Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
MAI
DOD ชี้เทรนด์รักสุขภาพโตต่อ ดันรายได้ทั้งปีแตะ 800 ล.
IPO
PETPAL ยื่นไฟลิ่ง ลุยแผนเข้าตลาด mai
บล./บลจ
‘KuCoin’ จับมือ ‘FSS’ เสริมแกร่งสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
SCB EIC ลุ้นกนง.หั่นดอกเบี้ยสู่ 1.25% หลังศก.ไทยยังเผชิญความเสี่ยง
การค้า - พาณิชย์
คต. จัดคอร์สเสริมความรู้ผู้ส่งออกการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เดินหน้าพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO ชูทางเลือกส่งออกทางเรือ–รถไฟ ลดเสี่ยงโลจิสติกส์
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้ารางวัลระดับเอเชีย ผ่านนวัตกรรม ‘MyMo Secure Plus’
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
คาร์ฟอร์แคช ส่งบริการใหม่ “รับเงินไวสุดใน 1 ชั่วโมง”
SMEs - Startup
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต เปิดตัวแคมเปญ “ทำโซเชียลให้มีความหมาย”
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัย ส่งโปรฯ แรงกลางปี “ยิ้ม ยืด ยาว”
การตลาด
TCL ยกทัพนวัตกรรมทีวี ‘C Series’ QD Mini LED บุกทั่วไทย
CSR
World จับมือ Gogolook เปิดตัว World ID บนแอป Whoscall
Information
ตลท. จัดงานสัมมนา "Legacy & Future: 50 Years of Thai Capital Market"
Gossip
AMR ชวนร่วมงาน Mobility Tech Asia – Bangkok 2025
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
‘ทีทีบี’ชี้มาตรการรัฐพยุงการบริโภคภาคเอกชนโต 2%
2021-06-21 13:50:31
470
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ttb analytics คาดมาตรการเยียวยา ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และเป้าหมายเดินหน้าปลดล็อกประเทศ 120 วัน เป็นปัจจัยฟื้นความเชื่อมั่น พยุงการบริโภคภาคเอกชนทั้งปี 64 โต 2% และเป็นฐานให้โตดีขึ้นในปี 65
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ระบุว่า การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 รอบสาม ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ทรุดลงอีกครั้ง สะท้อนจากเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจแทบทุกด้านของเดือนเม.ย.อยู่ในทิศทางขาลง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่หดตัวในทุกหมวดการใช้จ่าย ทั้งสินค้าคงทน สินค้าไม่คงทน และการบริการ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น การปิดกิจการบางประเภท อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงมาก แม้ในไตรมาสนี้จะมีเม็ดเงินพยุงเศรษฐกิจจากมาตรการของภาครัฐวงเงินถึง 1.5 แสนล้านบาทก็ตาม แต่ยังมีสัญญาณการบริโภคภาคเอกชนที่สะดุดลงสอดคล้องกับข้อมูล Google Mobility ด้านกิจกรรมค้าปลีกและกิจกรรมด้านภาคบริการที่ปรับลงต่ำสุดในกลางเดือนพ.ค. 64 โดยปรับลดมากกว่าช่วงการระบาดในรอบสอง
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 คาดว่ามีแนวโน้มดีขึ้นตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีน โดยล่าสุดภาครัฐตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 10 ล้านโดสต่อเดือน ตั้งแต่กรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งครอบคลุมประชากรที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มจำนวน 50 ล้านคนภายในต้นเดือนตุลาคม พร้อมกับตั้งเป้าเปิดประเทศเต็มรูปแบบภายใน 120 วัน คู่ขนานไปกับมีมาตรการเยียวยาต่อเนื่องซึ่งมีผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธ.ค. 64 นี้ โดยมีการขยายโครงการเดิม อาทิ คนละครึ่งเฟส 3 การเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 3 และโครงการใหม่ยิ่งใช้ยิ่งได้ ในรูปแบบ e-voucher cash back รวมเป็นวงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับครึ่งปีแรก มาตรการเยียวยาในปี 2564 จะมีวงเงินอยู่ที่ 4.8 แสนล้านบาท (คิดเป็น 3% ของ GDP) ซึ่งสูงกว่ามาตรการเยียวยาโควิดในรอบแรกที่มีวงเงิน 3.75 แสนล้านบาท
โดยเม็ดเงินจากมาตรการเยียวยาจะกระจายไปสู่การบริโภคภาคเอกชน ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายการซื้อสินค้าไม่คงทนและภาคบริการ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชน ประกอบด้วยการใช้จ่ายในหมวด 1) สินค้าคงทน (สัดส่วน 10%) เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 2) สินค้าไม่คงทนและกึ่งคงทน (สัดส่วน 50%) ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า และ 3) ภาคบริการ (สัดส่วน 40%) ได้แก่ การท่องเที่ยวและโรงแรม การบริการขนส่ง
สำหรับแนวโน้มการใช้จ่ายของแต่ละหมวดในช่วงที่เหลือของปี 64 คาดว่ามาตรการเยียวยาวงเงิน 1.2 แสนล้านบาท จะช่วยหนุนการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการใช้จ่ายในภาคบริการ มีแนวโน้มเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับควบคุมได้มากขึ้น และการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับที่ประชาชนมีความมั่นใจสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ ภาครัฐสามารถทยอยปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ จนนำไปสู่การเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเข้ามามากขึ้นในไตรมาส 4/64 นี้ โดย ttb analytics คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 64 อยู่ที่ 4 แสนคน
นอกจากนี้ การท่องเที่ยวภายในประเทศจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น และมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศ อาทิ เราเที่ยวด้วยกันเฟส 3 ทัวร์เที่ยวไทย ทำให้ไทยเที่ยวไทยยังคงตอบโจทย์นักท่องเที่ยวไทยได้
สำหรับหมวดการใช้จ่ายสินค้าคงทน มีทิศทางดีขึ้น โดยเฉพาะดีมานด์รถยนต์จะคาดว่าเริ่มทยอยกลับมาสู่ระดับเดียวกับไตรมาส 4/63 ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มปรับดีขึ้นและหนุนด้วยรายได้ภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี และแนวโน้มภาคการส่งออกที่มีทิศทางดีขึ้น นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดรอบสาม อาทิ การพักชำระเงินต้น พักชำระดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาจ่ายหนี้ รวมถึงการปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ เป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงการบริโภคให้ฟื้นตัวได้
จากปัจจัยข้างต้นทั้งความคืบหน้าการฉีดวัคซีน มาตรการเยียวยา และไทม์ไลน์การปลดล็อกของประเทศภายในไตรมาส 4/64 นี้ หนุนให้การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวได้ 2.0% จากเดิมที่คาดการณ์ 1.6% ในช่วงเริ่มต้นการระบาดรอบสาม และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.4% ในปี 65
BANPU รุกลงทุนโครงการแบตเตอรี่ในออสเตรเลีย 350 เมกะวัตต์
TMAN เข้าคำนวณดัชนี sSET ตอกย้ำ! พื้นฐานแกร่ง - RT รุกชิงงานใหม่ 7,500 ล.
CPALL ออกหุ้นกู้ใหม่สำเร็จตามเป้า 1.5 หมื่นลบ.
SO รุก Outsourcing อัพรายได้โต 20%
RT ตั้งเป้าประมูลงานใหม่ 7,500 ล้านบาท
GUNKUL รุกลงทุน 'พลังงานสีเขียว' - READY ยกระดับธุรกิจยุคใหม่ใช้ MarTech