Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
MAI
TPS เปิดแผนครึ่งปีหลัง นำ AI ยกระดับบริการไอที
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
ออร์บิกซ์ คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
LH Bank รุกกลุ่มลูกค้าไต้หวัน-ตปท. อัดโปรฯโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
TTB ชวนลูกค้าต่อยอดความมั่งคั่ง เสริมความแกร่งให้พอร์ตการลงทุน
Gossip
SM ปล่อยหมัดเด็ดอัพยอดขายครึ่งปีหลัง
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
EXIM BANK แนะSMEs ไทยรุกตลาดส่งออก
2021-06-23 16:00:06
386
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - EXIM BANK เปิดเวทีระดมสมอง ชี้ทางรอด SMEs ไทยต้องรุกตลาดส่งออก พร้อมเปิดบริการใหม่ “สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจครบวงจร” เสริมสภาพคล่องต้นน้ำถึงปลายน้ำ
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวเปิดงาน “EX1M Solution Forum” Ep. 1 หัวข้อ “อนาคต SMEs ไทยเติบโตสู่ Supply Chain โลก” ซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนที่สนใจ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.64 ว่า นับเป็นครั้งแรกของการเปิดเวทีระดมสมอง เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขในการขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
โดยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งมี SMEs เป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ แต่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและภาคส่งออกไทยไปข้างหน้าได้ดีมากเท่าที่ควร ทางออกหรืออาจจะเป็นทางรอดของปัญหา ได้แก่ การทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินอย่าง EXIM BANK และภาคธุรกิจเพื่อสร้าง Supply Chain ที่แข็งแรง ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถสนับสนุนและเสริมความแข็งแรงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน โดยมีเครื่องมือทางการเงินและการบริหารความเสี่ยงเป็นกลไกช่วยให้ทุกภาคส่วนดำเนินธุรกิจไปได้อย่างไม่ติดขัด แม้จะได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นระลอกทั่วโลก
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวในหัวข้อ “อนาคต SMEs ไทยเติบโตสู่ Supply Chain โลก” ว่า ในการแก้ปัญหา “ความย้อนแย้ง” ในเชิงโครงสร้างของ SMEs ไทย โดยเฉพาะการที่ SMEs ไทยมีจำนวนมากถึง 3.1 ล้านรายหรือ 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งระบบ แต่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจเพียง 35% ของ GDP รวมเท่านั้น สาเหตุสำคัญมาจาก SMEs ไทยส่วนใหญ่ค้าขายภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ผู้ส่งออก SMEs มีจำนวนไม่ถึง 1% ของ SMEs ทั้งระบบ ซึ่งการขยายตลาดภายในประเทศมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น เศรษฐกิจไทยโตต่ำ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเพียง 2% ตลาดมีขนาดไม่ใหญ่ จำนวนประชากรเพียง 66 ล้านคน ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากถึง 18% ของประชากรรวม
โดยทางรอดของ SMEs ไทยจึงได้แก่ การเข้าไปเชื่อมโยงในวงจรการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำได้ 2 แนวทาง โดยแนวทางแรก คือ การยกระดับไปเป็นผู้ส่งออก ซึ่งแนวทางนี้อาจต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาองค์ความรู้และเสริมประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ส่วนแนวทางที่สอง สามารถทำได้ทันที ได้แก่ การสนับสนุนให้ SMEs เข้าไปอยู่ใน Supply Chain ของผู้ส่งออก โดยให้ธุรกิจส่งออกที่มีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ Supply Chain ค้ำจุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีโอกาสขายสินค้าเพิ่มมากขึ้นและยาวนานภายใต้ Supply Chain ที่แข็งแรงดังกล่าว ซึ่งคาดว่าปัจจุบันมี SMEs ไทยจำนวนไม่น้อยเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ผู้ส่งออกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากภาคส่งออกไทยพึ่งพาวัตถุดิบในประเทศ (Local Content) ถึงเกือบ 70% ของมูลค่าส่งออกรวม
นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ Global Supply Chain เปลี่ยนไปในหลายมิติและทุกขั้นตอน ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งและกระจายสินค้า การขาย และตัวสินค้า รูปโฉมการค้าเปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบจากแหล่งใกล้ ๆ มากขึ้น มีการนำระบบ Automation มาใช้มากขึ้นเพื่อลดการสื่อสารระหว่างแรงงานในกระบวนการผลิต ต้องวางแผนขนส่งหลากหลายช่องทาง รวมทั้งทำประกันและปรับเทอมการค้าให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การขายสินค้าใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น และสินค้าต้องสอดรับกับเทรนด์ใหม่ ๆ ของโลก มีความโดดเด่นน่าจดจำ เพื่อสร้างการจดจำและความจงรักภักดีต่อแบรนด์
ทั้งนี้ จากนโยบาย Dual-track Policy ได้แก่ การสนับสนุนผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการให้บริการครบวงจรเพื่อพัฒนา SMEs ให้เป็นผู้ส่งออกมืออาชีพ EXIM BANK จึงพร้อมสนับสนุน SMEs ไทยให้เข้าสู่หรือเชื่อมโยงกับ Supply Chain ในวงจรการค้าระหว่างประเทศ ด้วยบริการใหม่ “สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจครบวงจร (EXIM Supply Chain Financing Solution)” เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ SMEs ที่เป็น Suppliers ของผู้ประกอบการรายใหญ่ (Sponsor) โดยไม่ต้องใช้หลักประกันเพิ่ม สามารถนำ Invoice มาใช้ยื่นขอสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษผ่าน Digital Platform ได้ วงเงินกู้สูงสุด 25% ของยอดขายรวมปีล่าสุด โดยอ้างอิงบนเครดิตที่แข็งแรงของ Sponsor บริการดังกล่าวช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง มีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกรรมทางออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ธนาคาร ขณะที่ Sponsor ซึ่งเป็นลูกค้า EXIM BANK จะได้รับเครดิตเทอมเพิ่มจากคู่ค้าที่เป็น SMEs และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่แน่นแฟ้นระหว่างกัน เป็นประโยชน์ในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคตข้างหน้า
“การฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจไทยต้องเริ่มต้นที่ฐานราก กล่าวคือ การพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีแรงขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านเงินทุนและอำนาจต่อรอง โดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสะพานเชื่อมไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การเติบโตร่วมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและการขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการรายย่อย กระตุ้นให้เกิดการค้าและธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเพื่อความสะดวกรวดเร็วแก่ภาคธุรกิจและผู้บริโภค ตลอดจนเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยตลอดทั้ง Supply Chain เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความแข็งแกร่งและพร้อมเริ่มต้นกับโอกาสครั้งใหม่หลังวิกฤตโควิด-19” ดร.รักษ์กล่าว
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่