Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BA ตั้งกองทรัสต์ ‘BAREIT’ มูลค่าไม่เกิน1.4หมื่นล.
MAI
TVD เร่งปรับโครงสร้างบริษัท จัดตั้ง‘เอ็กซ์เพรสโซ่’
IPO
ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง CH เดินหน้าระดมทุน160ล้านหุ้น เข้าSET
บล./บลจ
KTB ปลื้มยอดจองซื้อ ‘Krungthai Inverse Floater’ เกือบ 5 พันล.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการจีดีพีเพิ่มเป็น 2.9%
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์เผยส่งออกเดือนพ.ค.65 มูลค่า25,509 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น10.5%
พลังงาน - อุตสาหกรรม
UBE Group ปิดดีลซื้อ 'อุบลแสงอาทิตย์' รุกโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO จับมือ "เน็กซเตอร์ เวนเจอร์ส" Start up ในเครือปูนซิเมต์ไทย
แบงก์ - นอนแบงก์
AWC ผนึก KBANK ส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SINGER ไม่หวั่นสคบ.คุมดอกเบี้ยเช่าซื้อ ดันธุรกิจโตตามเป้า
SMEs - Startup
SCB 10X เปิดเวที Virtual Summit “REDeFiNE TOMORROW 2022”
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยพาณิชย์ โพรเทค ผนึก มทร. ปูทางอาชีพให้คนรุ่นใหม่
รถยนต์
กลางปีนี้ มีเฮ! ACG ร่วมกับ “ออโตคลิก” จัดใหญ่ จัดเต็ม
ท่องเที่ยว
ttb analytics มองไทยเที่ยวไทยครึ่งปีหลังสดใส คาดทั้งปีโต 161.7%
อสังหาริมทรัพย์
“เอพี ไทยแลนด์” รุกตลาดทาวน์โฮม เปิด29โครงการ มูลค่า 25,200 ล้าน
การตลาด
FN จับมือ แสงทองซูเปอร์เซ็นเตอร์ เปิดซูเปอร์มาร์เก็ตใหม่
CSR
SCB 10X เปิดเวที Virtual Summit “REDeFiNE TOMORROW 2022”
Information
CHAYO ลงนามซื้อหนี้มีหลักประกันจากทีเอ็มบีธนชาต มูลค่า 637.90 ล้านบาท
Gossip
TSR ผนึกกำลัง! จัดอบรมทีม "SABUYTECH"
Entertainment
KX ตอกย้ำความสำเร็จยอดขาย NFT ของ Coral
สกุ๊ป พิเศษ
SEAFCO ทยอยนำเข้าแรงงาน เพิ่มโอกาสผลงาน'เทิร์นอะราวด์'
EIC ขยับเป้าจีดีพีปี 65 เป็น 2.9% ‘ท่องเที่ยว-บริการ’ รับบทพระเอก
2022-06-14 18:08:40
1980
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - EIC ปรับเพิ่มจีดีพีของไทยในปี 65 เติบโตที่ 2.9% จากเดิม 2.7% รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและบริการหลังเปิดประเทศ ขณะที่ภาคเกษตรได้อานิสงส์จากราคาอาหารโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เพิ่มแรงส่งอุปสงค์ในประเทศ แต่เงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงสุดในรอบ 24 ปี และการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว เป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทย
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ดร. สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า EIC ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 65 ขึ้นเป็น 2.9% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.7% ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและภาคบริการ ผ่านการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวของไทยและการผ่อนคลายมาตรการผ่านแดนในหลายประเทศทั่วโลก โดย EIC ประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวม 7.4 ล้านคนในปีนี้ จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 5.7 ล้านคน ซึ่งกิจกรรมในภาคบริการในประเทศยังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากการกลับออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ตามอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ
นอกจากนี้ ภาคเกษตรจะมีส่วนช่วยสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ โดยผลผลิตภาคการเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวตามทิศทางราคาอาหารโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทานที่ถูกกระทบจากสงครามในยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในประเทศที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและบริการซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญ รายได้ภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) จากกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ จะยังมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงสุดในรอบ 24 ปี
ทั้งนี้ EIC คาดว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงถึง 5.9% เฉลี่ยทั้งปี 65 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 4.9% ท่ามกลางการทยอยลดมาตรการอุดหนุนค่าครองชีพของภาครัฐ จะกดดันกำลังซื้อและการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงชะลอการลงทุนในภาคธุรกิจลง โดย EIC วิเคราะห์ว่ารายได้ภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเติบโตช้าตามตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จะเป็นข้อจำกัดต่อความสามารถในการรับมือกับค่าครองชีพที่เร่งตัวสูงในปีนี้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายอยู่แล้ว ซึ่งมีจำนวนถึงกว่า 7 ล้านครัวเรือนหรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด ที่ปัญหาเงินเฟ้อสูงในปีนี้จะส่งผลซ้ำเติมทำให้สถานะทางการเงินถดถอยลง ทั้งจากสภาพคล่องที่ลดลงและหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากครัวเรือนบางส่วนที่ต้องกู้มาใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายได้ที่ไม่เพียงพอ ถือเป็นความเปราะบางของภาคครัวเรือนไทยที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ภาคธุรกิจจะประสบปัญหาจากภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งยังสามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้จำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็น (discretionary)
ด้านนโยบายการเงิน EIC คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 0.75% ในไตรมาส 3/65 จากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงและเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นหลังเปิดประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพราคาและชะลอการเร่งตัวของเงินเฟ้อคาดการณ์ที่เริ่มปรับสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะสั้น (1 ปีข้างหน้า) ของครัวเรือนปรับมาอยู่ที่ 3.1% ในเดือนพ.ค.65 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทย (อัตราดอกเบี้ยหลังหักเงินเฟ้อ) ในปัจจุบันยังติดลบและอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลออกจากไทยและเงินบาทมีโอกาสปรับอ่อนค่าลง
ทั้งนี้ การลดระดับการผ่อนคลายสูงของนโยบายการเงิน (ultra-easy monetary policy) จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบางและมีแผลเป็นจากวิกฤตโควิด ทั้งการว่างงาน รายได้ที่ฟื้นตัวช้า และภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง
สำหรับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ต้นปี 65 จนถึงวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าลงราว 3.6% ซึ่งเป็นการอ่อนค่าในทิศทางเดียวกันและใกล้เคียงกับสกุลอื่นในภูมิภาค EIC มองว่า ในระยะสั้นค่าเงินบาทจะยังเผชิญแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และความเสี่ยงของภาวะสงคราม ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าอยู่ในกรอบ 34.5-35.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายปี 65 จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น และดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะปรับดีขึ้นตามดุลภาคบริการ โดย ณ สิ้นปี 65 EIC คาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วง 33.5-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ในภาพรวม EIC ประเมินว่าแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจะมาจากภาคท่องเที่ยวและภาคบริการเพิ่มมากขึ้นแทนที่ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ตามการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค แต่การฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศจะยังมีแรงต้านจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเร็วและจะยืนอยู่ในระดับสูงตลอดช่วงปีนี้ท่ามกลางข้อจำกัดด้านมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เดิม ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยระดับ GDP รายปีจะยังไม่กลับไปเท่าระดับของปี 62 จนกระทั่งไตรมาส 3/66
นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยจะยังเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำที่สำคัญในระยะต่อไป ได้แก่ (1) ภาวะสงครามที่ยังยืดเยื้อส่งผลให้ราคาพลังงานและโภคภัณฑ์ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง (2) การชะงักงันของอุปทานในภาคการผลิตและขนส่งจากนโยบาย Zero Covid ในจีนที่อาจส่งผลให้มีการล็อกดาวน์เพิ่มเติม (3) การแบ่งแยกห่วงโซ่อุปทาน (supply chain decoupling/fragmentation) เป็นสองขั้วเศรษฐกิจจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ จะลดประสิทธิภาพและเพิ่มต้นทุนด้านการค้าและการลงทุนในภาคการผลิต (4) ผลของแผลเป็นเศรษฐกิจที่ถูกซ้ำเติมจากผลกระทบด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้น จนอาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ในวงกว้าง และ (5) มาตรการช่วยเหลือ และสนับสนุนจากภาครัฐที่ทยอยลดลงทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดค่าครองชีพโดยเฉพาะด้านพลังงาน
BA ตั้งกองทรัสต์ ‘BAREIT’ มูลค่าไม่เกิน1.4หมื่นล.
ADVANC ควัก3.2หมื่นล. เข้าซื้อ'หุ้น+หน่วยลงทุน' จาก JAS - UBE เทกฯ กิจการ 'อุบลแสงอาทิตย์'
ADVANC อัดเงิน 3.24 หมื่นลบ. ซื้อTTTBB-JASIFจากกลุ่ม JAS
CHAYO พอร์ตหนี้แตะ7.4หมื่นล. - GL เฮ! ดีเอสไอไม่ฟ้องอาญา
GLเฮ DSI ไม่ฟ้องคดีอาญาบริษัท-อดีตกรรมการ
AQUA ซื้อหุ้น"ไทยพาร์เซิล" รุกวงการโลจิสติกส์ - EAส่งลูกเพิ่มทุนBYD