Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
AGE ฟอร์มดี โชว์กำไร Q1/68 ต่อเนื่อง
MAI
ECF ลุยปรับโครงสร้างองค์กร ลดต้นทุน มุ่งสินค้ามาร์จิ้นสูง
IPO
NUT โรดโชว์ข้อมูลธุรกิจ แก่นักลงทุนทั่วประเทศ
บล./บลจ
“โกลเบล็ก” ล็อกเป้าหุ้นเข้าคำนวณ SET50
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลัง ระดมแบงก์รัฐ ช่วยผู้ประกอบการรับมือกำแพงภาษีสหรัฐฯ
การค้า - พาณิชย์
กต. จับมือ กรุงศรี ยกระดับบริการการเชื่อมต่อระบบ e-Payment
พลังงาน - อุตสาหกรรม
BAFS ปลื้มกระแสตอบรับ ปิดดีลขายหุ้นกู้ทะลุเป้า 1 พันล.
คมนาคม - โลจิสติกส์
ETL คาด Q2 โตต่อเนื่อง ขนส่งทุเรียนรับบทพระเอก
แบงก์ - นอนแบงก์
SCB 10X ประกาศตั้ง “กวีวุฒิ” นั่งแท่นซีอีโอ
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SGC โชว์กำไร Q1/68 พุ่ง 298% รับ Lock Phone โตแรง
SMEs - Startup
'Tools for humanity' ตั้ง ‘ภัคพล’ นําทัพ ‘World' ประเทศไทย
ประกันภัย - ประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิตแกร่ง! งบไตรมาส 1/68 กำไรสุทธิ 2,683 ล้านบ.
รถยนต์
MGC-ASIA ฟอร์มเจ๋ง Q1/68 กำไรพุ่งกระฉูด 678%
ท่องเที่ยว
หอการค้ากระบี่ หนุนสร้างเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวกระบี่ ช่วงโลว์ซีซัน
อสังหาริมทรัพย์
BAM อัดแคมเปญ “โปรผ่อนที่ร้อนแรงที่สุดแห่งปี ดอกเบี้ย 0% 2 ปีแรก”
การตลาด
พีที สเตชั่น จับมือ “โป๊ยเซียน” เติมน้ำมัน-แจกยาดม
CSR
'Tools for humanity' ตั้ง ‘ภัคพล’ นําทัพ ‘World' ประเทศไทย
Information
MEDEZE” เผยผลการดำเนินงานไตรมาสแรก ปี 2568 เดินหน้ากลยุทธ์เติบโตต่อเนื่อง
Gossip
DMT จ่ายปันผลไม่เคยพัก! เตรียมรับทรัพย์อีก 23 พ.ค.นี้
Entertainment
SCBX จัดนิทรรศการ “ตามรอยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
ttb analytics ส่องยอดขายรถยนต์ในประเทศหดตัว สวนทางตลาด EV โตร้อนแรง
2023-09-28 18:05:25
268
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 66 ไม่ถึง 8.4 แสนคัน สวนทางรถยนต์นั่ง EV โต 5 เท่า ชี้ตลาดในประเทศยังเผชิญแรงกดดันจากมาตรการคุมเข้มและกำลังซื้อชะลอตัว
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566 อยู่ที่ 8.35 แสนคัน หรือ หดตัว 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ว่าจะได้อานิสงส์ตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเกือบแตะ 6 หมื่นคัน แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังเผชิญกับแรงกดดันรอบด้านทั้งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แผ่วลงค่อนข้างเร็ว กำลังซื้อชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนสูง รายได้เกษตรกรเปราะบาง ตลอดจนการชะลอซื้อรถยนต์ของภาคธุรกิจเพื่อรอความชัดเจนจากมาตรการรัฐ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินก็เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ จากคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อที่มีแนวโน้มด้อยลง และต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้นตามวัฎจักรดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงยาวนานเช่นนี้
โดยภาพรวมตลาดรถยนต์ในประเทศมีทิศทางซบเซาต่อเนื่อง เห็นได้จากตัวเลขยอดขายรถยนต์ในประเทศ 8 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 524,784 คัน หรือหดตัว 6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ซึ่งเมื่อพิจารณาลงลึกเป็นรายพื้นที่จากยอดจดทะเบียนใหม่ ก็พบว่า ตัวเลขรถยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่หดตัวถึง 22.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รองลงมาคือ ภาคกลางและภาคใต้ที่หดตัว 19.2% และ 9.6% ตามลำดับ ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีทิศทางทรงตัว
ทั้งนี้ การชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ในประเทศมาจากรถยนต์เชิงพาณิชย์เป็นหลัก โดยหดตัวสูงถึง 13% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แผ่วกว่าที่คาด แต่ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในกลุ่มรถกระบะและรถยนต์เอนกประสงค์ (PPV) ระดับพรีเมียมกลับยังขยายตัวได้ดีในเกือบทุกภูมิภาค ส่วนยอดขายประเภทรถยนต์นั่งยังขยายตัวได้ 3.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายกลุ่มนี้จะอ่อนไหวต่อภาพของเศรษฐกิจน้อยกว่ารถยนต์เชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังได้กระแสความนิยมในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้อานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนด้านราคาของภาครัฐ ส่งผลให้ยอดขายรถ EV สะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 59,025 คัน หรือขยายตัวถึง 433.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 3% ในปี 2565 เป็น 15-20% ในปัจจุบัน
แม้ยอดขายในประเทศโดยรวมหดตัว แต่ตัวเลขส่งออกกลับขยายตัวได้ดี ดันยอดผลิตรถยนต์ 8 เดือนแรกของปี 2566 ให้ขยายตัวได้ 3.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2559 ที่ระดับ 59.2% สวนทางกับการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศที่เหลือเพียง 40.8% ซึ่งสอดคล้องกับการชะลอตัวของตลาดในประเทศ ทั้งนี้ ยอดผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกในช่วงที่ผ่านมาที่ขยายตัวถึง 19.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาจากการเร่งชดเชยการส่งมอบรถที่ล่าช้า หลังเกิดปัญหาอุปทานชิ้นส่วนสำคัญชะงักงันจนทำให้การผลิตล่าช้าออกไป (Supply Lag) ในปีก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยอดส่งออกรถยนต์นั่งทั้งแบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) และ EV รวมไปถึงรถ PPV ที่เพิ่มขึ้นทั้งในตลาดเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง รวมถึงสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ ttb analytics จึงประเมินว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2566 จะอยู่ที่ 8.35 แสนคัน หรือหดตัว 1.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แบ่งเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์ 4.47 แสนคัน หรือหดตัว 10.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และรถยนต์นั่ง 3.88 แสนคัน ขยายตัว 11.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ส่งสัญญาณแผ่วลง กำลังซื้อในภาพรวมยังชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ผลพวงจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะกระทบต่อผลผลิตและรายได้เกษตรกร ตลอดจนการชะลอซื้อรถเพื่อการพาณิชย์ของภาคธุรกิจที่รอความชัดเจนจากมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ
ด้านตลาดรถEV ในปี 2566-2567 จะยังเป็นอีกปีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยคาดว่ายอดขายรถยนต์นั่ง EV ปีนี้อาจสูงถึงเกือบ 6 หมื่นคัน หรือเติบโตไม่น้อยกว่า 5 เท่า ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนรุ่นรถ EV ที่จำหน่ายในประเทศมีให้เลือกมากกว่า 50 รุ่นย่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะภายหลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ หรือ มาตรการอีวี 3.0 (และล่าสุดได้ออกมาตรการอีวี 3.5 ต่อเนื่องจากมาตรการเดิมที่จะหมดอายุสิ้นปี 2566) ส่งผลให้แบรนด์ผู้ผลิตรถ EV จีนรายใหญ่เร่งนำเข้ารถสำเร็จรูปจากจีนเพื่อเข้ารับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศกันอย่างคึกคัก กดดันให้ราคารถใหม่ในตลาดปรับตัวลงไม่น้อยกว่า 10-20% จนเรียกได้ว่าเป็นสงครามราคา (Price War) ที่กระตุ้นให้รถ EV มีความน่าสนใจในสายตาผู้บริโภคมากขึ้น
สำหรับธุรกิจเช่าซื้อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวจากปีก่อน ซึ่งมีส่วนกดดันอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ เนื่องจากมาตรฐานการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงที่เหลือของปียังเข้มงวดต่อเนื่อง จากความกังวลต่อความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้กู้และความเสี่ยงของมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันจากอุปทานรถยนต์ในตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่คาดว่าจะด้อยลงต่อจากแนวโน้มที่ Stage 2 ในปัจจุบันจะไหลมาเป็นหนี้เสีย (NPLs) เพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 พันล้านบาท รวมไปถึงต้นทุนการกู้ยืมของสถาบันการเงินที่ยังปรับตัวสูงขึ้นตามวัฎจักรดอกเบี้ยที่ยืนสูงในรอบ 10 ปี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้เป็นพิเศษ และส่งผลให้อัตราการอนุมัติสินเชื่อมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน
AGE ฟอร์มดี โชว์กำไร Q1/68 ต่อเนื่อง
PRM ธุรกิจหลักสุดแกร่ง หนุนกำไรโต 30.7%
SINGER โชว์กำไรแข็งแกร่ง 20 ลบ. ลุยขยายธุรกิจเต็มสปีด
RT แย้ม Q2/68 สดใส เร่งส่งมอบงาน 3 โครงการ
SYNEX อวดผลงาน Q1 กำไรโต 24%
PR9 วางเกมเจาะลูกค้าต่างชาติ หนุนกำไรปี 68 แกร่ง