Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
MAI
LTS ยัน! ไร้ผลกระทบสหรัฐฯ จำกัดส่งออกชิป AI
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
คปภ. Kick off โครงการ “OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 4”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
คณะผู้บริหารกรมสรรพสามิต ร่วมพิธีเปิดอาคาร 5 แห่งใหม่
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB EIC ส่องอุตฯอิเล็กทรอนิกส์ทรงตัว รับผลกระทบศก.โลกชะลอตัว
2023-06-21 20:52:54
208
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC ประเมินอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปี 66 มีแนวโน้มทรงตัว แต่ยังต้องจับตาความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 นางสาวจิรภา บุญพาสุข นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2566 มีแนวโน้มทรงตัว สอดคล้องกับการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจโลกและความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอลง โดยในปี 2565 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมขยายตัว 5.1% จากปีก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภทที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และเซมิคอนดักเตอร์
สำหรับปี 2566 คาดว่ามูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมมีแนวโน้มทรงตัวจากปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ 0.2% จากปีก่อน สอดคล้องกับความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากนโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัวต่อเนื่อง และค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้า Consumer electronics ขณะที่ความต้องการฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทยอยปรับตัวลดลงจากการถูก Disrupt ของ SSD ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และความต้องการคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวใน Cycle รอบนี้ รวมทั้งยังมีแรงฉุดจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทจากไทย
ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกนำไปใช้ในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ Consumer electronics ชะลอลงตามความต้องการคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่ภาวะอิ่มตัวใน Cycle นี้ โดยอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดมูลค่าการส่งออกในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องที่ 5.9% จากปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ และแผงวงจรพิมพ์ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
ในส่วนของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ คาดมูลค่าการส่งออก HDD ในปีนี้มีแนวโนมหดตัวต่อเนื่องที่ -13.1% จากปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการ HDD ที่ลดลงและจากการถูก Disrupt ของการใช้ Solid State Drive (SSD) ในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรม Consumer electronics มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวอยู่ที่ -1.9% จากปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวสำหรับ Cycle ของการซื้อรอบนี้ และกำลังซื้อ
ของผู้บริโภคในตลาดโลกที่เริ่มชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดมูลค่าการส่งออกในปีนี้คาดว่าสามารถขยายตัวต่อเนื่องที่ 2.4% จากปีก่อน โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นที่ใช้ในครัวเรือน และเครื่องซักผ้า ตามลำดับ ทั้งนี้ยังคงต้องติดตามนโยบายการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจส่งผลให้ไทยส่งออกเครื่องใช้ฟ้าไปยังสหรัฐฯแทนจีนได้มากขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้ากำลังหรือ Power electronics คาดมูลค่าการส่งออกในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 4.9% จากปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งในตลาดโลกและอาเซียน
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังมีประเด็นที่ต้องจับตาจากสถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ กระแสการย้ายฐาน การผลิต และมาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ ทั้งภาษีและมิใช่ภาษี โดยภาวะการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์โลกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เริ่มชะลอลง ประกอบกับอุปทานที่เริ่มเข้ามาเติมในตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวยังคงส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าขั้นปลายในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
ขณะที่ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และกระแสการย้ายฐานการผลิต ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการออกกฎหมาย CHIPS act ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อยอดสงครามทางเทคโนโลยี (Tech war) กับจีนที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2562 ทั้งนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดกระแสการย้ายฐานการผลิตและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก
นอกจากนี้ มาตรการกีดกันทางการค้าในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศคู่ค้า ยังคงต้องจับตาการขยายมาตรการ Safeguard เครื่องซักผ้าของสหรัฐฯ ที่ปกป้องการนำเข้าสินค้าเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบของไทย ขณะที่แรงกดดันด้าน ESG ต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งกฎระเบียบและเงื่อนไขทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ความต้องการที่เปลี่ยนไป
ทั้งนี้ SCB EIC มองว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ ดังนี้ 1.กระจายความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบและย้ายฐานการผลิต ผู้ประกอบการมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดหาชิ้นส่วนจากประเทศอื่นมากขึ้น รวมถึงมีการวางแผนสต็อกชิ้นส่วนในการผลิตและการจัดทำแผนความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต, 2.พัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของแรงงาน การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของแรงงาน ทั้งในส่วนการปรับทักษะ (Reskill) หรือเพิ่มทักษะ (Upskill) รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อยกระดับทักษะด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น และ 3.การตั้งเป้าหมายและปฏิบัติตามหลัก ESG โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร การวางนโยบายร่วมกับซัพพลายเออร์ของบริษัท และการร่วมมือทางธุรกิจกับ "Eco Partners" ที่ได้รับการรับรองมากขึ้น
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน