ถึง +2.50%) และ เบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 271,293 ล้านบาท เติบโตประมาณ +2.25% ถึง +4.25% สอดคล้องกับการประมาณการของสมาคมประกันวินาศภัยไทย (ประมาณการไว้ +3.50 ถึง +4.50%)
สำหรับประมาณการเบี้ยประกันภัยเต็มปี 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงประมาณ 894,600 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ -0.05% ถึง +1.95% ในส่วนของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยที่ได้รับความนิยมและมีการเติบโตสูงขึ้น คือ ประกันภัยรถยนต์ซึ่งยังคงครองแชมป์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ รวมทั้งมาตรการเปิดประเทศของภาครัฐที่เน้นเรื่องการท่องเที่ยว ส่งผลให้ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศจะเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น
นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (รถ EV) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการยานยนต์ เกิดกระแสความนิยมรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยปัจจุบันมีรถ EV จดทะเบียนรวมทุกประเภท ประมาณ 20,000 คัน ซึ่งบริษัทประกันภัยจะกำหนดเบี้ยรถ EV สูงกว่ารถยนต์ทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนนำระบบประกันภัยเข้ามาบริหารความเสี่ยงรถ EV สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย พัฒนา ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย จึงได้มีการประชุมหารือกับภาคธุรกิจประกันภัยที่มีการรับประกันภัยรถ EV รวมทั้งผู้แทนจากคณะกรรมการยานยนต์และสมาคมประกันวินาศภัยไทยเพื่อแก้ไขปัญหาค่าเบี้ยประกันภัย โดยที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันภัยจะยังไม่มีการขึ้นเบี้ยประกันภัยในช่วงนี้ แม้ว่า Loss Ratio ของรถกลุ่มนี้จะสูงกว่ารถสันดาปค่อนข้างมากก็ตาม
สิ่งที่สำนักงาน คปภ. จะดำเนินควบคู่กันไป โดยกำหนดแผนดำเนินการในปี 2566 คือ จะมีการเก็บรวบรวมสถิติการรับประกันภัยรถ EV และศึกษารูปแบบการประกันภัยเพื่อจัดทำพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถ EV ให้มีความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัย อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้ อีกทั้ง จะเป็นทางเลือกให้กับประชาชนผู้ใช้รถ EV สามารถเข้าถึงเบี้ยประกันภัยที่ถูกลงได้
สำหรับปัญหา กรณีประกันภัยโควิด-19 แบบ เจอ จ่าย จบ สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของธุรกิจประกันภัยให้กลับคืนมาโดยเร็ว โดยมีการเร่งปรับปรุงกลไกในการกำกับดูแลแบบ proactive actions และบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนภารกิจเร่งด่วนดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้คำนึงถึงการป้องกันปัญหาเช่นเดียวกับกรณีประกันภัยโควิด-19 แบบ เจอ จ่าย จบ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก โดยมีแผนดำเนินการ ดังนี้
ออกคำสั่งนายทะเบียนเพื่อตีความเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ในข้อที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาประกันภัยให้ชัดเจนและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วย
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นการอุดช่องว่างและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากประกันภัยโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งมีบริษัทประกันภัยบางแห่งนำเงื่อนไขไปใช้หรือตีความถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จนนำไปสู่ปัญหาการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ทั้งนี้ เงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาที่ปรากฏอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัย เป็นเงื่อนไขที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่การนำเงื่อนไขไปใช้ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักความสุจริตประกอบด้วย อีกทั้ง ข้อความที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขก็ไม่ได้อนุญาตให้บริษัทประกันภัยสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจแบบเหมาเข่ง โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขในสาระสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้บริโภค ดังนั้น บริษัทจึงไม่อาจใช้หรือตีความเงื่อนไขดังกล่าวในทางที่เป็นโทษแก่ผู้เอาประกันภัยได้
สำหรับแนวทางการดำเนินการเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัย กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) นั้น เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ฟื้นฟูกิจการและตั้งบริษัทเป็นผู้ทำแผน ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งดังกล่าว เพื่อเป็นการกำกับดูแลในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ คปภ. ได้มีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สั่งให้บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) แก้ไขฐานะและการดำเนินการของบริษัท ซึ่งการออกคำสั่งนายทะเบียนนี้จะช่วยให้สำนักงาน คปภ. สามารถติดตามการแก้ไขฐานะทางการเงิน การดำเนินงานของบริษัท พร้อมทั้งคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนได้เต็มที่ โดยกำหนดให้บริษัทต้องรายงานความคืบหน้าการดำเนินการให้สำนักงาน คปภ. ทราบ ทุก 7 วัน
ในระหว่างนี้ สำนักงาน คปภ. ได้มีการประสานงานกับกรมบังคับคดีเกี่ยวกับแนวทางการดูแลประชาชนผู้เอาประกันภัย ซึ่งการแก้ไขฐานะการเงินของบริษัทคาดว่าจะมีความชัดเจนเมื่อบริษัทส่งแผนการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใต้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และในระหว่างนี้บริษัทยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ ศาลล้มละลายกลาง กรมบังคับคดี โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และสำนักงาน คปภ. ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน