Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
ตลท. จัดงานสัมมนา "Legacy & Future: 50 Years of Thai Capital Market"
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
ttb analytics ชี้มาตรการภาษีสหรัฐฯ ส่งผลไทยขาดดุลการค้าจีนรุนแรง
2024-05-23 16:41:16
265
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์- ttb analytics มองการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ระลอกใหม่ยังไม่กระทบการค้าจีนอย่างมีนัย ชี้จีนใช้ยุทธศาสตร์สร้างความได้เปรียบทางการค้า หวั่นไทยขาดดุลการค้ากับจีนรุนแรงขึ้นในระยะยาว
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ ttb analytics ระบุว่า จากกรณีที่ทำเนียบขาวสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ปรับขึ้นการจัดเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มเติมภายใต้มาตรา 301 ซึ่งจะมีผลต่อสินค้านำเข้าจากจีนในหลายกลุ่มเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จาก 25% เป็น 100% รวมถึงแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจาก 7.5% เป็น 25% เซมิคอนดักเตอร์และแผงโซลาร์เซลล์จาก 25% เป็น 50% ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จาก 0-7.5% เป็น 25-50% ซึ่งครอบคลุมมูลค่าการนำเข้าราว 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะทยอยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2567 นี้ไปจนถึงปี 2569
โดย ttb analytics มองว่ามาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อหวังผลประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากการขึ้นภาษีนำเข้าระลอกนี้คิดเป็น 4% ของมูลค่านำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ เทียบกับมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ช่วงสงครามการค้าปี 2561 ซึ่งกระทบสินค้านำเข้าจากจีนถึง 66.4% หรือกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การประกาศยกระดับมาตรการกีดกันทางการค้าในช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยเฉพาะการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ EV นอกจากจะเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศซึ่งมีมูลค่าถึง 3% ของจีดีพีสหรัฐฯ แล้ว ยังเป็นการแสดงออกเพื่อหวังช่วงชิงคะแนนเสียงให้แก่ประธานาธิบดีไบเดนในรัฐสำคัญที่เป็นแหล่งที่ตั้งหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีโอกาสพลิกผลการเลือกตั้งได้เสมอ (Swing State) เช่น รัฐมิชิแกน และรัฐโอไฮโอ
อีกมุมหนึ่ง สหรัฐฯ ต้องการลดอำนาจการครอบงำตลาดของจีน โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบในรอบนี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด (Green Energy) ซึ่งจีนเป็นผู้นำตลาดโลกในหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น ห่วงโซ่การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ของจีนคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกสูงถึง 80% เมื่อเทียบกับส่วนแบ่งตลาดของสหรัฐฯ ที่ 5% เช่นเดียวกับส่วนแบ่งยอดขายรถยนต์ EV ทั้งโลกในปี 2566 กว่า 29.5% มาจากแบรนด์จีนทั้งสิ้น ส่วนสหรัฐฯ อยู่ที่ 20% ยิ่งกว่านั้น หากสินค้าหมวด Green Energy จากจีนทะลักเข้าสหรัฐฯ มากขึ้น อาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ มีทัศนคติต่อสินค้าจีนดีขึ้น และเปิดทางให้ผู้บริโภคยอมรับสินค้าอื่น ๆ ที่มาจากจีนเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย
นอกจากนี้ ท่าทีดังกล่าวยังเป็นการสร้างความกดดันยุโรปซึ่งเป็นชาติพันธมิตร ซึ่งจีนพึ่งพาตลาดยุโรปสูงถึง 14.6% ของมูลค่าส่งออกของจีนทั้งหมด โดยมองว่าสหรัฐฯ มีความพยายามกดดันยุโรปและชาติพันธมิตรอื่น ๆ ให้พิจารณาขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีนด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้ส่งออกจีนพยายามเปลี่ยนเส้นทางการค้า (Trade Diversion) กระจายไปยังประเทศอื่นมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดสหรัฐฯ รวมถึงส่งผ่านไปยังประเทศที่สามเพื่อเป็นช่องทางส่งต่อไปยังสหรัฐฯ อีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกยุโรปบางส่วนกลับไม่เห็นด้วยต่อการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน เนื่องจากยุโรปเองมีฐานการผลิตสินค้าสำคัญในประเทศจีนเช่นกัน
ทั้งนี้ ttb analytics มองว่า บรรยากาศการค้าทั่วโลกจะมีแนวโน้มตึงเครียดขึ้นในระยะต่อไปจากการเพิ่มระดับการกีดกันทางการค้า ตลอดจนประเด็นความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงครุกรุ่นในหลายภูมิภาค โดยมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะเป็นการเร่งให้ผู้ผลิตจีนกระจายการผลิตและหันไปลงทุนในเม็กซิโกมากขึ้นภายใต้ข้อตกลงสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา (USMCA) โดยเฉพาะการกระจายฐานการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ EV ไปสหรัฐฯ เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากท่าทีการตอบโต้ทางการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลักช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นการตอกย้ำถึงรูปแบบการค้าโลกที่เปลี่ยนเป็น “การทวนกระแสโลกาภิวัฒน์” (Deglobalization) ชัดเจนขึ้น ซึ่งสวนทางกับบทบาทการค้าของจีนในตลาดโลกที่ทรงอิทธิพลขึ้นทุกขณะ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมภาคการผลิตของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังปลดล็อกกฎหมายที่เอื้อสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนจากต่างชาติในปี 2561 ทำให้สินค้าที่ผลิตและส่งออกจากจีนตอบโจทย์ตลาดโลกมากขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนมูลค่าการส่งออกจีนในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 12.6% ของมูลค่าส่งออกทั้งโลกในช่วงปี 2555-2560 เป็น 22.3% ในระหว่างปี 2564-2566
นอกจากนี้ ttb analytics ยังมองว่า ผู้ผลิตจีนใช้ประโยชน์จากความใกล้ชิดเชิงการเมือง (Political Closeness) ในการสร้างความได้เปรียบทางการค้า จนทำให้จีนสามารถเกินดุลการค้ากับคู่ค้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแบ่งยุทธศาสตร์การค้าออกเป็น 3 ขั้วหลัก ได้แก่ ขั้วแรก: จีนเพิ่มการส่งออกและนำเข้าสินค้ากับประเทศคู่ค้าเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partners) เช่น รัสเซียและกลุ่มประเทศ BRICS เวียดนาม และเม็กซิโก ภายหลังจากที่รัสเซียถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตร ทำให้รัสเซียหันมาทำการค้ากับจีนมากขึ้น และบรรลุข้อตกลงทวิภาคีทางเศรษฐกิจและธุรกิจหลายข้อ ส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นถึง 78.7% เมื่อเทียบกับปี 2565 นอกจากนี้ จีนอาจมองเวียดนามและเม็กซิโกเป็นเหมือนช่องทางการค้าเชิงยุทธศาสตร์ที่จะเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ เพื่อแสวงข้อได้เปรียบด้านสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากการเป็นสมาชิกข้อตกลงเขตการค้าเสรีหลายฉบับกับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ สะท้อนจากผู้ผลิตในจีนย้ายฐานผลิตไปยังเวียดนามและเม็กซิโกเพิ่มขึ้นในระยะหลัง
ขั้วที่สอง: จีนเพิ่มการส่งออก แต่ลดการนำเข้ากับประเทศที่มีความเป็นกลาง (Neutral Partners) เช่น ยุโรป อาเซียน และไทย โดยจีนส่งออกไปยุโรปเพิ่มขึ้นเพื่อเข้ามาทดแทนตลาดสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งจากระดับรายได้ต่อหัวและการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานที่มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับตลาดสหรัฐฯ กอปรกับผู้ผลิตบางส่วนหันไปตั้งโรงงานผลิตในจีนมากขึ้น โดยสินค้าส่งออกจีนที่เติบโตได้ดี เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร อีกทั้งจีนยังส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในแถบอาเซียนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด โดยสัดส่วนการส่งออกจีนไปตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นจาก 12.9% ในปี 2561 เป็น 15.7% ของมูลค่าการส่งออกจีนทั้งหมดในปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 12.2% อย่างไรก็ดี จีนกลับมีแนวโน้มลดการนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าวในหลายประเภทสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่สามารถทดแทนได้ง่ายและบางส่วนสามารถนำเข้าจากประเทศคู่ค้าเชิงยุทธศาสตร์แทนได้ อาทิ สินค้าเกษตร แร่และเชื้อเพลิง เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่งผลให้จีนมีแนวโน้มเกินดุลการค้ากับประเทศกลุ่มนี้มากขึ้นในระยะหลัง
ขั้วที่สาม: จีนลดทั้งการส่งออกและการนำเข้ากับประเทศคู่ขัดแย้งชัดเจน (Conflict Partners) เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยจีนพยายามลดบทบาทการค้ากับสหรัฐฯ อย่างเห็นได้ชัดหลังการตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันอย่างไม่รู้จบ นับตั้งแต่ปี 2561 สหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีน จากเดิมเฉลี่ย 3.1% ปรับขึ้นเป็น 15-25% จนในปี 2565 เช่นเดียวกับจีนที่ตอบโต้ด้วยการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ จากเดิม 8% เป็น 21.1% ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศลดลงเฉลี่ยปีละ 2.7% แต่กระนั้น จีนยังคงเกินดุลการค้าจากการลดบทบาททางการค้าทั้งด้านการส่งออกและนำเข้ากับประเทศดังกล่าว
กล่าวโดยสรุป จีนพยายามลดการขาดดุลการค้าผ่านการเพิ่มปริมาณการค้ากับประเทศคู่ค้าเชิงยุทธศาสตร์และสร้างสมดุลการค้ากับประเทศที่มีความเป็นกลาง รวมถึงพยายามลดบทบาทคู่ค้าที่มีความขัดแย้งชัดเจน ฉะนั้นแล้ว ไทยซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีความ “เป็นกลาง” อาจต้องเผชิญกับการขาดดุลการค้ากับจีนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะยาว หากไทยไม่เร่งแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างภาคการผลิต ด้วยการสนับสนุนอุตสาหกรรมโลกใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนและเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกในระยะข้างหน้า
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech