Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
MAI
TPS เปิดแผนครึ่งปีหลัง นำ AI ยกระดับบริการไอที
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
ออร์บิกซ์ คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
LH Bank รุกกลุ่มลูกค้าไต้หวัน-ตปท. อัดโปรฯโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
TTB ชวนลูกค้าต่อยอดความมั่งคั่ง เสริมความแกร่งให้พอร์ตการลงทุน
Gossip
SM ปล่อยหมัดเด็ดอัพยอดขายครึ่งปีหลัง
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
BBL ชวนกูรูติวเข้มเอสเอ็มอี แนะทยอยลงทุนปรับโมเดลธุรกิจ
2024-12-25 12:15:40
223
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – BBL จัดสัมมนาพาผู้ประกอบการ เปลี่ยนผ่านองค์กรสู่โลกยุคใหม่ พร้อมชวนกูรูร่วมติวเข้มตีโจทย์ธุรกิจ กระตุกเอสเอ็มอีตื่นตัว ปรับทัพธุรกิจตามแนวคิด ESG มุ่งสร้างความยั่งยืน แนะเตรียมวางแผนทยอยลงทุน ใช้ประโยชน์จาก ESG ลดต้นทุนเพิ่มผลกำไรให้แก่องค์กรอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดสัมมนา “Digital Transformation For SME-EP4” ส่งท้ายปี ให้แก่กลุ่มเอสเอ็มอี ในหัวข้อ ‘แนวทางการรับมือเพื่อ Transform องค์กร ไปรับกติกาใหม่ด้าน ESG ของโลกและสังคม’ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการปรับตัวเข้าสู่โลกธุรกิจในยุคใหม่ได้อย่างราบรื่น ลดผลกระทบที่จะมีต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในประเด็นด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมต่อสังคมโลก และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไปสู่การสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้แก่ธุรกิจในระยะยาว ซึ่งธุรกิจสามารถนำแนวคิดด้าน ESG มาเป็นกรอบการดำเนินงานที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนใน 3 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และ ธรรมาภิบาล (Governance)
“การปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่การปฏิบัติภายใต้หลักการ ESG และนำไปสู่การสร้างความยั่งยืน เป็นประเด็นที่ธนาคารให้ความสำคัญและพยายามส่งเสริมให้สังคมตระหนักรู้เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งแก่พนักงานภายในองค์กร ไปจนถึงลูกค้าผู้ประกอบการทุกขนาด เพราะถือเป็นบริบททางธุรกิจที่กำลังจะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศกำลังปรับใช้แนวคิดดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติจริง เช่น การออกกฎหมาย หรือแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับ ESG สำหรับธุรกิจที่จะนำสินค้าเข้ามาขายภายในประเทศ เป็นต้น แม้กระบวนการต่างๆ จะต้องใช้เวลาก่อนเริ่มบังคับใช้ แต่เชื่อว่าทุกคนก็ต้องปรับตัวหากไม่อยากตกขบวนของโลกธุรกิจในอนาคต ขณะเดียวกัน ธนาคารกรุงเทพในฐานะ ‘เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน’ จึงได้พยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตระหนักถึงความสำคัญการเปลี่ยนไปเป็นองค์กรสีเขียว ด้วยการสนับสนุนทั้งวงเงินสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงและองค์ความรู้ต่างๆ อย่างรอบด้านทุกมิติ” ดร.พิเชฐ กล่าว
ด้านนางสาวชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการอาวุโส บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด ในฐานะวิทยากรการสัมมนาหัวข้อ ‘แนวทางการรับมือเพื่อ Transform องค์กร ไปรับกติกาใหม่ด้าน ESG ของโลกและสังคม’ กล่าวว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และกลุ่มซัพพลายเชน จะกลายเป็นกลุ่มที่ได้รับกระทบจากข้อกีดกันด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากที่สุดจากความต้องการของอุตสาหกรรมปลายน้ำ โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่เจอข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าต่างๆ ซึ่งข้อกำหนดนั้นจะถูกส่งต่อมายังผู้ผลิต
ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรจะเริ่มทำเป็นอันดับแรก คือ การสำรวจธุรกิจของตัวเองก่อนว่าอยู่ในกลุ่มธุรกิจใดและเกี่ยวข้องกับใครบ้าง เพื่อหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างเหมาะสม เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งย่อมหมายถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้น จึงต้องคำนึงถึงการลงทุนที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว แต่ไม่จำเป็นต้องรีบลงทุนปรับเปลี่ยนทั้งหมด หากยังไม่เกิดผลกระทบในระยะสั้นนี้ ขณะเดียวกัน หากธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบก่อน เช่น มีความเกี่ยวข้องกับ 6 กลุ่มธุรกิจได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ที่ขายสินค้าไปยังสหภาพยุโรป จะต้องเตรียมรับมือกับมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ที่จะเริ่มต้นในปี 2569 การเร่งปรับตัวในเวลานี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น
“ในภาคยานยนต์เองจากการสำรวจพบว่า 73% ของบริษัทในอุตสาหกรรมนี้พร้อมที่จะปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว แต่มีเพียง 41% ที่ได้เริ่มนำหลักปฏิบัติ ESG มาปรับใช้จริงแล้ว ดังนั้นต้องสำรวจตัวเองก่อนว่ามีความพร้อมแค่ไหนที่จะปรับตัวจริง เพราะหลัก ESG ตอนนี้ยังเป็นเรื่องที่ ‘ควรทำ’ แต่ในระยะยาวจะกลายเป็นเรื่องที่ ‘ต้องทำ’ ดังนั้น ยังมีเวลาที่ผู้ประกอบการจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องมองเพียงการเปลี่ยนในเรื่องๆ ใหญ่ อาจจะเริ่มจากการทำในเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ต้องลงทุน หรือลงทุนต่ำก่อน แต่สิ่งสำคัญคือ ทำแล้วต้องได้อะไรกลับมา ไม่ช่วยเพิ่มยอดขาย ก็ต้องช่วยลดต้นทุน ทางใดทางหนึ่ง โดยในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ที่การเพิ่มยอดขายเพื่อทำกำไรอาจจะเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลกำไรด้วยการทำ ESG จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและได้ประโยชน์ที่ยั่งยืน” นางสาวชนาพรรณ กล่าว
สำหรับ 3 เรื่องท้าทายของการปรับเปลี่ยนธุรกิจตามหลัก ESG ที่จะต้องคำนึงถึง เรื่องแรก คือ การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความยั่งยืนและกิจกรรมประจำวัน ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการนำไปสู่ปฏิบัติจริง เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกัน เช่นเรื่องง่ายๆ อย่างการลดการใช้พลาสติก เรื่องขยะ ที่จะต้องตระหนักรู้ร่วมกันทั้งองค์กรจึงจะประสบผลสำเร็จ และเมื่อทำเรื่องนี้ได้แล้วจึงนำไปสู่ เรื่องที่ 2 การบูรณาการแนวคิดและการปฏิบัติแบบขอความร่วมมือเพื่อกำหนด KPI ด้านความยั่งยืนเพื่อวัดประสิทธิภาพ และเรื่องสุดท้ายคือการเก็บรวบรวม จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นเครื่องการันตีให้แก่องค์กรว่าสามารถเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ยุคแห่งการเติบโตอย่างยั่งยืนได้สำเร็จ
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่