Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
MAI
LTS ยัน! ไร้ผลกระทบสหรัฐฯ จำกัดส่งออกชิป AI
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
คปภ. Kick off โครงการ “OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 4”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
ORN จัดงาน Analyst Meeting ให้ข้อมูลกลยุทธ์การเติบโตช่วงครึ่งปีหลัง 2568
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
อลิอันซ์ อยุธยา ร่วมหาแนวทางสร้างความยั่งยืนระบบสุขภาพไทย
2025-03-12 09:53:39
140
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนา Sustainability of Thailand’s Healthcare System Forum เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากไทยและสิงคโปร์ร่วมวิเคราะห์แนวโน้มเงินเฟ้อทางการแพทย์ การบริหารระบบสุขภาพแบบ Value-Based Care และอนาคตของประกันสังคม เพื่อหาแนวทางให้ระบบสาธารณสุขของไทยสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและตอบโจทย์ทุกภาคส่วน
สถานการณ์เงินเฟ้อด้านการแพทย์กำลังเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญต่อระบบสุขภาพไทย เนื่องจากอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของ GDP และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทั้งผู้ให้บริการสุขภาพ บริษัทประกันภัย และประชาชนที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น หากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนและบริหารจัดการทรัพยากรด้านสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ ปัญหานี้อาจส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพที่รุนแรงขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กล่าวว่า “คนไทยทุกช่วงวัยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แต่ความท้าทายสำคัญที่กำลังเกิดขึ้น คือ ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับเงินเฟ้อด้านการแพทย์ (Medical Inflation) ซึ่งจะส่งผลให้ค่าสินไหมสูงขึ้น จนทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อย หรือ คนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน เข้าถึงระบบประกันสุขภาพได้ยากขึ้น ดังนั้นเพื่อร่วมกันหาทางออกและนำไปสู่ระบบประกันสุขภาพที่ยั่งยืน จึงได้มีการจัดงานงานเสวนา Sustainability of Thailand’s Healthcare System Forum เพื่อให้วิทยากรจากภาคส่วนต่างๆ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองความรู้ต่างๆ”
งานเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในแวดวงสุขภาพทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อด้านการแพทย์ทั้งในระดับโลกและเอเชีย เริ่มจาก "ชาลีน ลี" หัวหน้าทีมด้านสุขภาพ เอเชียแปซิฟิค วิลลิส ทาวเวอร์ วัตสัน บริษัทตัวแทนประกันภัยระดับโลกและที่ปรึกษาด้านการจัดการความเสี่ยง ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตอย่างน่าสนใจว่า ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเงินเฟ้อทางการแพทย์ ซึ่งอยู่ที่ 8-15% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
โดยปัจจัยหลักๆ มาจากการตระหนักเรื่องสุขภาพและความคาดหวังของผู้คน โดยเฉพาะหลังโควิด 19 ผู้คนตื่นตัวกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น บวกกับการเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทย จึงตามมาด้วยการเกิดโรคภัยต่างๆ ส่งผลให้จากจำนวนครั้งการ เคลมและมูลค่าการเคลมเพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับภูมิภาคอื่นๆของโลกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากการให้บริการที่มากเกินความจำเป็นของโรงพยาบาล
ดังนั้น เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับระบบประกันสุขภาพ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงมีการนำแนวทางมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) มาใช้ ยกตัวอย่างในสิงคโปร์ มีการนำระบบ Co-Payment มาปรับใช้กับทุกคน และมีการใช้ระบบจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) ร่วมด้วย ขณะที่มาเลเซีย ซึ่งเริ่มมีปัญหาเบี้ยประกันสุขภาพสูง จนกระทบกับการเข้าถึงระบบประกันของประชาชน จึงมีนโยบายไม่ให้มีการเพิ่มเบี้ยประกันเกิน 10% และในอนาคตอาจจะมีการนำ Co-payment มาใช้ ส่วนประเทศไทย เริ่มมีการนำ Co-payment มาปรับใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่ละประเทศอาจจะมีแนวทางในการปรับใช้ไม่เหมือนกัน แต่เชื่อว่า Co-payment จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการแก้ปัญหา Medical Inflation
ด้านนายณภูมิ สุวรรณภูมิ หัวหน้างานคณิตศาสตร์ประกันภัย สำนักงานประกันสังคม ฉายภาพให้เห็นถึงบทบาทของกองทุนประกันสังคมในการดูแลประชาชน และแนวทางปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นว่า ประกันสังคมเป็น Risk Pooling ขนาดใหญ่ ดูแลผู้ประกันตน 13.7 ล้านคน ด้วยโครงสร้างการบริหารที่รายรับคงที่ เนื่องจากไม่มีการจัดเก็บเงินสมทบเพิ่มในแต่ละปี แต่สิทธิประโยชน์ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้สำนักงานประกันสังคม ต้องมีกลไกในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
โดยปกติสำนักงานประกันสังคมจะมีวิธีการควบคุมรายจ่าย 2 รูปแบบหลัก คือ เหมาจ่าย (Capitation) หรือ จํานวนเงินคงที่จ่ายล่วงหน้าให้กับผู้ให้บริการทางสุขภาพ (สถานพยาบาล) และนอกเหนือเหมาจ่าย (Fee Schedule) ซึ่งเป็น จำนวนเงินที่จ่ายให้กับผู้ให้บริการสำหรับแต่ละบริการ โดยมีการกำหนดอัตราสูงสุด ส่วนใหญ่ 70% ของค่าใช้จ่าย เป็นค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่าย เนื่องจาก เหมาะกับการจ่ายค่ารักษาในโรงทั่วไป เช่น OPD รับยา โรคเรื้อรัง เป็นการป้องกันการให้บริการรักษามากเกินความจำเป็น สามารถควบคุม Medical Inflation เพราะมีการพิจารณาทบทวนปรับค่าบริการทางการแพทย์ผ่านคณะกรรมการการแพทย์ที่มีตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงโรงพยาบาลรัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม การใช้กลไกการควบคุมดังกล่าวก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดี คือ คุม Medical Inflationได้ แต่ก็อาจจะทำให้คุณภาพการให้บริการไม่เป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้ประกันตนเท่ากับกรณีที่ไม่ควบคุม
ขณะที่ ดร.เว่ยหยาง ชอง รองอธิการบดีฝ่ายงานวิจัยเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งประเทศสิงคโปร์ (Singapore Management University) ถ่ายทอดแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ช่วยให้ระบบสุขภาพมีความคุ้มค่าและเข้าถึงได้มากขึ้น โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาของประเทศสิงคโปร์เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสุขภาพแบบ Value-Based Care ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน นอกจากเรื่องของการนำแนวทางมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment)เข้ามาใช้ การนำระบบ AI และ Robotic มาใช้ในระบบ Healthcare พร้อมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่มอบเงินสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้โรงพยาบาลหาวิธีในการบริหารจัดการ และส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยด้วยการป้องกันการเกิดโรค เพราะช่วยประหยัดต้นทุน บุคลากรและเวลา หากโรงพยาบาลไหน สามารถบริหารจัดการได้ดี มีเงินเหลือ ก็สามารถเก็บไว้ได้ไม่ต้องคืนรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐบาลยังมองไปถึงการเก็บรวบรวมพฤติกรรมและพันธุกรรมของประชาชน เพื่อนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรค ให้การรักษา และป้องกันการเกิดโรคในประชาชนแต่ละคนได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วย
สำหรับไฮไลท์ของงานอยู่ที่การเสวนาในหัวข้อ “Building a Sustainable Healthcare System in Thailand” ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงสุขภาพ ประกันภัย และนโยบายสาธารณะ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการทำให้ระบบสาธารณสุขไทยเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดย พล.ต.ท. นพ.ธนา ธุระเจน ประธานกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม กล่าวว่า ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ เพราะถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากป่วย หรือถ้าป่วยก็อยากหายเร็ว ดังนั้นความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ต้องส่งเสริมการป้องกันโรคและบูรณาการการร่วมมือทุกฝ่าย
นายแพทย์ธรธเนศ อายานะ ที่ปรึกษาคณะแพทย์ที่ปรึกษา สมาคมประกันชีวิตไทย บอกว่า Medical Inflation กำลังเป็นปัญหาใหญ่ และนำไปสู่การเพิ่มค่าสินไหม ทำให้นอกจากลูกค้ารายใหม่ๆ จะเข้าถึงการประกันสุขภาพได้ยากขึ้น และแม้จะมีการนำระบบ Co-Payment หรือ Deductible มาใช้ ก็อาจจะทำให้ลูกค้าเดิม ก็อาจจะจ่ายไม่ไหว สุดท้ายระบบก็ไม่ยั่งยืน เพราะด้วยคอนเซ็ปต์ของผลิตภัณฑ์ประกันภัยตอนนี้ที่เป็น Free For Service ทำให้ผู้เอาประกันใช้บริการแบบบุฟเฟต์ ทำให้เกิดการให้บริการทางการแพทย์เกินความจำเป็น จากสถิติพบว่า การนอนโรงพยาบาลของลูกค้าที่มีประกันสุขภาพสูงกว่าคนทั่วไปถึง 4-5 เท่า นอกจากนี้ ระบบ Co-Payment ให้ผู้เอาประกันร่วมจ่าย หรือ มีค่า Deductible เป็นเพียงหนึ่งในวิธีที่จะทำให้ผู้เอาประกันคิดเยอะขึ้น เวลาเจ็บป่วยว่ามีความจำเป็นที่ต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลหรือไม่ แต่ก็ยังไม่ใช่ทางออกที่ยั่งยืนที่สุด เพราะถ้าจะแก้ปัญหาต้องแก้ทั้งระบบ
“นี่ถ้าบริษัทประกันเอกชนอยู่ไม่ได้ โรงพยาบาลเอกชนที่มีอยู่ 200-300 แห่ง ซึ่ง 50% รายได้หลักมาจากบริษัทประกันก็อยู่ยาก รวมถึง คนไทยที่หากบริษัทประกันภัยเอกชนอยู่ไม่ได้ ก็ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อรับการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงเอง หรือ กลับเข้าไปสู่ระบบการรักษาตามสิทธิพื้นฐานของรัฐ ซึ่งจะกลายเป็นภาระให้กับภาครัฐอยู่ดี”
ปิดท้ายที่ มร.โทมัส วิลสัน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ให้นิยามของคำว่า ระบบประกันสุขภาพที่ยั่งยืนว่า ต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ อย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่ใน 2-3ปีอันใกล้ แต่ เรากำลังพูดถึงอนาคต 15-20 ปีข้างหน้า แต่ด้วยสถานการณ์ Medical Inflation ที่เป็นอยู่ขนาดนี้ จะทำให้สินไหมของประกันสูง จนคนทั่วไปเข้าถึงได้ยากขึ้น ยังไม่ต้องพูดถึงปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงวัยที่จะยิ่งทำให้อัตราการรักษาโรคเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ Medical Inflation สูง เพราะการ เคลมที่มากเกินไป
จากข้อมูลพบว่า เด็กไทย 0-10 ขวบ มีการอัตราการแอดมิดเข้าโรงพยาบาลที่มีจำนวนมาก และพักรักษารพ.ในจำนวนวันที่มากกว่าประเทศอื่น นอกจากนั้น จากข้อมูล มีการเคลมสูงขึ้นของโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น office syndrome ทั้งที่จริงๆแล้ว การเอาประกันควรสงวนไว้สำหรับโรคสำคัญๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ตอนนี้กลับถูกนำมาใช้ในจุดที่ไม่สำคัญ ซึ่งอาจมีการป้องกันได้ และสมมติว่า หากเราไม่มีการแก้ไขใดๆ ก็จะยิ่งทำให้ระบบสุขภาพในภาพรวมแย่ลง ยกตัวอย่าง ประกันกลุ่มลูกค้าเด็ก อายุต่ำกว่า 10 ปี ในปัจจุบัน ทุกบริษัท มีการเสนอเฉพาะแผนที่มีความรับผิดส่วนแรก Deductible ร่วมด้วย
ทั้งนี้ อลิอันซ์ อยุธยา มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน เพื่อให้ระบบสุขภาพของไทยสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ผ่านการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบของเงินเฟ้อทางการแพทย์ และการชี้ให้เห็นถึงแนวทางใหม่ในการบริหารจัดการด้านสุขภาพ เช่น การใช้โมเดล Value-Based Care ซึ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพและคุ้มค่า ตลอดจนการหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน การจัดงานเสวนานี้เป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบสุขภาพที่แข็งแกร่ง มั่นคง และสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน