Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
MAI
TPS เปิดแผนครึ่งปีหลัง นำ AI ยกระดับบริการไอที
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
ออร์บิกซ์ คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
LH Bank รุกกลุ่มลูกค้าไต้หวัน-ตปท. อัดโปรฯโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
TTB ชวนลูกค้าต่อยอดความมั่งคั่ง เสริมความแกร่งให้พอร์ตการลงทุน
Gossip
SM ปล่อยหมัดเด็ดอัพยอดขายครึ่งปีหลัง
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
KBANK งบ9เดือนปี64 กำไรสุทธิ2.8หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น73%
2021-10-21 08:55:20
297
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ 9 เดือน ปี 2564 กำไร 28,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73.47% จากการตั้งสำรองลดลงจากปีก่อน 28.28% อยู่ที่ 3.07 หมื่นล้านบาท ขณะที่งวดไตรมาส 3/64 กำไรสุทธิทำได้ 8.6 พันล้านบาท
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2564 ได้รับผลกระทบมากขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาดที่มีความเข้มงวดในหลายพื้นที่ โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศบางส่วนเผชิญภาวะหยุดชะงัก ขณะที่การส่งออกสินค้าขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในต่างประเทศ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยอาจมีแนวโน้มทยอยฟื้นกลับมาได้บางส่วนในไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2564 จำนวน 28,151 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 3 ปี 2564 จำนวน 8,631 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2564 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 28,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 11,922 ล้านบาท หรือ 73.47% หลักๆ เกิดจากในงวด 9 เดือนปี 64 ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) ลดลง 28.28% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่ได้ตั้งสำรองฯ ในระดับที่สูงถึง 42,879 ล้านบาท ภายใต้หลักความระมัดระวัง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวจากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากมาตรการของทางการที่ให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องติดตามดูแลคุณภาพหนี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงการปล่อยสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ลูกค้า โดยธนาคารและบริษัทย่อยจึงได้พิจารณาตั้งสำรองฯ ในงวด 9 เดือนของปีนี้รวมทั้งสิ้น 30,752 ล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นระดับสำรองฯ ภายใต้หลักความระมัดระวัง
ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้สำหรับงวด 9 เดือนปี 64 มีจำนวน 70,259 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 4,003 ล้านบาท หรือ 6.04% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 6,171 ล้านบาท หรือ 7.49% สอดคล้องกับการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ แม้ว่าธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดภาระทางการเงินของลูกค้า โดยอัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่ออยู่ที่ 8.87% ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าที่มีศักยภาพ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติ
ในส่วนของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่ลดลง เกิดจากการบริหารต้นทุนทางการเงินให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.21% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 1,326 ล้านบาท หรือ 3.95% ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาด และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยที่ลดลง แม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 1,864 ล้านบาท หรือ 7.55% หลัก ๆ จากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน และค่านายหน้ารับจากการซื้อขายหลักทรัพย์ สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 842 ล้านบาท หรือ 1.69% เกิดจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน และค่าใช้จ่ายจากโครงการที่ธนาคารช่วยบรรเทาภาระของลูกค้าในช่วงที่มีมาตรการควบคุมการระบาด โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 41.85%
สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 ปี 64 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 8,631 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 263 ล้านบาท หรือ 2.96% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 1,024 ล้านบาท หรือ 3.45% หลัก ๆ จากการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.23% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 1,936 ล้านบาท หรือ 17.38% ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ของสินทรัพย์ทางการเงินซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาด สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ลดลงเล็กน้อยจำนวน 104 ล้านบาท หรือ 0.61% จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.47% นอกจากนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) เพิ่มขึ้นจำนวน 489 ล้านบาท หรือ 4.53% จากไตรมาสก่อน
ณ วันที่ 30 ก.ย. 64 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม 4,029,831 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 63 จำนวน 371,033 ล้านบาท หรือ 10.14% ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ และการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิ สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.85% โดยธนาคารมีการติดตามดูแลคุณภาพเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด ขณะที่สิ้นปี 63 อยู่ที่ระดับ 3.93% อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ที่ระดับ 156.96% โดยสิ้นปี 63 อยู่ที่ระดับ 149.19% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 ก.ย. 64 อยู่ที่ 18.82% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่1 อยู่ที่ 16.53%
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่