Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
ตลท. จัดงานสัมมนา "Legacy & Future: 50 Years of Thai Capital Market"
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
KBANKแนะภาครัฐเตรียมรับมือ4โจทย์ใหญ่
2021-06-10 17:53:24
412
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยายตัว 1.8% หวังภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนในวงกว้างจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาส 4/64 ขณะที่ปัญหาหนี้สาธารณะ ต้นทุนผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น และหนี้ภาครัวเรือน เป็นโจทย์สำคัญที่ภาครัฐควรเตรียมรับมือ
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 64 ยังประเมินว่าจะขยายตัวที่ระดับ 1.8% ภายใต้สมมติฐานว่าการระบาดของโควิด-19 รอบ3 จะคลี่คลายภายในเดือน ก.ค.นี้ ซึ่งตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจดังกล่าวได้รวมผลบวกจากการส่งออกที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการภาครัฐที่กำลังจะทยอยออกมาทั้งโครงการคนละครึ่งเฟส 3 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
ขณะที่การเร่งกระจายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้างคาดว่าจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในเดือนมิ.ย. – ก.ค.นี้ ซึ่งหากภาครัฐสามารถเร่งฉีดวัคซีนได้ในปริมาณที่มากพอกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ จะช่วยให้ภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/64 มีทิศทางที่เร่งตัวขึ้นอย่างมาก และจะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 64 และปี 65
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าภาครัฐต้องเตรียมรับมือกับ 4 โจทย์สำคัญ ได้แก่ ภาระทางการคลัง เงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือน และ ต้นทุนธุรกิจที่กำลังเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยในระยะสั้นการขาดดุลการคลังที่เพิ่มขึ้น และการขยายเพดานหนี้สาธารณะอาจจะยังไม่เป็นประเด็นสำคัญนัก โดยคาดว่าจะเห็นระดับหนี้สาธารณะสูงกว่าระดับ 60% ภายในปี 65 แต่ในระยะกลาง หากยังมีการขาดดุลการคลังในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อาจจะนำมาสู่ประเด็นความเชื่อมั่นทางภาคการคลังของไทย
ด้านนางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า โจทย์เรื่องหนี้ภาคครัวเรือนถือเป็นประเด็นสำคัญ โดยสถานการณ์หนี้รายย่อยเริ่มถดถอยลง โดยมีกลุ่มเปราะบางที่เผชิญทั้งปัญหารายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายไม่ได้ลดลงตามรายได้ รวมทั้งภาระหนี้สูงเกินกว่า 50% ต่อรายได้ เพิ่มขึ้นจาก 10.8% ในโควิดรอบ 2 มาอยู่ที่ระดับ 22.1% ซึ่งปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น และมีโอกาสเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 90% ต่อจีดีพีภายในปี 64 จะมีผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องกลับมาดูแลอย่างจริงจัง หลังผ่านโควิดรอบนี้
นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ปรับขึ้นของต้นทุนหรือราคาสินค้าที่มีผลซ้ำเติมต่อผู้ประกอบการธุรกิจ โดยเฉพาะการส่งผลกระทบต่อธุรกิจซื้อมาขายไปในยามไม่ปกติที่โควิดฉุดกำลังซื้อและตลาดมีการแข่งขันสูง ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี โดยประเมินเบื้องต้นว่า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น 1% จะกระทบค้าปลีก SMEs ประมาณ 23,600 - 23,800 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ประกอบการเผชิญข้อจำกัดในการผลักภาระไปให้กับผู้บริโภค
ขณะที่มาตรการรัฐมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจดี ปัญหา หรือ ผลกระทบนี้คงมีขนาดที่ลดลง ทั้งนี้ ต้องติดตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหลังจากนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเส้นทางการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกในช่วงที่เหลือของปี
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech