Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
TFM อนุมัติแตกพาร์เหลือ 1 บาท - TQM ลุยต่อเนื่องปีที่ 8 ประกันมนุษย์เงินเดือน
MAI
DHOUSE แต่งตั้ง 4 บล. ร่วมจำหน่ายหุ้นกู้
IPO
“กลุ่มสมอทอง” ยื่นไฟลิ่ง ขาย IPO 231.60 ล้านหุ้น
บล./บลจ
‘โกลเบล็ก’ คัด 5 หุ้นเด่นเข้าตา ‘Thai ESGX’
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
คลังแถลงความพร้อมจัดงาน 150 ปี กระทรวงการคลัง
การค้า - พาณิชย์
บสย. เปิดบูธให้คำปรึกษา SMEs ฟรี! จัดเต็มโปรโมชัน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
SSP เคาะจ่ายปันผล 0.20 บ./หุ้น จ่อ COD โซลาร์ฟาร์มญี่ปุ่น Q4
คมนาคม - โลจิสติกส์
DMT ลุยประมูลโครงการ-ลงทุนธุรกิจใหม่ หนุนรายได้พุ่ง 10%
แบงก์ - นอนแบงก์
ธ.ก.ส. เปิดตัว “เงินฝากล้อมเพชร” ดอกเบี้ยสูงสุด 11.73%
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
MTC ปันผล 0.25 บ./หุ้น เป้าปี 68 ตั้งพอร์ตสินเชื่อโต 10-15%
SMEs - Startup
World ประเทศไทย จับมือ Com7 ขยายจุดยืนยันตัวตนยุค AI
ประกันภัย - ประกันชีวิต
TQM ชูแผน “ประกันมนุษย์เงินเดือน” ต่อเนื่องปีที่ 8
รถยนต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ส่งมอบรถยนต์กว่า 60 คัน แก่ AOT
ท่องเที่ยว
SCB EIC หวั่น Aftershock สะเทือนท่องเที่ยวไทย
อสังหาริมทรัพย์
SPALI เสิร์ฟดีลรับซัมเมอร์! ลดสูงสุด 7 ล้านบาท
การตลาด
‘คาร์ดเอกซ์’ ส่งโปร “ช้อปซูเปอร์ คุ้มจัมโบ้” รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 17%
CSR
World ประเทศไทย จับมือ Com7 ขยายจุดยืนยันตัวตนยุค AI
Information
SCAP ไฟเขียวทุกวาระ พร้อมอนุมัติจ่ายเงินปันผล
Gossip
XPG ส่งสัญญาณดี แย้มปันผลปีหน้า
Entertainment
SCBX จัดนิทรรศการ “ตามรอยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ เจ้าฟ้านักอนุรักษ์”
สกุ๊ป พิเศษ
CHAYO ปักธงปี 68 ดันรายได้โต 20%
คปภ.ถกภาคธุรกิจประกัน ยกระดับมาตรการกำกับดูแล
2025-04-24 16:45:57
104
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - คปภ. ประชุมร่วมภาคธุรกิจประกันภัย หารือเตรียมพร้อม เพื่อยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกัน รองรับการใช้บังคับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 นายโสรัจจ์ แรกสกุลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย เพื่อให้สามารถปรับตัวได้เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที จึงมอบหมายให้สายตรวจสอบ ร่วมกับสายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและพัฒนาแนวทางยกระดับมาตรการกำกับดูแลเชิงป้องกันบริษัทประกันภัยที่มีการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะทางการเงิน
โดยพบว่า บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาการดำเนินการที่อาจกระทบต่อฐานะการเงินจะแก้ไขปัญหาด้วยการจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็นหลัก อันเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น และไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางการเงินได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ผ่านมามาตรการแทรกแซงตามกฎหมายสำหรับใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหายังเผชิญกับข้อจำกัด ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยมีฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือมีการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
ด้วยเหตุดังกล่าว สำนักงาน คปภ. จึงได้พัฒนาจัดทำมาตรการยกระดับการกำกับดูแลฐานะทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย เพื่ออุดช่องว่างในกระบวนการ ให้บริษัทประกันภัยต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลาย จนอาจกระทบต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน จึงได้มีการประชุมร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย โดยมีผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทยเข้าร่วม เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และเตรียมความพร้อมรองรับสำหรับการบังคับใช้เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติกับบริษัทประกันภัยต่อไป
สำหรับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย นำมาใช้กับบริษัทประกันภัยที่จัดอยู่ในกลุ่ม 2 กลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 ตามการจัดกลุ่มของระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS) ซึ่งมีปัจจัยหรือข้อบ่งชี้ในบางประการที่อาจนำไปสู่ผลกระทบต่อฐานะ ทางการเงินและความมั่นคงของบริษัทประกันภัย และจะนำมาใช้เพื่อป้องกันก่อนที่เงินกองทุนของบริษัทประกันภัยดังกล่าวจะลดต่ำกว่าเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย/ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งในแต่ละมาตรการแทรกแซงจะมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ (Root Cause) ที่แท้จริง เป็นไปตามสัดส่วนความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละบริษัทประกันภัย
รวมถึงมีขั้นตอนการตัดสินใจ (Decision-Making Lines) ที่ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยมีข้อบ่งชี้ที่ใช้พิจารณาแบ่งกลุ่มบริษัทที่เข้ามาตรการแทรกแซงที่สามารถสะท้อนฐานะการเงิน ความมั่นคงของบริษัทในปัจจุบัน และความทนทานของเงินกองทุนส่วนเกิน (Surplus) ที่มีต่อผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งแบ่งความทนทานของบริษัทออกเป็น 3 ระดับที่มีความสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับ โดยจะเริ่มจากระดับเบาไปหาหนัก และหากบริษัทยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาตามมาตรการแทรกแซงได้ ก็จะถูกยกระดับการบังคับใช้มาตรการแทรกแซงที่สูงขึ้นในลำดับต่อไป
สำหรับผลการประชุมร่วมดังกล่าว ผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย เห็นด้วยกับมาตรการยกระดับการกำกับดูแลดังกล่าว เนื่องจากจะทำให้บริษัทประกันภัยได้ทราบหลักเกณฑ์และระยะเวลาของมาตรการแทรกแซง ที่ชัดเจนสามารถดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงก่อนที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายจนอาจนำไปสู่ผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน และมีความเห็นเพิ่มเติมในบางประเด็น อาทิ ในมุมของการมองผลขาดทุนของบริษัทประกันชีวิตที่อาจต้องมีการแยกพิจารณาผลขาดทุนในมุมผลขาดทุนที่แตกต่างจากบริษัทประกันวินาศภัย เป็นต้น ซึ่งสำนักงาน คปภ. จะรับข้อคิดเห็นดังกล่าวนำไปพิจารณา เพื่อให้มาตรการที่ออกมาสามารถนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนบังคับใช้ในลำดับต่อไป
TFM อนุมัติแตกพาร์เหลือ 1 บาท - TQM ลุยต่อเนื่องปีที่ 8 ประกันมนุษย์เงินเดือน
NKT เคาะจ่ายเงินปันผลปี 67 อัตรา 0.18 บ./หุ้น
BKGI รุกการแพทย์จีโนมิกส์ - SM วาง 4 กลยุทธ์หลัก อัพรายได้นิวไฮ 15%
BKGI ปักหมุดปี 68 รายได้โต 20-25 %
WSOL รีแบรนด์อย่างเป็นทางการ เตรียมเปิดตัว New S-Curve
TEGH ลุย Spin-Off บริษัท TEBP เข้า mai ปีนี้