Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
InnovestX คงเป้า SET ที่ระดับ 1,250 จุด - PTG หุ้นดี ครบเครื่อง! ชู Non-Oil เรือธง
MAI
MPJ รุกเปิดพื้นที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ 'ลาดกระบัง-แหลมฉบัง'
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
InnovestX คงเป้า SET ที่ 1,250 จุด ชี้ตลาดหุ้น Q3 ผันผวนสูง
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
KTB ปลื้ม ‘KTWC-INCOME-A’ ยอดจองทะลุ 1.3 พันล.
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SA เตรียมขายหุ้นกู้ 2 ชุดใหม่ ดอกเบี้ยสูงสุด 7.25% ต่อปี
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
ตลท.จัดแคมเปญ “รวมพลังอุดหนุนผลไม้ไทยยกกำลัง 2”
Gossip
SVT ผุดแคมเปญใหญ่!
Entertainment
เมืองไทย Smile Trip : เที่ยว กิน ฟิน มู @นครศรีธรรมราช
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
SCB EIC ประเมินส่งออกไทยฟื้นตัว รับแรงหนุนการค้าโลก
2024-03-27 19:48:03
211
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB EIC ระบุว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือน ก.พ. 2567 อยู่ที่ 23,384.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้เพียง 3.6% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวในเดือนก่อนที่ 10% อยู่มาก อีกทั้ง ยังหดตัว 2% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ การขยายตัวของการส่งออกในเดือน ก.พ. ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวมากถึง 309.5% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งไม่ได้สะท้อนสภาวะการส่งออกสินค้าที่แท้จริง โดยการส่งออกไทยไม่รวมทองคำขยายตัวเพียง 1.2% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และหดตัว 2.1% จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกไทยในระยะสั้นแผ่วลง
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการส่งออกรายสินค้าดีขึ้นในบางกลุ่ม นำโดย 1.สินค้าเกษตรขยายตัว 7.5% ต่อเนื่องจาก 14% ในเดือนก่อน โดยเฉพาะข้าว ยางพารา ขณะที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว, 2.สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 5.2% ต่อเนื่องจาก 10.3% ในเดือนก่อน โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขณะที่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว, 3.สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาหดตัว -9.1% เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เทียบกับที่ขยายตัว 3.8% ในเดือนก่อน โดยผลไม้กระป๋องและแปรรูปและเครื่องดื่มเป็นสินค้าหลักที่ขยายตัวดี ขณะที่น้ำตาลทรายเป็นสินค้าสำคัญที่หดตัว และ 4. สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัว -8.5% เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนจากที่ขยายตัว 7.1% ในเดือนก่อน
ขณะที่ภาพรวมการส่งออกขยายตัวในเกือบทุกตลาดสำคัญ โดย 1.ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัว 15.5% ต่อเนื่องจาก 13.7% ในเดือนก่อน และเป็นการขยายตัวเกือบทุกกลุ่มสินค้า การส่งออกสินค้าสำคัญ 15 ลำดับแรกของตลาดนี้ขยายตัวถึง 12 รายการ โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (78.5%) และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด (63.8%), 2. ตลาดสวิสเซอร์แลนด์ ขยายตัว 198.2% เร่งขึ้นจาก 5.1% ในเดือนก่อน จากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่ขยายตัวถึง 688.1% ซึ่งคาดว่าเป็นทองคำ, 3.ตลาดยุโรป ขยายตัว 1.7% ต่อเนื่องจาก 3.6% ในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี 4.ตลาดจีน ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง เป็นตลาดสำคัญที่หดตัวที่ -5.7% -5.8% และ -9.8% ตามลำดับ
ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือน ก.พ. 2024 อยู่ที่ 23,938.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่อง 3.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และ 2.6% จากเดือนก่อนหน้า ในภาพรวมการนำเข้าขยายตัวทุกกลุ่มสินค้า ได้แก่ สินค้าทุนขยายตัวเร่งขึ้น 25.6% สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวแข็งแกร่ง 12% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัว 6.5% ขณะที่กลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งหดตัว -17.1% และสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวแรง -22.9% สำหรับภาพรวมการนำเข้ารายประเทศขยายตัวจาก 2 ตลาดหลัก คือ 1.ตลาดยุโรปกลับมาขยายตัว 39.8% จากการนำเข้าเครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบที่ขยายตัว 2,793.7% เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำที่ขยายตัว 1179.1% และ 2.ตลาดจีนขยายตัวเร่งขึ้น 14% โดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านที่ขยายตัว 56.6% และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่ขยายตัว 92%
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกสินค้าเดือน มี.ค. 2567 มีแนวโน้มหดตัวแรงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากปัจจัยฐานสูง แม้ภาคการผลิตและการค้าโลกจะอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว เนื่องจากมีการส่งออกทองคำในเดือน มี.ค. 2023 มากถึง 1,568.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าปกติมาก ข้อมูลจากการแถลงข่าวของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 2567 จะอยู่ที่ราว 25,500 – 26,500 หดตัวประมาณ -5.4% ถึง -8.9% อย่างไรก็ดี ยังมีความไม่แน่นอนจากการฝึกซ้อมรบ Cobra Gold ซึ่งอาจเห็นการเคลื่อนย้ายอาวุธหรืออุปกรณ์ซ้อมรบออกนอกประเทศในเดือนหน้าผ่านระบบศุลกากร อาจเป็นปัจจัยช่วยให้ตัวเลขส่งออกเดือน มี.ค. ไม่ติดลบรุนแรงนัก อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเด็นไม่ได้สะท้อนสภาวะการส่งออกสินค้าของไทยได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ การเคลื่อนย้ายอาวุธที่เกี่ยวกับการฝึกซ้อมรบ Cobra Gold จะไม่ถูกนับรวมในมูลค่าการส่งออกสินค้าตามระบบดุลการชำระเงิน
ขณะที่มูลค่าการส่งออกไทยจะพลิกกลับมาขยายตัวได้ในปี 2567 จากแรงสนับสนุนหลายด้าน ได้แก่ 1.ปริมาณการค้าโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวใกล้เคียงปีที่แล้ว, 2. ภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าระหว่างประเทศจะกลับมามีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกมากขึ้นในปีนี้ เห็นจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตโลกในเดือน ก.พ. ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50.3 ซึ่งเกินระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน นอกจากนี้ ดัชนี PMI ยอดคำสั่งซื้อใหม่ (Export order) และดัชนี PMI ปริมาณผลผลิตในอนาคต (Future output) เริ่มขยายตัวตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของภาคการผลิตในระยะข้างหน้า และ 3.ราคาสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มสูง เช่น ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตในตลาดโลกที่ลดลงจากภัยแล้งและนโยบายควบคุมการส่งออกสินค้าในบางประเทศ
อย่างไรก็ตาม SCB EIC ปรับลดประมาณการการส่งออกไทยในปี 2567 อยู่ที่ 3.1% จากเดิม 3.7% ตามการขยายตัวของปริมาณการค้าโลกในปีนี้ที่ยังมีแนวโน้มดี แต่ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จากปัญหาการโจมตีของกบฏฮูตีและความแห้งแล้งของคลองปานามา ปัญหาการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ และมาตรการกีดกันทางการค้าที่ถูกนำมาใช้เพิ่มเติม นอกจากนี้ สาเหตุที่การส่งออกไทยในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวได้ดี ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยพิเศษ เช่น ทองคำ จึงอาจไม่สะท้อนภาพการฟื้นตัวของการส่งออกไทยได้ดีนัก
ทั้งนี้ แม้ภาคการผลิตโลกจะฟื้นตัวจากช่วงโควิดแล้ว แต่ภาคการผลิตไทยที่เน้นผลิตเพื่อส่งออกยังไม่ฟื้นกลับไปเท่าระดับก่อนโควิด สะท้อนจาก 1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตในปี 2566 ที่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2560-2562, 2.การผลิตเกือบทุกอุตสาหกรรม ยกเว้นอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และอิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ฟื้นตัว และ 3.ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตไทยมีแนวโน้มปรับแย่ลง ต่างจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลกที่ปรับดีขึ้น
สาเหตุหลักเพราะการส่งออกสินค้าของไทยยังไม่สามารถปรับตัวตอบสนองรูปแบบความต้องการสินค้าในโลกและห่วงโซ่อุปทานโลกที่เปลี่ยนไปได้ดีนัก สะท้อนจากดัชนีความสามารถในการปรับตัวต่ออุปสงค์โลก (Adaptation effect index) ต่อการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนการครองตลาดโลก (Relative change of world market share) ที่จัดทำโดย International Trade Centre พบว่าดัชนีของไทยยังติดลบในหลายอุตสาหกรรมสำคัญ โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ซึ่งรูปแบบความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศักยภาพการส่งออกไทยอยู่ในระดับต่ำเทียบกับศักยภาพของประเทศในภูมิภาค สะท้อนจากข้อมูล Export potential หรือมูลค่าศักยภาพการส่งออกของไทยใน 5 ปีข้างหน้า จัดทำโดย International Trade Centre ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์
นอกจากนั้น หากพิจารณารายอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมไทยที่ส่งออกได้ต่ำกว่าศักยภาพมากที่สุด ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า สินค้ายานยนต์ และผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง ดังนั้น ภาคการผลิตไทยจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับรูปแบบความต้องการที่เปลี่ยนไป เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก
InnovestX คงเป้า SET ที่ระดับ 1,250 จุด - PTG หุ้นดี ครบเครื่อง! ชู Non-Oil เรือธง
A5 ประกาศ Sold Out ‘แซงค์ รอยัล กรุงเทพกรีฑา’ มูลค่ากว่า 3.5 พันล.
BJC ปลื้ม! ยอดจองหุ้นกู้เกินเป้ากว่า 5.5 เท่า
PLUS มั่นใจภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ไม่กระทบออเดอร์
GBS ชี้เป้าหุ้นหลบภัย 'ทรัมป์' TISCO - BGRIM เด่น - CH ธุรกิจครึ่งปีหลังยังดี ลุย EXPO - เพิ่มฐานลูกค้า
KBANK เปิดบริการสแกนจ่าย QR ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน - ADVANC โบรกฯ เคาะเป้า 315 บ.