Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
MAI
LTS ยัน! ไร้ผลกระทบสหรัฐฯ จำกัดส่งออกชิป AI
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
orbix INVEST ออกแคมเปญช่วยชดเชยขาดทุน
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
EXIM BANK สานต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย เฟส 2”
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
คปภ. Kick off โครงการ “OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 4”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
KBTG ผนึก InsureMO พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเชื่อมระบบนิเวศประกันภัย
Information
คณะผู้บริหารกรมสรรพสามิต ร่วมพิธีเปิดอาคาร 5 แห่งใหม่
Gossip
AMARC สุดฮอต โบรกฯ เพิ่มเป้าราคา 2.70 บาท
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
คปภ.ถกภาคธุรกิจประกัน ยกระดับมาตรการกำกับดูแล
2025-04-24 16:45:57
168
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - คปภ. ประชุมร่วมภาคธุรกิจประกันภัย หารือเตรียมพร้อม เพื่อยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกัน รองรับการใช้บังคับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 นายโสรัจจ์ แรกสกุลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย เพื่อให้สามารถปรับตัวได้เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที จึงมอบหมายให้สายตรวจสอบ ร่วมกับสายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและพัฒนาแนวทางยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกันบริษัทประกันภัยที่มีการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะทางการเงิน
โดยพบว่า บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะการเงินจะแก้ไขปัญหาด้วยการจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็นหลัก อันเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น และไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางการเงินได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ผ่านมามาตรการแทรกแซงตามกฎหมายสำหรับใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหายังเผชิญกับข้อจำกัด ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยมีฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือมีการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
ด้วยเหตุดังกล่าว สำนักงาน คปภ. จึงได้พัฒนาจัดทำมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย เพื่ออุดช่องว่างในกระบวนการ ให้บริษัทประกันภัยต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลาย จนอาจกระทบต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน จึงได้มีการประชุมร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย โดยมีผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยเข้าร่วม เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และเตรียมความพร้อมรองรับสำหรับการบังคับใช้เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติกับบริษัทประกันภัยต่อไป
สำหรับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย นำมาใช้กับบริษัทประกันภัยที่จัดอยู่ในกลุ่ม 2 กลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 ตามการจัดกลุ่มของระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS) ซึ่งมีปัจจัยหรือข้อบ่งชี้ในบางประการที่อาจนำไปสู่ผลกระทบต่อฐานะ ทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย และจะนำมาใช้เพื่อป้องกันก่อนที่เงินกองทุนของบริษัทประกันภัยดังกล่าวจะลดต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย/ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งในแต่ละมาตรการแทรกแซงจะมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ (Root Cause) ที่แท้จริง เป็นไปตามสัดส่วนความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละบริษัทประกันภัย
รวมถึงมีขั้นตอนการตัดสินใจ (Decision-Making Lines) ที่ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยมีข้อบ่งชี้ที่ใช้พิจารณาแบ่งกลุ่มบริษัทที่เข้ามาตรการแทรกแซงที่สามารถสะท้อนฐานะการเงิน ความมั่นคงของบริษัทในปัจจุบัน และความทนทานของเงินกองทุนส่วนเกิน (Surplus) ที่มีต่อผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งแบ่งความทนทานของบริษัทออกเป็น 3 ระดับที่มีความสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ โดยจะเริ่มจากระดับเบาไปหาหนัก และหากบริษัทยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาตามมาตรการแทรกแซงได้ ก็จะถูกยกระดับการบังคับใช้มาตรการแทรกแซงที่สูงขึ้นในลำดับต่อไป
สำหรับผลการประชุมร่วมดังกล่าว ผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย เห็นด้วยกับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้บริษัทประกันภัยได้ทราบหลักเกณฑ์และระยะเวลาของมาตรการแทรกแซง ที่ชัดเจนสามารถดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายจนอาจนำไปสู่ผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน และมีความเห็นเพิ่มเติมในบางประเด็น อาทิ ในมุมของการมองผลขาดทุนของบริษัทประกันชีวิตที่อาจต้องมีการแยกพิจารณาผลขาดทุนในมุมผลขาดทุนที่แตกต่างจากบริษัทประกันวินาศภัย เป็นต้น ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะรับข้อคิดเห็นดังกล่าวนำไปพิจารณา เพื่อให้มาตรการที่ออกมาสามารถนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนบังคับใช้ในลำดับต่อไป
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่
CH ครึ่งปีหลังยังดี เดินเกมระมัดระวังในภาวะตลาดโลกผันผวน