Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
LH Bank ตอกย้ำความสำเร็จแคมเปญ “LH Bank แบงก์ที่ใช่กับคนที่ชอบ”
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
KBank Private Banking คาดศก.โลกมีแนวโน้มเติบโตดีในระยะยาว
2023-06-22 18:40:37
230
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier จัดงานสัมมนาในหัวข้อ ‘Beyond the Numbers: Decoding the Economic Outlook’ ประเมินเศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับความท้าทายระยะสั้น แต่จะเติบโตได้ดีในระยะยาว แนะกลยุทธ์ปรับพอร์ตรับมือความท้าทาย ชูกองทุนผสมแบบ Risk-Based และสินทรัพย์ทางเลือก
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ปี 2566 เป็นอีกปีที่แวดวงการลงทุนต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั่วโลก ภาวะเงินเฟ้อที่แม้จะอยู่ในขาลง แต่ก็ยังไปไม่ถึงเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป รวมไปถึงเรื่องดอกเบี้ยนโยบายที่ยังไม่แน่นอนว่าผ่านจุดสูงสุดไปหรือยัง ความท้าทายเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อสถานการณ์ของตลาดการลงทุนในปัจจุบันให้มีความผันผวนสูง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นอย่างหนัก
นอกจากนี้ ผลการประชุมของธนาคารกลางประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั่วโลก อย่าง ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.0 – 5.25% ตามตลาดคาด แต่คาดว่าอาจมีโอกาสปรับขึ้นอีก 1-2 ครั้งภายในปีนี้ แสดงให้เห็นว่า “หยุดชั่วคราว” แต่ยัง “ไม่สิ้นสุด” ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็นการปรับขึ้นติดต่อกันครั้งที่ 8 ในขณะที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย เหนือความคาดหมายของตลาด เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินที่แตกต่างมีผลต่อความเคลื่อนไหวตลาดที่ทำให้นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับหลากหลายความท้าทายในปีนี้และรอคว้าโอกาสในการลงทุนที่กำลังจะมาถึง KBank Private Banking ในฐานะที่ปรึกษาด้านการลงทุนแนะนำ 3 กลยุทธ์การลงทุนสำคัญ สำหรับนักลงทุนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการลงทุนได้จริง ได้แก่ 1.Stay Invested แนะนำให้นักลงทุนลงทุนตลอดเวลา การทำเช่นนี้จะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าการซื้อๆ ขายๆ หรือการทำ Market Timing, 2.ยึดหลักการกระจายการลงทุน โดยใช้ความเสี่ยงของสินทรัพย์ หรือ Risk-based Allocation และ 3.Alternative Investments อย่างการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด ที่แม้ตลาดทุนจะผันผวนอย่างไร ราคาสินทรัพย์นอกตลาดจะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากราคาของสินทรัพย์นอกตลาดจะขึ้นกับผลการดำเนินที่แท้จริง
ด้านดร.เชาว์ เก่งชน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับประเด็นเชิงโครงสร้าง หรือโจทย์ในระยะกลางถึงยาว เช่น ในอีก 8 ปีข้างหน้า ประชากรไทยจำนวนกว่าร้อยละ 20 จะมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปี ซึ่งการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบทั้งต่อตลาดแรงงาน การบริโภคของครัวเรือน และฐานะการคลังของรัฐบาล นอกจากนี้ ความคืบหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ของไทยก็ล่าช้ากว่าที่ได้สัญญาไว้ ในขณะที่ประเทศไทยเองก็ถูกประเมินว่าเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่จะได้กระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกมากที่สุด โดยในกรณีดีสุดหากอุณภูมิโลกเพิ่มต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ผลกระทบสะสมต่อ GDP ไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 4.9% ภายในปี 2591
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศ อาจส่งผลให้รัฐบาลต้องให้น้ำหนักไปที่โจทย์เฉพาะหน้า เช่น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การปรับลดค่าไฟฟ้า การอัดฉีดเงินโดยตรงแก่ประชาชน การแก้ไขหนี้ครัวเรือน การให้ความช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี มากกว่าการแก้ไขประเด็นเชิงโครงสร้างต่าง ๆ เช่น การปรับขึ้นภาษี การต่อต้านการผูกขาด นอกจากนี้ การขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อยอดหนี้สาธารณะของรัฐบาล รวมไปถึงการจัดทำงบประมาณในอนาคตข้างหน้า ในขณะที่การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยวางไว้ คงจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ในที่สุดแล้ว การแก้ปัญหาคงจะหนีไม่พ้นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2566 อยู่ที่ 3.7%
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังของปี 2566 Lombard Odier ได้ให้มุมมองว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในระยะสั้นจากการเติบโตของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลง และมีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ดีในระยะยาว ดังนี้ 1.การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกและอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงในปี 2566 และ 2567 โดยแรงขับเคลื่อนส่วนหนึ่งมาจากมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปี 2566 และ 2567 เนื่องจากการกู้ยืมทำได้ยากขึ้น
2.อัตราดอกเบี้ยกำลังถึงจุดสูงสุด ในสหรัฐฯ และยูโรโซน โดยคาดว่ามีโอกาสน้อยที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นต่ออย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าธนาคารกลางต่างๆ จะคงดอกเบี้ยไว้ระยะหนึ่งในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากตลาดแรงงานยังอยู่ในเกณฑ์แข็งแกร่งเกินกว่าที่ธนาคารกลางจะผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ แม้ว่าล่าสุดจะส่งสัญญาณอ่อนตัวลงมาบ้าง และ 3.การบริโภคภายในประเทศของจีนฟื้นตัวได้ดี ในขณะที่ภาคการลงทุนและยอดการปล่อยสินเชื่อชะลอตัวลง ทาง Lombard Odier มองว่าทางการจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ธนาคารกลาง (PBoC) ปรับลดดอกเบี้ยลง เช่น การผ่อนปรนกฎระเบียบในการกำกับดูแลภาคธุรกิจ ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ Lombard Odier ได้แนะนำ 5 กลยุทธ์การลงทุนในครึ่งหลังของปี 2566 ดังนี้ 1.รักษาสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่โหมดชะลอตัว ทำให้คาดการณ์ว่าบอนด์ยีลด์กำลังผ่านจุดสูงสุดแล้ว, 2.เน้นลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง หรือ Investment Grade ที่ความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น
3.มุ่งเน้นลงทุนในหุ้นประเทศพัฒนาแล้วนอกเหนือจากตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากมูลค่า (Valuation) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ในเกณฑ์แพง และคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการที่เฟดหยุดขึ้นดอกเบี้ย, 4.กระจายลงทุนในหุ้นหลายประเทศทั่วโลก ลดการกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง และ 5.กระจายลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น โดยเฉพาะสินทรัพย์นอกตลาด (Private Assets) ซึ่งรวมถึงหุ้นนอกตลาด ตราสารหนี้นอกตลาด และอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด โดยในช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจเช่นนี้ถือเป็นโอกาสที่จะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ในราคาที่น่าดึงดูด
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech