Phones





ออมสิน ตั้งศูนย์วิจัยดัชนีศก.ฐานราก

2019-08-23 16:09:52 202




นิวส์ คอนเน็คท์ – “ออมสิน” ทุ่มงบเปิดศูนย์ “GSB Research” ประเมินดัชนีเศรษฐกิจระดับฐานราก หวังเป็นแหล่งข้อมูลให้รัฐบาลและกลุ่มเอสเอ็มอีสตาร์ทอัพ พร้อมเดินหน้าเหส 2 สร้างอินโนเวชั่นแล็บ รองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบดิจิทัล ด้านสินเชื่อปี 62 มั่นใจเติบโต 4-6% ตามเป้าหมาย


ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการเปิดตัวศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน หรือ GSB Research เพื่อใช้ในการผลิตงานวิจัย รายงาน บทวิเคราะห์ ทั้งเศรษฐกิจมหภาค จุลภาค เศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งการจัดตั้ง GSB Research ดังกล่าว ธนาคารไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร แต่มีเป้าหมายสำคัญคือต้องการให้เป็นแหล่งข้อมูล และให้ความรู้แก่ลูกค้า หรือกลุ่มธุรกิจ รวมถึงให้หน่วยงานของภาครัฐ


ทั้งนี้ GSB Research จะมีการวิเคราะห์และประเมินดัชนีความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งจะมีการจัดทำทุกๆไตรมาส หลังจากนั้นจะมีการส่งจ้อมูลให้แก่รัฐบาล กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เพื่อนำข้อไปใช้ประกอบการดำเนินนโยบาย หรืออกมาตรการทางด้านเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งต้องการให้เป็นแหล่งข้อมูลของธุรกิจเอสเอ็มอีสตาร์ทอัพ ที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์หรือว่างยุทธ์ศาสตร์ให้กับธุรกิจของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ขณะที่ธนาคารยังเตรียมที่จะเดินหน้า GSB Research เฟสที่ 2 ซึ่งจะเป็นการขยายในส่วนของอินโนเวชั่น แล็บ และการจัดทำ Sandbox ของภาคธนาคาร เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องของการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งจะสร้างประโยชน์ในกับภาคธนาคารพาณิชย์ของไทย และรองรับพฤติกรรมของล๔กค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการพัฒนาของเทคโนโลยี


สำหรับแนวโน้มสินเชื่อของธนาคารในช่วงที่เหลือของปี 62 มองว่าจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากช่วง 7 เดือนแรกที่สินเชื่อสุทธิมีการเติบโตประมาณ 4% หรืออยู่ที่ราว 8 หมื่นล้านบาท โดยสินเชื่อภาครัฐ และสินเชื่อบุคคลยังมีการเติบโตได้มากกว่าเป้าหมาย ส่วนสินเชื่อธุรกิจสตาร์ทอัพก็ยังมีทิศทางเป็นบวก ซึ่งธนาคารมั่นใจว่าสินเชื่อสุทธิปี 62 จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4-6% หรือราว 1.2 แสนล้านบาท และพอร์ตสินเชื่อรวมสิ้นปี 62 จะอยู่ในระดับสูงกว่า 2.2 ล้านล้านบาท โดยตัวเลขสินเชื่อปล่อยใหม่ในปีนี้น่าจะทำได้ราว 4-5 แสนล้านบาท


ในส่วนของตัวเลขหนี้ที่ไม่ก้อให้เกิดรายได้(NPL) ในปัจจุบันอยู่ที่ราว 2.9% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปี 61 ที่ NPL อยู่ที่ระดับ 2.8% ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ตัวเลข NPL ของธนาคารในเดือนมิ.ย. และ ก.ค. จะเป็นจุดสูงสุดของปี ก่อนที่ทยอยปรับตัวลดลง โดยในปีนี้ธนาคารยังวางเป้าหมาย NPL จะอยู่ในระดับไม่เกิน 2.8%