Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
MAI
TPS เปิดแผนครึ่งปีหลัง นำ AI ยกระดับบริการไอที
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
ออร์บิกซ์ คว้า 2 รางวัลระดับนานาชาติ
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
พาณิชย์ เดินสายโซนตะวันออกจัดสัมมนาเชิงเทคนิค ครั้งที่ 2
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
LH Bank รุกกลุ่มลูกค้าไต้หวัน-ตปท. อัดโปรฯโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM ยกทรัพย์กว่า 4,000 รายการ พร้อมโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าหาดใหญ่
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
TTB ชวนลูกค้าต่อยอดความมั่งคั่ง เสริมความแกร่งให้พอร์ตการลงทุน
Gossip
SM ปล่อยหมัดเด็ดอัพยอดขายครึ่งปีหลัง
Entertainment
TCL เปิดแคมเปญ “CALRITY CHALLENGE"
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
TTB โชว์กำไรสุทธิไตรมาส 2/65 โตแรง 36%
2022-07-21 15:18:12
274
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – TTB ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/65 มีกำไรสุทธิ 3,438 ล้านบาท โต 36% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ 6 เดือนแรกของปี มีกำไรสุทธิ 6,633 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% โดยแรงกดดันด้านการตั้งสำรองฯ ที่ลดลง เนื่องจากคุณภาพสินทรัพย์เป็นไปตามเป้าหมายและสัดส่วนหนี้เสียลดลงต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2/65 มีกำไรสุทธิ 3,438 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากไตรมาส 1/65 และ 36% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน ส่งผลให้ 6 เดือนแรกของปี 65 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 6,633 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTB เปิดเผยว่า ผลประกอบการที่ดีขึ้นนี้ เป็นผลจากการดำเนินงานที่เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งในส่วนของการเติบโตสินเชื่อ แนวโน้มด้านรายได้ การบริหารจัดการค่าใช้จ่าย และคุณภาพสินทรัพย์ จึงทำให้ธนาคารยังคงรักษาแนวโน้มหรือโมเมนตัมเชิงบวกของผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4/64
โดยในไตรมาส 2/65 นี้ ด้านรายได้มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งด้านรายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับแรงหนุนจากการเติบโตสินเชื่อ และด้านรายได้ค่าธรรมเนียมที่ปรับตัวดีขึ้นจากค่าธรรมเนียมการขายประกันและค่าธรรมเนียมกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ซึ่งช่วยชดเชยในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมที่ยังคงชะลอตัวจากภาวะตลาดเงินตลาดทุนที่มีความผันผวนมาตั้งแต่ต้นปี
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้น แม้จะมีค่าใช้จ่ายจากแผนลงทุนด้านดิจิทัล แต่เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการรวมกิจการด้านต้นทุน หรือ Cost Synergy จึงทำให้สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ตามแผน สะท้อนได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่อยู่ในกรอบเป้าหมายมาโดยตลอด
ด้านค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯ ก็ลดลงเช่นกัน เป็นผลจากแรงกดดันด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลงเมื่อเทียบกับหลายไตรมาสก่อนหน้า ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธนาคารได้ตั้งสำรองฯ ล่วงหน้าไว้แล้วบางส่วนในปี 64 และที่ผ่านมาก็ดำเนินการดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างรอบคอบ ควบคู่กับแก้ปัญหาหนี้เสียเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้คุณภาพพอร์ตสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ควบคุมและมีสัดส่วนหนี้เสียที่ต่ำกว่าระดับอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 2/65 สินเชื่อรวม อยู่ที่ 1,393 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 1.6% จากสิ้นปีที่แล้ว โดยธนาคารสามารถเติบโตสินเชื่อกลุ่มลูกค้ารายย่อยได้ตามแผน นำโดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ตามลำดับ ขณะที่สินเชื่อกลุ่มลูกค้าธุรกิจเติบโตเช่นกัน โดยมาจากกลุ่มลูกค้าบรรษัทธุรกิจเป็นหลัก
ด้านเงินฝาก อยู่ที่ 1,395 พันล้านบาท ในไตรมาส 2/65 เพิ่มขึ้น 2.6% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 4.2% จากสิ้นปีที่แล้ว เป็นไปตามแผนการขยายเงินฝากเพื่อรองรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคต นำโดยเงินฝากลูกค้ารายย่อย ทีทีบี อัพ แอนด์ อัพ ขณะที่เงินฝาก ทีทีบี ออลล์ฟรี และทีทีบี โนฟิกซ์ ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ทั้งนี้ ในช่วงที่ธนาคารขยายฐานเงินฝากในอัตราที่เร็วกว่าสินเชื่อ อาจส่งผลให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยค่อนข้างเร่งตัวในระยะสั้น อย่างไรก็ดีจากรายได้ดอกเบี้ยที่ปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของสินเชื่อและกลยุทธ์การบริหารต้นทุนทางการเงิน จึงช่วยให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 2/65 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมปรับตัวดีขึ้นจากค่าธรรมเนียมการขายประกันที่เริ่มฟื้นตัวและค่าธรรมเนียมกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานรวมในไตรมาส 2/65 อยู่ที่ 15,889 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7% จากไตรมาสที่แล้ว
ธนาคารยังคงบริหารค่าใช้จ่ายได้ดี โดยอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้อยู่ที่ 45% ในไตรมาส 2/65 อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 45%-47% แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับ 44% ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากธนาคารเริ่มรับรู้ค่าใช้จ่ายจากแผนการลงทุนด้านดิจิทัล ประกอบกับมีรายการ one-time จากการรับรู้การขาดทุนจากการแปลงค่าเงินที่เกิดจากการปิดสาขาในประเทศลาว จึงส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ หรือ Pre-Provision Operating Profit (PPOP) ในไตรมาส 2/65 อยู่ที่ 8,752 ล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวหรือลดลงเพียง 0.7% จาก 8,818 ล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/64 โดยรวม 6 เดือน ปี 65 มี PPOP รวม 17,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.0% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ในไตรมาส 2/65 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 4,382 ล้านบาท เทียบกับ 4,808 ล้านบาท ในไตรมาส 1/65 รวม 6 เดือน ปี 65 ตั้งสำรองฯ ทั้งสิ้น 9,190 ล้านบาท เทียบกับ 10,971 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังถือเป็นการตั้งสำรองฯ ในระดับสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ทั้งนี้ จากการแก้ปัญหาหนี้เสียเชิงรุก ส่งผลให้สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมลดลงมาอยู่ที่ 2.63% เทียบกับ 2.81% ณ สิ้นปี 2564 และเมื่อพิจารณาสัดส่วนเงินสำรองฯ ต่อหนี้เสีย พบว่าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 133% จาก 129% ณ สิ้นปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นว่าการตั้งสำรองฯ ในระดับปัจจุบันมีความเพียงพอ และธนาคารยังคงมีกันชนรองรับความเสี่ยงในระดับสูง
ขณะที่ความเพียงพอของเงินกองทุนยังอยู่ในระดับสูงและเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/65 อัตราส่วน CAR และ Tier 1 (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.9% และ 15.8% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 12.0% และ 9.5% ตามลำดับ
“สำหรับช่วงที่เหลือของปี ธนาคารจะยังคงใช้กลยุทธ์การเติบโตอย่างมีคุณภาพ เน้นการเติบโตสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวังและเน้นกลุ่มลูกค้าความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ ขณะที่ ทีทีบี คอนซูมเมอร์ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนให้รายได้ดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อฟื้นตัวได้มากขึ้นในช่วงถัดไป ด้านคุณภาพสินทรัพย์จะยังคงยึดนโยบายรอบคอบตามเดิม เพื่อรักษาฐานะทางการเงินให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ยังคงมีอยู่ และยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งวันนี้ และอนาคต” นายปิติ กล่าว
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%
COCOCO เอ็มโอยู 2 หน่วยงาน เสริมแกร่งด้าน ESG
ORN Backlog แตะ 2.6 พันล. ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ใหม่ - TWPC ดันผลงานโต 2 หลัก
KUN ยื่นไฟลิ่งเตรียมออกหุ้นกู้ รองรับแผนพัฒนาโครงการใหม่