Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
LH Bank ตอกย้ำความสำเร็จแคมเปญ “LH Bank แบงก์ที่ใช่กับคนที่ชอบ”
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
เงินเฟ้อ ม.ค.67 ติดลบ 1.11% ยัน! ไม่ใช่สัญญาณเงินฝืด
2024-02-06 09:01:28
187
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - พาณิชย์เผย เงินเฟ้อ ม.ค. 67 ติดลบ 1.11% ลดลงต่อเนื่อง 4 เดือนติด และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน เหตุมาตรการรัฐลดน้ำมัน ค่าไฟ สินค้าอาหารสดลดต่อเนื่อง ย้ำไม่มีสัญญาณเงินฝืด คาดเงินเฟ้อปี 67 ติดลบ 0.3% ถึงเพิ่ม 1.7% โดยมีค่ากลางที่ 0.7%
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ม.ค. 2567 เท่ากับ 106.98 เทียบกับ ธ.ค. 2566 เพิ่มขึ้น 0.02% เทียบกับเดือน ม.ค. 2566 ลดลง 1.11% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน นับจาก ก.พ. 2564 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะผักสดและเนื้อสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งฐานราคาเดือน ม.ค. 2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ขณะที่สินค้าและบริการอื่นๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
“เรื่องเงินฝืด มีคำถามมา 2-3 เดือนแล้ว อย่างที่บอก มันเป็นตัวชี้วัดหนึ่ง ที่บอกว่าลบติดต่อกัน 3 เดือน เป็นเงินฝืด แต่ก็ต้องไปดูว่าสินค้าส่วนใหญ่ลดลงหรือเปล่า ก็มีสูงขึ้น ลดลง คงที่ และยังต้องไปดูที่เงินเฟ้อ มันเฟ้อโดยตัวของมันเอง หรือมีกลไกแทรกแซง ซึ่งมีการแทรกแซง โดยเฉพาะนโยบายลดค่าครองชีพ ทั้งน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ที่เป็นตัวหลัก สรุป คือ ยังไม่ฝืด ยังไม่น่าเป็นห่วง” นายพูนพงษ์กล่าว
เงินเฟ้อเดือน ม.ค. 2567 ที่ลดลง 1.11% มาจากสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 1.13% ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 E20 E85 และค่ากระแสไฟฟ้า เสื้อผ้าบุรุษและสตรี สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน) ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องตามการจัดโปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่าย ส่วนสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง 1.06% ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำ (เนื้อสุกร ไก่สด ปลาทู กุ้งขาว ปลากะพง) ผักสด (มะเขือ มะนาว แตงกวา) และผลไม้ (ส้มเขียวหวาน ลองกอง มะม่วง) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก
ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ม.ค. 2567 เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เพิ่มขึ้น 0.02% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 2566 และเพิ่มขึ้น 0.52% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2566
นายพูนพงษ์กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 2567 และเดือน มี.ค. 2567 คาดว่าจะลดลงต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน ได้แก่ การตรึงราคาค่ากระแสไฟฟ้าในอัตราไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ซึ่งมีประชาชนได้รับประโยชน์ 17.77 ล้านราย และมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 19 เม.ย.2567 และผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญลดลง และบางพื้นที่มีอุณหภูมิลดลง ทำให้ปริมาณผักสดเข้าสู่ตลาดมากกว่าปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยไตรมาส 1 ปี 2567 เงินเฟ้อน่าจะติดลบประมาณ 0.7% ส่วนเงินเฟ้อเดือนต่อ ๆ ไป อาจเห็นบวกบ้าง ลบบ้าง โดยกระทรวงพาณิชย์ ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่าง ลบ 0.3% ถึงเพิ่มขึ้น 1.7% ค่ากลาง 0.7%
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech