Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
กลุ่ม SCBX เปิดรับสมัครโครงการ “กล้าใหม่...ใฝ่รู้” ปีที่ 20
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
EXIM BANK ร่วมยินดีโรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต ครบรอบ 86 ปี
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
กสิกรไทย หวั่นจีดีพีโตต่ำกว่าคาด ปัจจัยลบรุมเร้าเพียบ
2025-03-21 17:34:32
357
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองเศรษฐกิจไทยปี 68 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด หวั่นตัวเลขจีดีพีปี 68 เติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.4%
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ท่ามกลางความท้าทายทางด้านการขาดดุลการค้าอย่างเรื้อรังและหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงขึ้นของสหรัฐฯ แนวทางการแก้ปัญหาที่เริ่มมีการกล่าวถึงมากขึ้นในปี 2568 คือข้อตกลง Mar-a-Lago Accord คล้ายกับข้อตกลง Plaza Accord ในปี 2528 ที่สหรัฐฯ เคยนำมาใช้ โดยเป้าหมายหลักของ Mar-a-Lago Accord คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้องอ่อนค่าลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกสหรัฐฯ รวมถึงการฟื้นฟูภาคการผลิตของสหรัฐฯ และการลดภาระหนี้สหรัฐฯ โดยประเทศพันธมิตรที่พึ่งพาการคุ้มครองด้านความมั่นคงจากสหรัฐฯ ต้องเข้ามาถือพันธบัตรรัฐบาล 100 ปี
ด้านนายรุจิพันธ์ อัสสะรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ผลกระทบจากสงครามการค้าต่อตลาดรถยนต์โลก โดยมองว่าจะทำให้ตลาดรถยนต์โลกเกิดการแข่งขันสูงขึ้น ภาวะอุปทานรถยนต์ล้นเกินของโลกรุนแรงขึ้น และราคารถยนต์ในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง โดยประเทศผู้ผลิตรายหลักในตลาดโลก เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี และเกาหลีใต้ จะกระจายตลาดส่งออกรถยนต์มากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็จะเข้าไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาเพื่อผลิตรถยนต์ป้อนตลาดสหรัฐฯ ลดผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า
ทั้งนี้ การแข่งขันในตลาดรถยนต์โลกที่เพิ่มสูงขึ้น คาดว่าจะซ้ำเติมภาวะอุปทานรถยนต์ล้นเกินของโลกให้รุนแรงขึ้น จากปัจจุบันที่ยอดผลิตรถยนต์โลกมีจำนวนที่สูงกว่ายอดขายรถถึง 16% นอกจากนี้ ราคารถยนต์ในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ยกเว้นตลาดสหรัฐฯ จากการที่ค่ายรถยนต์จีนน่าจะยังใช้กลยุทธ์ด้านราคาต่อเนื่อง ซึ่งการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว คาดว่ายังจะส่งผลต่อการส่งออกรถของไทยและต่อเนื่องไปยังภาคการผลิตรถ ซึ่งปัจจุบันพึ่งพาตลาดส่งออกสูงถึง 67% ของยอดการผลิตรถทั้งหมดของไทย
นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ผลกระทบจากการขึ้นภาษีของทรัมป์ ฉุดการผลิตอุตสาหกรรมไทยให้เสี่ยงหดตัวราว 1.0% ในปี 2568 ขณะที่ไทยหวังพึ่งแรงส่งจากการท่องเที่ยวได้ไม่มากเท่าปีก่อน โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะได้รับผลกระทบทางตรงจากการขึ้นภาษีและคำสั่งซื้อที่ลดลงของสหรัฐฯ เนื่องจากพึ่งพาสหรัฐฯ ในฐานะตลาดส่งออกสำคัญ ส่วนรถยนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ถูกกระทบทางอ้อมจากการแข่งขันที่รุนแรงท่ามกลางเศรษฐกิจหลักในโลกที่ชะลอลง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือ แรงงานในภาคการผลิตที่ทักษะต่ำจะมีความเสี่ยงด้านรายได้ โดยโรงงานอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์เริ่มมีสัญญาณการปิดตัวเพิ่มขึ้นและเป็นขนาดกลางถึงใหญ่ ซึ่งสถานการณ์คงจะท้าทายมากขึ้นอีกเมื่อสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ในต้นเดือนเมษายนนี้ นอกจากนี้ ไทยคงคาดหวังแรงส่งจากการท่องเที่ยวได้ไม่มากเท่าปีก่อน หลังจำนวนนักท่องเที่ยว 2 ชาติหลักอย่างจีนและมาเลเซียลดต่ำลง อีกทั้ง การแข่งขันกันดึงนักท่องเที่ยวและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้การฟื้นตัวของตลาดต่างชาติเที่ยวไทยกลับไปสู่ระดับก่อนโควิดหรือมากกว่านั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย
ขณะที่นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า หากไทยโดนภาษีนำเข้า Reciprocal Tariff เพิ่มขึ้นอีก 10% คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อจีดีพีที่ -0.3% ซึ่งผลกระทบดังกล่าวได้รวมไว้ในการประมาณการจีดีพีปี 2568 ที่ 2.4% แล้ว อย่างไรก็ตาม หากไทยโดนภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 25% คาดว่าจะส่งผลต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น -0.6% และประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2568 ที่ปัจจุบันมองไว้ที่ 2.4% มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงแต่จะยังอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 2.0% นอกจากนี้ ทิศทางเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2568 แทบจะไม่เติบโตเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) จากผลกระทบสงครามการค้า ปัจจัยฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และแรงส่งทางเศรษฐกิจลดลง
ด้านนางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน ทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังเป็นขาลงทั้งในและต่างประเทศ แต่สำหรับภาคเอกชนไทยที่มีแผนระดมทุน อาจต้องระวังว่า ต้นทุนการระดมทุนอาจไม่ได้ลดลงมากอย่างที่คาด เพราะนักลงทุนในประเทศยังแสดงสัญญาณระมัดระวัง ทำให้ Spread หุ้นกู้บางกลุ่มยังปรับขึ้น ด้านค่าเงินบาท คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.0 -34.5 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงไตรมาส 2/2568 โดยมีโอกาสแข็งค่าในระยะสั้น ตามการปรับขึ้นของราคาทองคำ และการคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของเฟด
ในส่วนของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทย เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว แต่ส่วนหนึ่งเป็นการย้ายมาจากตลาดตราสารหนี้ ทำให้ทั้งปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองว่าสินเชื่อจะโตไม่สูงที่ 0.6% โดยสินเชื่อเอสเอ็มอีและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะยังหดตัว สอดคล้องกับสถานการณ์ธุรกิจและอำนาจซื้อที่ไม่แน่นอน ขณะที่มองว่ามาตรการ LTV ที่เพิ่งผ่อนคลายจะทำให้ประมาณการสินเชื่อบ้านปีนี้โตเพิ่มขึ้นได้อีก 0.1-0.2% จากประมาณการเดิมที่ 0.5%
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech