Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
กลุ่ม SCBX เปิดรับสมัครโครงการ “กล้าใหม่...ใฝ่รู้” ปีที่ 20
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
EXIM BANK ร่วมยินดีโรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต ครบรอบ 86 ปี
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
CIMBT จับสัญญาณศก.ครึ่งหลังฟื้นตัว หวั่นการเมืองฉุดเชื่อมั่น
2024-07-09 20:07:23
312
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - CIMBT คาดจีดีพีของไทยในปี 67 เติบโต 2.3% และในปี 68 เติบโต 3.2% มองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะขยายตัวชัดเจนขึ้น รับแรงหนุนจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และการส่งออก ขณะที่อุปสงค์ภายในจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เศรษฐกิจอาจเผชิญความเสี่ยงด้านลบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีความผันผวน โดยมีผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายในประเทศและปัจจัยทั่วโลก โดย CIMBT คาดว่าเศรษฐกิจไตรมาส 2/2567 จะขยายตัว 1.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัว 0.6% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่ง CIMBT คงคาดการณ์การขยายตัวของ GDP สำหรับปี 2567 ไว้ที่ 2.3% และให้แนวโน้มสำหรับปี 2568 ที่ดูมีความหวังมากขึ้นไว้ที่ 3.2%
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งหลังของปี 2567 คาดว่าจะเห็นการขยายตัวชัดเจนขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และการส่งออก ขณะที่อุปสงค์ภายในจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เศรษฐกิจอาจเผชิญกับความเสี่ยงด้านลบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภค แต่เป็นปัจจัยชั่วคราว ขณะที่ความเสี่ยงหลักจะมาจาก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเลือกตั้งในหลายประเทศที่อาจเปลี่ยนขั้วการเมือง อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูงลากยาว และภาคการผลิตที่อาจหดตัวต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ แต่รัฐบาลไทยมีงบประมาณ และดำเนินมาตรการการคลังที่มุ่งเป้าเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มการบริโภคภายในประเทศโดยไม่เพิ่มภาระหนี้ของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ โครงการโครงสร้างพื้นฐานกำลังเร่งตัวขึ้น ทำให้การเชื่อมต่อดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสในการจ้างงาน
ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ในการประชุมวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อรักษาระดับการกู้ยืมของครัวเรือนเนื่องจากกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาวจากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ธปท. ส่งเสริมให้ครัวเรือนจัดการหนี้อย่างรับผิดชอบและพิจารณาโครงการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางการเงิน ส่วนเงินเฟ้อยังอยู่ภายใต้กรอบที่ธปท.สามารถควบคุมได้ ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามคาดการณ์ของธปท. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการลดดอกเบี้ยเพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม คาดว่าการประชุมเดือนธ.ค. จะมีการลดดอกเบี้ยลง 0.25% ไปสู่ระดับที่ 2.25% เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2568 และให้สอดคล้องกับระดับศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 3/2567 มี 4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก เรียกย่อๆว่า GERM โดย G – Geo-politics – ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังป่วนโลก กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน ต้นทุนขนส่งสินค้าทางเรือจะสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่เป็นต้นทุนสำคัญในภาคการผลิตและขนส่ง ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่เคยคาดการณ์ 82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอาจปรับขึ้นไปทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้หากสถานการณ์เลวร้ายและกระทบผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่าน รวมทั้งความขัดแย้งในยูเครนที่อาจยืดเยื้อและรุนแรงจนกระทบอุปทานน้ำมันของรัสเซีย ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน หรือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่อาจกระทบห่วงโซ่อุปทานภาคการผลิตจนทำให้ราคาสินค้าบางประเภทโดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับพุ่งขึ้นได้
ขณะที่ E – Elections - การเลือกตั้งในหลายประเทศที่อาจเปลี่ยนขั้วการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อการดำเนินนโยบายที่แตกต่างกันออกไป เช่น การเลือกตั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลดระดับหนี้สาธารณะและกระทบต่อค่าเงินและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่น่าจับตา คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ วันที่ 5 พ.ย. นี้ จะมีความสำคัญต่อทิศทางการค้า การลงทุน และกระแสโลกาภิวัตน์ตีกลับ (De-globalization) ที่จะกระทบกับเศรษฐกิจไทยได้
ในส่วนของ R- Interest Rate - อัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับสูงและลากยาว แม้คาดว่าเฟดจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยช่วงก.ย. และธ.ค. จากระดับ 5.50% สู่ระดับ 5.00% ในปลายปีนี้ จากตัวเลขการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มแผ่วลง แต่หากเฟดยังกังวลต่อทิศทางเงินเฟ้อที่ลดลงช้า และห่วงว่าหากปรับลดดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะทำให้เงินเฟ้อกลับมาพุ่งขึ้นต่อได้ เฟดอาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปี ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้น ความน่าสนใจของการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ลดลง มีเงินทุนไหลออกจากตลาดทุนไทย และหากเฟดส่งสัญญาณที่จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยเลยในปีนี้ ค่าเงินบาทอาจพลิกกลับไปอ่อนค่าทะลุระดับ 37.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แทนระดับที่เคยคาดการณ์ 37.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะกระทบต้นทุนการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะน้ำมัน ส่งผลให้เงินเฟ้อไทยปรับสูงขึ้นกว่าคาดได้ และกนง. อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปีแทนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. อย่างที่คาด
ด้าน M – Manufacturing - ภาคการผลิตอาจหดตัวต่อเนื่อง ความอ่อนแอของภาคการผลิตมีส่วนสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอในช่วงที่ผ่านมา ทั้งขาดสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก ขาด FDI หรือเติบโตรั้งท้ายในภูมิภาค หรือการที่ไทยนำเข้าสินค้าราคาถูกจากจีนเป็นจำนวนมากจนทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะตัวเลข MPI ที่หดตัวต่อเนื่อง แม้เราคาดว่าภาคการผลิตจะปรับตัวดีขึ้นไตรมาสสามตามการฟื้นตัวของตลาดโลกและความเชื่อมั่นดีขึ้น แต่หากไทยไม่สามารถยับยั้งการเร่งระบายสินค้าจากจีน SMEs ไทยจะกระทบหนักถึงขั้นปิดโรงงาน
“จากการที่จีนยังคงระดับการผลิตสินค้าเพื่อรักษาระดับการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจแม้อุปสงค์ในประเทศชะลอและเผชิญสงครามการค้ากับชาติตะวันตก ซึ่งที่จริงจีนน่าจะผลิตลดลง แต่กลับนำผลผลิตส่วนเกินมาระบายในตลาดอาเซียนโดยเฉพาะไทย หากเป็นเช่นนี้ต่อเนื่อง ภาคการผลิตของไทย โดยเฉพาะโรงงานในกลุ่ม SMEs ที่ขาดความสามารถในการแข่งขันอาจต้องปิดตัวลงจนกระทบการจ้างงานและการบริโภคของคนไทยอีกทอดหนึ่ง ซึ่งหวังว่ารัฐบาลไทยจะมีความชัดเจนในการแก้ปัญหาสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาและเร่งให้ SMEs ไทยปรับตัวได้ในไม่ช้า” ดร.อมรเทพ กล่าว
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech