Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
PLUS มั่นใจภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ไม่กระทบออเดอร์
MAI
MPJ รุกเปิดพื้นที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ 'ลาดกระบัง-แหลมฉบัง'
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
โกลเบล็ก คัด 4 หุ้นหลบภัยตลาดหุ้นดิ่ง
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SJWD ชูโซลูชันโลจิสติกส์ รับมือปิดด่านเขมร
แบงก์ - นอนแบงก์
UOB เปิดผลสำรวจภาคธุรกิจปรับตัวรับมือมาตรการภาษีทรัมป์
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
กรุงศรี ออโต้ เปิดพฤติกรรมผู้ใช้รถใหม่ทั่วภูมิภาคของไทย
SMEs - Startup
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
ประกันภัย - ประกันชีวิต
เมืองไทยประกันชีวิต มอบรางวัลเกียรติยศ รพ.คู่สัญญา
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
SAM จัดประมูล ‘Clearance Sale’ ครั้งใหญ่แห่งปี ลดสูงสุดกว่า 50%
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
SCB TechX ตั้ง ‘สุทธิพงศ์’ นั่งแท่น CEO คนใหม่
Information
ตลท.มอบรางวัล “Happy Money Content Creator”
Gossip
PTG หุ้นคุณภาพดี ครบเครื่อง!
Entertainment
เมืองไทย Smile Trip : เที่ยว กิน ฟิน มู @นครศรีธรรมราช
สกุ๊ป พิเศษ
PTG แกร่งทุกมิติ ชู Non-Oil เรือธง
กรุงศรีประเมินขยายเพดานหนี้สาธารณะ-ภาคส่งออกหนุนการฟื้นตัวศก.
2021-09-28 18:39:06
693
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – วิจัยกรุงศรีมองพื้นที่ทางการคลังที่เพิ่มขึ้นและแรงขับเคลื่อนจากภาคส่งออก มีบทบาทสำคัญหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 วิจัยกรุงศรี ระบุว่า มูลค่าการส่งออกทั้งปี 64 จะเติบโต 13.5% โดยมูลค่าส่งออกในเดือนส.ค.64อยู่ที่ 22.0 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.9% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน แม้ชะลอลงเหลือเลขหลักเดียวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน แต่หากหักสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ มูลค่าส่งออกเดือนนี้ยังเติบโตดีที่ 19.4%
ทั้งนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในระดับสูงและมาตรการควบคุมที่เข้มงวดในช่วงเดือนส.ค.64 กระทบต่ออุปทานแรงงาน การขนส่ง และภาคการผลิต โดยสินค้าส่งออกสำคัญส่วนใหญ่เติบโตชะลอลง อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า (+6.3%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+6.5%) อิเล็กทรอนิกส์ (+12.7%) อาหารแปรรูป (+16.6%) ยานพาหนะและอุปกรณ์ (+23.5%)
อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกบางรายการยังคงเติบโตแข็งแกร่งกว่า 40% นำโดยวัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เกษตร เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้านตลาดส่งออก ตลาดหลักทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเติบโตชะลอลง ขณะที่ตลาด CLMV กลับมาหดตัว โดยเฉพาะเมียนมาร์ (-6.3% จากความวุ่นวายทางการเมือง) และเวียดนาม (-17.2% จากการระบาดของ COVID-19) อย่างไรก็ตาม ตลาดจีน อาเซียน ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ยังคงเติบโตดี
แม้ส่งออกเดือนล่าสุดเติบโตชะลอลงเหลือเลขหลักเดียว แต่มูลค่าส่งออกที่ระดับ 22.0 พันล้านดอลลาร์ ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทุกเดือนส.ค.64 ในรอบ 5 ปี ที่ 21.0 พันล้านดอลลาร์ โดยในช่วงที่เหลือของปีนี้วิจัยกรุงศรีคาดว่าการส่งออกของไทยจะค่อยๆ เติบโตดีขึ้น เนื่องจากภาวะชะงักงันของภาคการผลิตและการขาดแคลนแรงงานบรรเทาลง หลังจำนวนผู้ติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 เริ่มลดลง
นอกจากนี้ การส่งออกยังมีปัจจัยหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การระบาดที่คลี่คลายลงในหลายประเทศรวมถึงอาเซียน อีกทั้งการอ่อนค่าของเงินบาท อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของส่งออกไทยอาจจะไม่สูงมากดังเช่นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาซึ่งเคยเติบโตถึง 20-40% เนื่องจากการลดลงของผลบวกจากปัจจัยชั่วคราวทั้งการเร่งกลับมาใช้จ่ายของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยรวมแล้ววิจัยกรุงศรีจึงยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกในปี 64 ที่ 13.5% จากขยายตัว 15.2% ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้
ขณะที่วิจัยกรุงศรีประเมินการขยายเพดานหนี้สาธารณะไปที่ระดับ 70% ถือเป็นระดับที่โครงสร้างของประเทศยังรองรับได้ และยังเป็นระดับที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในอันดับความน่าเชื่อถือเดียวกัน อาทิ อินเดีย และมาเลเซีย การขยายเพดานหนี้สาธารณะจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้แก่การดำเนินมาตรการของภาครัฐซึ่งถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อเนื่องในการช่วยสร้างรายได้ที่ลดลงมากและเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีเคยเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการระบาดวงเงินราว 7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 6 มาตรการ ได้แก่ การให้เงินสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักตัว (16 พันล้านบาท) การรักษาระดับการจ้างงาน (285 พันล้านบาท) การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคธุรกิจ (20 พันล้านบาท) การลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือน (200 พันล้านบาท) การลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคธุรกิจ (43 พันล้านบาท) และการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคครัวเรือน (132 พันล้านบาท) โดยคาดว่าการใช้มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยประคองตัวอยู่ที่ 3.25% จากช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 อยู่ที่ 3.53%
PLUS มั่นใจภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ไม่กระทบออเดอร์
GBS ชี้เป้าหุ้นหลบภัย 'ทรัมป์' TISCO - BGRIM เด่น - CH ธุรกิจครึ่งปีหลังยังดี ลุย EXPO - เพิ่มฐานลูกค้า
KBANK เปิดบริการสแกนจ่าย QR ครอบคลุมกลุ่มอาเซียน - ADVANC โบรกฯ เคาะเป้า 315 บ.
ตลท. ดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย. 68 ปิดที่ 1,089.56 จุด
ADVICE เปิดเกมรุกไอทีพรีเมียม - CFARM เร่งเครื่องครึ่งปีหลัง ขยายธุรกิจไก่ไข่
A5 ยื่นไฟลิ่ง ลุยคลอดหุ้นกู้ ชูดอกเบี้ยสูงสุด 7.50%