Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
BA ตั้งกองทรัสต์ ‘BAREIT’ มูลค่าไม่เกิน1.4หมื่นล.
MAI
TVD เร่งปรับโครงสร้างบริษัท จัดตั้ง‘เอ็กซ์เพรสโซ่’
IPO
ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง CH เดินหน้าระดมทุน160ล้านหุ้น เข้าSET
บล./บลจ
KTB ปลื้มยอดจองซื้อ ‘Krungthai Inverse Floater’ เกือบ 5 พันล.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการจีดีพีเพิ่มเป็น 2.9%
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์เผยส่งออกเดือนพ.ค.65 มูลค่า25,509 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น10.5%
พลังงาน - อุตสาหกรรม
UBE Group ปิดดีลซื้อ 'อุบลแสงอาทิตย์' รุกโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ
คมนาคม - โลจิสติกส์
LEO จับมือ "เน็กซเตอร์ เวนเจอร์ส" Start up ในเครือปูนซิเมต์ไทย
แบงก์ - นอนแบงก์
AWC ผนึก KBANK ส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SINGER ไม่หวั่นสคบ.คุมดอกเบี้ยเช่าซื้อ ดันธุรกิจโตตามเป้า
SMEs - Startup
SCB 10X เปิดเวที Virtual Summit “REDeFiNE TOMORROW 2022”
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยพาณิชย์ โพรเทค ผนึก มทร. ปูทางอาชีพให้คนรุ่นใหม่
รถยนต์
กลางปีนี้ มีเฮ! ACG ร่วมกับ “ออโตคลิก” จัดใหญ่ จัดเต็ม
ท่องเที่ยว
ttb analytics มองไทยเที่ยวไทยครึ่งปีหลังสดใส คาดทั้งปีโต 161.7%
อสังหาริมทรัพย์
“เอพี ไทยแลนด์” รุกตลาดทาวน์โฮม เปิด29โครงการ มูลค่า 25,200 ล้าน
การตลาด
FN จับมือ แสงทองซูเปอร์เซ็นเตอร์ เปิดซูเปอร์มาร์เก็ตใหม่
CSR
SCB 10X เปิดเวที Virtual Summit “REDeFiNE TOMORROW 2022”
Information
CHAYO ลงนามซื้อหนี้มีหลักประกันจากทีเอ็มบีธนชาต มูลค่า 637.90 ล้านบาท
Gossip
TSR ผนึกกำลัง! จัดอบรมทีม "SABUYTECH"
Entertainment
KX ตอกย้ำความสำเร็จยอดขาย NFT ของ Coral
สกุ๊ป พิเศษ
SEAFCO ทยอยนำเข้าแรงงาน เพิ่มโอกาสผลงาน'เทิร์นอะราวด์'
KTB ชี้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนโตรับ BCG economy
2022-06-21 17:08:28
323
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ ขนาดเล็กมาก มีแนวโน้มเติบโตจากการสนับสนุนของภาครัฐและตามกระแส BCG economy จะสร้างโอกาสการลงทุนแก่วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า หรือกลุ่มที่มีวัสดุเหลือใช้
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ มีทิศทางขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากภายหลังการประชุม COP 26 ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นอกจากนี้ วิกฤตพลังงานในปัจจุบันที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ทำให้หลายประเทศรวมถึงไทยมีความกังวลด้านความมั่นคง และราคาพลังงาน โดยเร่งทบทวนแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อทดแทนไฟฟ้าที่ผลิตจากฟอสซิล อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในปี 64 ทั่วโลกมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะที่ 1.4 แสนเมกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้มาจากเอเชียมากที่สุดราว 39% ของกำลังการผลิตของโลก และในช่วงปี 64-68 กำลังการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโต 5.7%ต่อปี
“วิกฤตพลังงานโลกที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ จะกดดันให้ราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นต้นทุนหลักของการผลิตไฟฟ้าโดยรวมในไทยอยู่ในระดับสูงนาน ซึ่งการหันไปผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาต้นทุนรวมของการผลิตไฟฟ้าในไทยได้ ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในไทยมีต้นทุนสูงถึง 3.3 บาทต่อหน่วย ส่วนต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ อยู่ที่เพียง 0.7-2.3 บาทต่อหน่วย เท่านั้น” ดร.พชรพจน์ กล่าว
นางสาวนิรัติศัย ทุมวงษา นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มเติบโตดีจากการสนับสนุนของภาครัฐมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งสะท้อนจากแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ ขยายตัวที่ 6% ในช่วงปี 64-79 โดยในปี 79 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ภาครัฐตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 7,077 เมกะวัตต์ เนื่องจากไทยมีศักยภาพด้านวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรซึ่งเป็นต้นทุนวัตถุดิบหลักของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ
อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้ามองว่า ภาครัฐจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือ VSPP มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งริเริ่มโครงการเฟสแรกเมื่อปี 61 เพื่อให้ตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างเต็มที่และสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทั่วทุกพื้นที่ในไทยในระยะข้างหน้า เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังมีครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่ถึง 57,440 ครัวเรือน อีกทั้งโครงการดังกล่าวช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนด้วย เนื่องจากจะต้องใช้วัตถุดิบหรือวัสดุเหลือใช้จากในชุมชนเป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า
ด้านนายพงษ์ประภา นภาพฤกษ์ชาติ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวเสริมว่า จำนวนโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะขนาด VSPP ในระยะ 5 ปีข้างหน้า (64-69) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกราว 430 แห่ง ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ชีวมวลจำนวน 54 แห่ง ชีวภาพ 236 แห่ง และขยะ 140 แห่ง ตามลำดับ เมื่อพิจารณาศักยภาพและปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าหมุนเวียนแต่ละประเภทร่วมด้วย พบว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยรวมมีทรัพยากรวัตถุดิบที่มากเพียงพอสำหรับผลิตไฟฟ้าตามเป้าหมายของแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ขณะที่ โรงไฟฟ้าชีวภาพและโรงไฟฟ้าขยะ ปัจจุบันมีเชื้อเพลิงที่มีศักยภาพไม่เพียงพอถึงปี 79 ดังนั้น ผู้ที่สนใจจะสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเตรียมความพร้อมด้านเชื้อเพลิงจากทั้งสองกลุ่มนี้
“การลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า เนื่องจากโรงไฟฟ้าในกลุ่มนี้มีการปล่อยฝุ่นละออง ขี้เถ้า เขม่า และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าในไทยได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำเอาเทคโนโลยีการดักจับฝุ่นละอองมาใช้ เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และเขม่า ให้เป็นตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว” นายพงษ์ประภา กล่าว
ส่วนในระยะข้างหน้าคาดว่า กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันที่ใช้ในโรงไฟฟ้าในไทยไม่สามารถดักจับได้ ดังนั้น อาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ อย่าง carbon capture ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าลงทุนสูงมาก จึงต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
BA ตั้งกองทรัสต์ ‘BAREIT’ มูลค่าไม่เกิน1.4หมื่นล.
ADVANC ควัก3.2หมื่นล. เข้าซื้อ'หุ้น+หน่วยลงทุน' จาก JAS - UBE เทกฯ กิจการ 'อุบลแสงอาทิตย์'
ADVANC อัดเงิน 3.24 หมื่นลบ. ซื้อTTTBB-JASIFจากกลุ่ม JAS
CHAYO พอร์ตหนี้แตะ7.4หมื่นล. - GL เฮ! ดีเอสไอไม่ฟ้องอาญา
GLเฮ DSI ไม่ฟ้องคดีอาญาบริษัท-อดีตกรรมการ
AQUA ซื้อหุ้น"ไทยพาร์เซิล" รุกวงการโลจิสติกส์ - EAส่งลูกเพิ่มทุนBYD