Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
ตลท. จัดงานสัมมนา "Legacy & Future: 50 Years of Thai Capital Market"
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
KBANK ชี้ปัจจัยเสี่ยงครึ่งปีหลัง แนะรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาหนี้ข้าราชการ
2023-07-11 18:39:42
366
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - KBANK ประเมินเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังขยายตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรก รับแรงหนุนจากการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว โดยประเมินตัวเลขจีดีพีของไทยในปี 66 ขยายตัว 3.7% แนะรัฐบาลใหม่หาแนวทางแก้ปัญหาหนี้ข้าราชการ
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในระดับที่ดีกว่าช่วงครึ่งปีแรก โดยได้รับแรงหนุนจากฤดูกาลท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเห็นตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 2566 ที่ประมาณ 28.5 ล้านคน และทำให้คาดว่าตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี ในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวประมาณ 4.3% จากช่วงครึ่งปีแรกที่ขยายตัวราว 3%
อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญหลายโจทย์สำคัญที่ท้าทายการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง โดยโจทย์แรก คือ การจัดตั้งรัฐบาล และการรับมือกับทิศทางเศรษฐกิจจีนที่เริ่มเห็นสัญญาณอ่อนแรง ซึ่งเป็นประเด็นความเสี่ยงให้กับเศรษฐกิจอาเซียน และไทยที่พึ่งพาเศรษฐกิจจีนค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการจีดีพีของไทยในปี 2566 ที่ 3.7% และยังคงคาดการณ์ตัวเลขการส่งออกไว้ที่ ติดลบ 1.2% แต่ปรับลดการบริโภคภาครัฐบาล และการลงทุน เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่รอการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่มีความซับซ้อนซึ่งเป็นโจทย์ที่รอการแก้ไข
นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ประเด็นเรื่องภัยแล้งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรที่อาจคิดเป็นมูลค่าราว 4.8 หมื่นล้านบาทในปีนี้ ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญในรอบนี้อาจกดดันภาคการผลิต และบริการที่ใช้น้ำในสัดส่วนสูง ได้แก่ อโลหะ อาหาร สิ่งทอ ท่องเที่ยว โรงพยาบาล โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคกลาง ซึ่งมีโอกาสประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือ น้อยจนเข้าขั้นวิกฤต
นอกจากนี้ การขาดแคลนน้ำ อาจทำให้ธุรกิจต้องลดกำลังการผลิตหรือจำกัดการให้บริการ ส่งผลตามมาให้มีการสูญเสียรายได้ และสำหรับบางอุตสาหกรรมอย่างเช่นอาหาร ยังมีต้นทุนวัตถุดิบเกษตรที่จะสูงขึ้นด้วย ขณะที่ประเด็นข้อกังวลเพิ่มเติม คือ ภัยแล้งข้างต้น อาจลากยาวไปถึงปี 2567 ด้วยโอกาสของความรุนแรงที่อาจมากกว่าในปี 2566
ด้านนางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า โจทย์สำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้คือสัดส่วนหนี้ครัวเรือน ซึ่งคาดจะอยู่ในกรอบประมาณ 88.5-91.0% ในช่วงปลายปีนี้ จากระดับ 90.6% ณ สิ้นไตรมาส 1/2566 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้ดังกล่าวจะยังไม่ลดลงแตะ 80% ซึ่งเป็นระดับที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) มองว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อได้โดยไม่สะดุดภายในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ขณะที่มาตรการจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะทำให้หนี้ใหม่โตช้าลง และหนี้เก่าลดลงเร็วขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้จัดทำผลสำรวจภาวะหนี้สินครัวเรือนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 400 ตัวอย่าง ซึ่งย้ำภาพความน่ากังวลของปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะในกลุ่มรายได้น้อย ขณะที่ลูกหนี้ที่ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักปัจจัยด้านรายได้ในการปิดหนี้อย่างยั่งยืน ส่วนมาตรการแก้หนี้ของ ธปท. ที่จะเริ่มจากการแก้ไขหนี้เรื้อรัง (Persistent Debts) สำหรับลูกหนี้บุคคลที่มีลักษณะวงเงินหมุนเวียน (Revolving Personal Loans) ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้ลูกหนี้ผ่อนให้จบภายในเวลาราว 4 ปีนั้น คงมีผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ในวงจำกัด ในเบื้องต้นคาดว่าจะไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย และกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ย 4,300-4,700 ล้านบาท และ กระทบประมาณ 0.02-0.03% ต่อ NIM
อย่างไรก็ตาม ต้องการเห็นรัฐบาลใหม่เข้ามาดูแลหนี้ก้อนใหญ่ ที่แก้ยากอย่างจริงจัง คือ เกษตร ครู และข้าราชการ ซึ่งเฉพาะหนี้ครู และข้าราชการตำรวจมีสัดส่วนประมาณ 10.5% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด รวมถึงหนี้ที่ย้ายออกจากระบบไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) อีกหลักแสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการที่เคยออกมาแล้วอย่างเต็มที่ อีกทั้ง ยังประกอบด้วยหนี้บุคคล และหนี้ธุรกิจรายย่อย โดยจะมีผลต่อความสามารถในการดำรงชีพของครัวเรือนและ ธุรกิจฐานรากของไทยในระยะข้างหน้า
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยไทยทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการเพิ่มเป็น 2.25% ในสิ้นปี 2566 จากเดิมคาดอยู่ที่ 2% โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจะลดลงมาที่ 1.8% จากเดิม 2.8% ส่วนค่าเงินบาทในปีนี้ยังคงประมาณการไว้ที่ 33.50-34 บาทต่อดอลลาร์
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech