Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
KBANK เปิดบริการสแกนจ่าย QR ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน - ADVANC โบรกฯ เคาะเป้า 315 บ.
MAI
MPJ รุกเปิดพื้นที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ 'ลาดกระบัง-แหลมฉบัง'
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 4 หุ้นหลบภัยตลาดหุ้นดิ่ง
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
LH Bank รุกกลุ่มลูกค้าไต้หวัน-ตปท. อัดโปรฯโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM จัดประมูล ‘Clearance Sale’ ครั้งใหญ่แห่งปี ลดสูงสุดกว่า 50%
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
EXIM BANK จับมือพันธมิตร ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจสู่ตลาดใหม่
Gossip
COCOCO ลุยรับซื้อมะพร้าวแปรรูปในประเทศ
Entertainment
ศุภาลัย กับ “ความเชื่อมั่น”
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
AMR ไอพีโอน้องใหม่อัพไซด์เพียบ 3กูรูเคาะเป้า8-8.70 บาท
2021-08-03 13:20:32
383
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - AMR ไอพีโอป้ายแดงผู้เชี่ยวชาญระบบคมนาคมขนส่งและเมืองอัจฉริยะ หุ้นมีอัพไซด์เพียบ เปรียบเทียบจากราคา Fair Value ปี 64 ที่ 3 โบรกเกอร์ดังประเมินเอาไว้ในช่วง 8.00-8.70 บาท ส่วนปี 65 อยู่ที่ 9.70-9.76 บาท พร้อมประเมินผลงานเติบโตแบบก้าวกระโดดตามเมกะเทรนด์ ทั้งงานด้านคมนาคมในระบบรางที่มีเม็ดเงินลงทุนมหาศาล
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เผยแพร่บทวิเคราะห์หุ้น บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMR โดยระบุว่าเป็นหุ้นที่ตอบรับโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 เนื่องจาก AMR ประกอบธุรกิจด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น (System Integrator) แบบครบวงจร ซึ่งหากพิจารณาจากงานในอดีตและงานในมือกลุ่มลูกค้าของ AMR จะเน้นไปที่งานวางระบบคมนาคมขนส่ง (Transportation Solution: TS) โดยในปี 2563 รายได้จากงานประเภท TS คิดเป็นราว 65.5% ของรายได้รวม และรายได้จากงานวางระบบไอซีทีและซิสเต็มส์โซลูชั่น (ICT and System Solution: ISS) ในปี 2563 คิดเป็นราว 23.7% ของรายได้รวมจะเห็นว่าโครงสร้างธุรกิจของ AMR สอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561 - 2580 ของภาครัฐ
ประเด็นถัดมาคือ รายได้ประมาณ 70% ของ AMR เป็นรายได้จากงานประเภท TS อาทิ ระบบเดินรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบในการดําเนินงานและงานซ่อมบํารุง ฯลฯ ซึ่งอิงไปกับการพัฒนาระบบรางและระบบคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ดังนั้น แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โดยเฉพาะงานระบบราง (รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล ฯลฯ) ที่คาดว่าจะมีมูลค่าลงทุนราว 1.7 ล้านล้านบาท จากประวัติการทํางานในอดีต (Track record) ทําให้คาดว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โดยเฉพาะระบบราง จะเป็นอีกปัจจัยสําคัญที่หนุนผลการดําเนินงานของธุรกิจ IT Solution อย่าง AMR ด้วย
นอกเหนือจาก Backlog ในมือ AMR ยังมีงานรอประมูลอีกราว 8 พันล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะทําให้รายได้เติบโต +7% CAGR (2563 - 66) อย่างไรก็ดี ทางบริษัทได้คํานึงถึงความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากการประมูลงานโครงการ จึงวางเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากงานประเภทงานให้บริการดูแลรักษาและซ่อมบํารุง หรือ Maintenance Agreement (MA) ภายในปี 2565 ซึ่งงานประเภท MA จะเป็นรายได้ประเภท Recurring income ที่ต่อเนื่องและมีอัตรากําไรขั้นต้นที่สูง
ฝ่ายวิเคราะห์ฯได้ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมปี 2564 ได้เท่ากับ 8.7 บาท อิง PE 30 เท่า โดย Discount -14% จากค่าเฉลี่ย Forward PE ของหุ้นกลุ่ม Business Solution ที่เน้นงานด้านเทคโนโลยีที่ 35 เท่า
ด้าน บล. ทรีนิตี้ จำกัด ได้ประเมินเกี่ยวกับ AMR ว่ามี Fair Value ปี 2564 เท่ากับ 8.58 บาทต่อหุ้น และปี 2565 เท่ากับ 9.76 บาทต่อหุ้น อ้างอิงวิธี PE ที่ 26 เท่า ซึ่งเป็นระดับ Conservative ปรับลดจากค่า P/E เฉลี่ยย้อนหลังของบริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันที่จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศที่ราว 32 เท่า คำนวณบน EPS ปี 2564 ที่ 0.33 บาทต่อหุ้น และปี 2565 ที่ 0.38 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ โดยยังไม่รวม Upside จากแผนการใช้เงินที่ได้จากการ IPO เพื่อลงทุนต่อยอดธุรกิจในประมาณการ
โดยระบุว่า ความน่าสนใจในการลงทุน AMR มาจากทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในธุรกิจมากกว่า 20 ปี เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น (SI) สัญญาติไทยรายเดียวที่มี Track Record ด้านงาน Turnkey ระบบเดินรถไฟฟ้าระดับเมกะโปรเจคของประเทศ
พร้อมทั้งประมาณการว่า AMR จะมีรายได้และกำไรต่อเนื่อง จากงานในมือที่ทยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสประมูลงานใหม่ คาดการณ์ Backlog และโอกาสคว้างานประมูลเพิ่ม ในช่วงปี 2564-2566 กว่า 8,000 ล้านบาท ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบกับการขยายฐานรายได้งานบำรุงรักษา (MA) ซึ่งเป็นรายได้ประจำต่อเนื่อง เพื่อกระจายความเสี่ยงจากงานโครงการและเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่ คาดรายได้รวมเติบโต (CAGR) ปี 2563-2566 ราว 8.3% ต่อปีและคาดกำไรสุทธิปี 2563-2566 เติบโตราว 7.4% ต่อปี โดยบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นปี 2562-2563 อยู่ที่ 18.3% และ 20.6% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ฐานะการเงินของ AMR ยังแข็งแกร่ง ก่อนการ IPO บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุนในระดับต่ำเพียง 0.01 เท่า โดยมีสถานะเป็น Net Cash มีเงินสดในมือสูง และมีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายการจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 40%
ขณะที่ บล. เอเซีย พลัส ระบุว่าภายใต้จุดแข็งด้านวิจัยพัฒนาสินค้า และบริการตรงตามความต้องการลูกค้า ทำให้ AMR ได้รับงานจากผู้ให้บริการระบบรางหลักของประเทศเสมอ จึงพร้อมเติบโตไปกับเม็ดเงินลงทุนระบบรางมหาศาลรัฐฯ รวมถึงงานไอซีทีเป้าหมายที่เป็นพื้นฐานระบบ Smart Cities ใน 2-3 ปีจากนี้ ประเมินกว่าปีละ 3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เงิน IPO จะใช้รองรับปริมาณงานที่เข้ามาในอนาคต และลงทุนเป็นผู้ให้บริการระบบรางสายรอง (Feeder Line) และ Smart Cities ภายใต้สมมติฐานไม่รวมการลงทุนในโครงการให้บริการดังกล่าวที่นำเงิน IPO มาใช้อยู่ในราคา Fair Value คาดกำไรปี 2564-66 เติบโตเฉลี่ยปีละ 16.8% มูลค่าหุ้นปี 2564 อิง PER 25 เท่า อยู่ที่ 8.0 บาท ส่วนปี 2565 จะเพิ่มเป็น 9.70 บาท
ด้านนายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ AMR กล่าวว่า ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2564 บริษัทฯ มีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) เรียบร้อยแล้ว ราว 1.4 พันล้านบาท และครึ่งปีหลังยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างยื่นประมูลงานเพิ่มอีกหลายโครงการในปีนี้ บริษัทคาดรับรู้อัตรากำไรปีนี้ปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม โดยในแต่ละปีคาดว่าจะได้งานใหม่เข้ามาเติมพอร์ตไม่น้อยกว่าปีละ 2 พันล้านบาท ซึ่งจะหนุนให้บริษัทมีการเติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับบริษัทอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้ประจำ อาทิเช่น Feeder Line – Smart City – EV Charging Station จากเงิน IPO เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในอนาคตอันใกล้นี้
KBANK เปิดบริการสแกนจ่าย QR ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน - ADVANC โบรกฯ เคาะเป้า 315 บ.
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก