Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
MAI
TPS เปิดแผนครึ่งปีหลัง นำ AI ยกระดับบริการไอที
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
ออร์บิกซ์ คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
LH Bank รุกกลุ่มลูกค้าไต้หวัน-ตปท. อัดโปรฯโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
TTB ชวนลูกค้าต่อยอดความมั่งคั่ง เสริมความแกร่งให้พอร์ตการลงทุน
Gossip
SM ปล่อยหมัดเด็ดอัพยอดขายครึ่งปีหลัง
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
BAY อวดกำไร9เดือน2.7หมื่นล. คอนเฟิร์มเป้าสินเชื่อโต3-5%
2021-10-20 20:16:41
299
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – BAY เผยผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 64 มีกำไรสุทธิ 27,409 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าดันสินเชื่อ SME และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เติบโตต่อเนื่อง หวังช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านหลายมาตรการเชิงรุก
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY เปิดเผยว่า ผลประกอบการของธนาคารในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 กำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติลดลง 2.2% หรือจำนวน 431 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อหลายครั้งเพื่อบรรเทาภาระหนี้ของลูกค้า และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อลูกหนี้รายย่อย
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกำไรพิเศษจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นใน บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) ในไตรมาส 2/64 ส่งผลให้ธนาคารมีกำไรสุทธิงวด 9 เดือนแรกของปี 64 อยู่ที่จำนวน 27,409 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.5% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ในส่วนของเงินให้สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น 1.2% หรือจำนวน 21,294 ล้านบาท จากสิ้นปี 63 ซึ่งเกิดจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของสินเชื่อ SME และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ 4.4% และ 4.2% ตามลำดับ สะท้อนความมุ่งมั่น และทุ่มเทของกรุงศรีในการช่วยเหลือลูกค้าผ่านหลายมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบ
ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.23% ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่อยู่ในระดับ 3.63% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อหลายครั้ง และการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อลูกหนี้รายย่อย ในส่วนของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 12,104 ล้านบาท หรือ 50.5% จากเดียวกันกับปีก่อน โดยปัจจัยหลักมาจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นเงินติดล้อ
ทางด้านอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 42.1% ในไตรมาส 3/64 จาก 43.0% ในไตรมาส 2/64 โดยเกิดจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของธนาคารท่ามกลางปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ และอยู่ที่ 43.0% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 เมื่อเทียบกับ 41.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ 2.27% ณ สิ้นเดือนก.ย.64
ขณะที่อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ธนาคารยังคงรักษาระดับการตั้งเงินสำรองอย่างรอบคอบระมัดระวัง เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงทำให้อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 177.5% ณ สิ้นเดือนก.ย.64 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 18.46% จาก 17.92% ณ สิ้นเดือนธ.ค.63
ทั้งนี้ การเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความทุ่มเทของกรุงศรีในการสนับสนุนลูกค้าผ่านหลายมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบ อาทิ การสนับสนุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจ และการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะเผชิญความเปราะบางที่เพิ่มขึ้น แต่การเร่งฉีดวัคซีนทั่วประเทศที่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคในช่วงต้นไตรมาส 4/64 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความต้องการสินเชื่อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 64 ธนาคารจึงคงเป้าหมายการเติบโตของเงินให้สินเชื่อในปีนี้ ในกรอบล่างของ 3-5%
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่