Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
ตลท. จัดงานสัมมนา "Legacy & Future: 50 Years of Thai Capital Market"
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
ครม.คลอด4มาตรการลดค่าครองชีพ-ฟื้นฟูศก.จากCOVID
2021-06-01 16:59:30
604
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ครม.อนุมัติ มาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19 รวดเดียว 4 โครงการ ครอบคลุมประชาชน 51 ล้านคน
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2564 และ 18/2564 ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 ซึ่งประกอบด้วย 4 โครงการ ครอบคลุมประชาชนประมาณ 51 ล้านคน โดยประชาชนแต่ละคนสามารถเข้าร่วมได้ 1 โครงการ ดังมีรายละเอียด ดังนี้
1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ผู้มีบัตรฯ) ระยะที่ 3 สำหรับกลุ่มผู้มีบัตรฯ ประมาณ 13.65 ล้านคน โดยจะช่วยเหลือค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน วงเงินรวม 16,380.19 ล้านบาท ทั้งนี้ หากผู้มีบัตรฯ ประสงค์จะรับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้แทน จะต้องสละสิทธิการเป็นผู้มีบัตรฯ โดยขอให้นำบัตรฯ มาคืนที่กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด ภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 และจะต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ) เช่น ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนทำให้ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนหรือเดินทางไปใช้จ่ายวงเงินที่ได้รับผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้) เป็นต้น (ผู้ได้รับสิทธิเราชนะกลุ่ม 4) ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยจะช่วยเหลือค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าฯ และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากร้านค้าหรือผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน เป็นวงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ หากผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ ประสงค์รับสิทธิตามโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้แทน จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิตามโครงการดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 และถือเป็นการสละสิทธิตามโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ
3. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน 31 ล้านคน จะได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายร้อยละ 50 สำหรับค่าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป และค่าบริการ (นวด สปา ทำผมทำเล็บ ค่าเดินทางโดยบริการขนส่งสาธารณะหรือขนส่งมวลชนสาธารณะ) ยกเว้นสลากกินแบ่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ ทั้งนี้ ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 1,500 บาทต่อคน ในแต่ละรอบ รอบละ 3 เดือน หรือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ เป็นวงเงินรวม 93,000 ล้านบาท ซึ่งการร่วมจ่ายคนละครึ่งนี้จะช่วยเติมกำลังซื้อของประชาชน โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นเงิน 186,000 ล้านบาท
4. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นโครงการใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศผ่านผู้มีกำลังซื้อ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ได้รับสิทธิไม่เกิน 4 ล้านคน ที่ชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ ได้แก่ ค่าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป ค่าบริการนวด สปา ทำผมทำเล็บ ยกเว้นสลากกินแบ่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับวงเงินสนับสนุนในรูปของบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) โดยวงเงินใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน และยอดใช้จ่ายที่นำมาคำนวณสิทธิไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน และจะได้รับสิทธิ e-Voucher สะสมสูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ โดยยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 1-40,000 บาทแรก ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 10 ของยอดใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน และยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 40,001-60,000 บาท ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ซึ่งสิทธิ e-Voucher จะคืนเป็นวงเงินใน g-Wallet ทุกต้นเดือนถัดไป โดยไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้ โดยวงเงินสำหรับการดำเนินโครงการรวม 28,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นเงิน 268,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการทั้ง 4 โครงการดังกล่าว คาดว่าจะเริ่มใช้จ่ายได้เร็วที่สุดในวันที่ 1 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงวันเริ่มใช้จ่าย กระทรวงการคลังจะแจ้งให้ทราบต่อไป
สำหรับการลงทะเบียนและการใช้จ่ายของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีรายละเอียดและระยะเวลาดำเนินโครงการในเบื้องต้น ดังนี้ 1) ประชาชนผู้สนใจที่มีสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีบัตรประจำตัวประชาชน ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ได้ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ได้ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2564 เวลา 06.00 น. – 22.00 น. โดยผู้ที่เคยใช้จ่ายผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว สามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หรือเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com หรือ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com ตามต้องการ ส่วนประชาชนที่ไม่เคยใช้จ่ายผ่าน g-Wallet ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของโครงการที่ต้องการเข้าร่วม ทั้งนี้ หากผู้ที่ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ประสงค์จะเปลี่ยนไปรับสิทธิอีกโครงการหนึ่งแทน จะต้องลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิอีกโครงการหนึ่ง ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 และถือเป็นการสละสิทธิโครงการที่ได้รับสิทธิเดิม
2) ประชาชนที่ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ จะต้องยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนที่สาขาหรือตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) ยกเว้นผู้ที่เคยยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนกับธนาคารกรุงไทยฯ หรือผู้ที่มีแอปพลิเคชัน KrungthaiNext และเมื่อยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจะสามารถใช้จ่ายกับร้านค้าที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ที่เข้าร่วมแต่ละโครงการได้ในเบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ในเวลา 06.00 น. – 23.00 น. ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ประชาชนสามารถใช้จ่ายเงินเพื่อนำมาคำนวณสิทธิได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 และใช้ e-Voucher ได้ในช่วงเดือนสิงหาคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป เวลา 06.00 น. – 22.00 น. โดยผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมมาตรการ/โครงการอื่นของรัฐที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” แล้ว ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ส่วนผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการ/โครงการอื่นลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com หรือ www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com ตามต้องการ หรือสาขาหรือจุดรับลงทะเบียนของธนาคารกรุงไทยฯ
"กระทรวงการคลังคาดว่า การดำเนินการโครงการทั้ง 4 โครงการดังกล่าว ครอบคลุมประชาชน 51 ล้านคน จะช่วยรักษากำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ จากการเติมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวน 473,000 ล้านบาท อีกทั้งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่พี่น้องประชาชน เพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งรักษาระดับและทิศทางของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อให้เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2564"
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech