Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
กลุ่ม SCBX เปิดรับสมัครโครงการ “กล้าใหม่...ใฝ่รู้” ปีที่ 20
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
EXIM BANK ร่วมยินดีโรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต ครบรอบ 86 ปี
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
กนง. มีมติ 6:1 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี
2025-06-25 15:54:56
90
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - กนง. มีมติ 6 : 1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี ระบุเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงในระยะถัดไป จากผลกระทลนโยบายภาษีสหรัฐ ประเมินจีดีพีไทยปี 68 ขยายตัว 2.3% และลดเหลือ 1.7% ในปี 69
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2568 นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 25 มิถุนายน 2568 โดยคณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี ทั้งนี้ 1 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เป็น 1.50% ต่อปี
โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้จากภาคการผลิตและการเร่งส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงในระยะถัดไป โดยมีความเสี่ยงที่การส่งออกสินค้าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ รวมทั้งยังมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากภูมิรัฐศาสตร์ และปัจจัยภายในประเทศ ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำจากปัจจัยด้านอุปทาน ในขณะที่สินเชื่อชะลอลง ส่วนหนึ่งจากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงในบางกลุ่มและความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้น
คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในระยะถัดไป ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาสามารถรองรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี ในการประชุมครั้งนี้ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยให้ความสำคัญกับจังหวะเวลาและประสิทธิผลของนโยบายการเงินภายใต้บริบทที่มีความไม่แน่นอนสูงและขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (policy space) มีจำกัด ขณะที่กรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อปี เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและเอื้อต่อการปรับตัวของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอ่อนแอลง
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 2568 และ 2569 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 2.3% และ 1.7% ตามลำดับ โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ที่ 2.3% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากข้อมูลเศรษฐกิจจริงในไตรมาสที่ 1 และเครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ โดยการส่งออกที่ขยายตัวได้สูงจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าที่มีการเร่งส่งออกไปสหรัฐฯ ส่งผลบวกต่อภาคการผลิตและภาคบริการที่เกี่ยวข้อง
หากมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2568 โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามแนวโน้มรายได้และความเชื่อมั่นที่ลดลง ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวปรับลดลง แม้รายรับนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้จากค่าใช้จ่ายต่อหัว โดยธุรกิจส่วนหนึ่งยังถูกกดดันจากสินค้านำเข้าและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2568 และ 2569 คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำที่ 0.5% และ 0.8% ตามลำดับ จากหมวดพลังงานและอาหารสด ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2568 และ 2569 อยู่ที่ 1.0% และ 0.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ทรงตัวในระดับต่ำเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก และไม่ได้นำไปสู่ภาวะที่ราคาสินค้าลดลงเป็นวงกว้าง อีกทั้งเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย ในระยะข้างหน้า ต้องติดตามความเสี่ยงด้านสูงจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงานโลก
สินเชื่อโดยรวมหดตัว สถาบันการเงินยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อโดยเฉพาะ SMEs และครัวเรือนกลุ่มรายได้ต่ำ ประกอบกับความต้องการของภาคธุรกิจที่ลดลงและการชำระคืนหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับคุณภาพสินเชื่อยังปรับด้อยลงโดยเฉพาะสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อที่อยู่อาศัย ด้านอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินและในระบบสถาบันการเงินปรับลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปัจจัยภายนอกในทิศทางเดียวกับสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามการขยายตัวและคุณภาพของสินเชื่อ ซึ่งอาจมีนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง และพร้อมปรับนโยบายการเงินให้เหมาะสมกับแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech