Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
GPI เปิดแผนครึ่งปีหลัง รุกหนักอีเว้นต์ไลฟ์สไตล์-บันเทิง
MAI
CPANEL แบ็คล็อค 1,311 ล้านบ. รุกขยายฐานงานรัฐ-เอกชน
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
ตลท. ผนึกพลังสร้างระบบนิเวศ สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
BAY วางกรอบเงินบาท 32.10-32.75 มองภาษีทรัมป์กดดันตลาดการเงินโลก
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
TSE คว้ารางวัลพลังงานยอดเยี่ยม Thailand Energy Award 2 ปีซ้อน
คมนาคม - โลจิสติกส์
SCB EIC จับตาโทรคมนาคมไทยหลังประมูลคลื่นความถี่
แบงก์ - นอนแบงก์
ออมสิน คว้า 4 รางวัลใหญ่ Money & Banking Awards 2025
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SAWAD ลุยขายหุ้นกู้ 4 รุ่น ดอกเบี้ยสูงสุด 4.30%
SMEs - Startup
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
ประกันภัย - ประกันชีวิต
OCEAN LIFE ขนทัพประกันสุขภาพจับกลุ่ม Gen Y
รถยนต์
นิสสัน ปรับปรุงสายการผลิตในไทย เสริมแกร่งการแข่งขันด้านต้นทุน
ท่องเที่ยว
VRANDA ชี้ท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว เด้งรับ ‘เที่ยวคนละครึ่ง’
อสังหาริมทรัพย์
PREB ปรับพอร์ตงานก่อสร้าง โชว์ Backlog แน่น 1 หมื่นล.
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
Information
AOT จัดศึกษาดูงานคลังสินค้าภายในเขตปลอดอากร
Gossip
CHAYO ย้ำธุรกิจแกร่ง เตรียมปรับแผนหุ้นกู้ สร้างความมั่นใจนักลงทุน
Entertainment
เมืองไทย Smile Trip : เที่ยว กิน ฟิน มู @นครศรีธรรมราช
สกุ๊ป พิเศษ
"รุ่ง-วิทัย" ใครจะเข้าวิน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ
SCB EIC จับตาโทรคมนาคมไทยหลังประมูลคลื่นความถี่
2025-07-17 18:46:50
94
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ – SCB EIC มองการการประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช. ช่วยให้ต้นทุนของผู้ให้บริการลดลง หลังเปลี่ยนจากการเช่ามาเป็นการถือครองสัมปทาน พร้อมเพิ่มโอกาสในการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่มองรายได้จากราคาประมูลที่ไม่สูงมากอาจกระทบต่อแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 นางสาวกีรติญา ครองแก้ว นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้จัดประมูลคลื่นความถี่ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในปีนี้ ได้แก่ 850 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz และ 1500 MHz เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 2 ราย คือ 1. True ที่ได้รับคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ขนาด 70 MHz ซึ่งเดิมเช่าจาก NT และคลื่นความถี่ 1500 MHz ขนาด 20 MHz และ 2.AIS ซึ่งชนะการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz ขนาด 30 MHz ที่เดิมเช่าใช้จาก NT โดยผลการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งนี้ ทำให้ผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย สามารถคงคุณภาพการให้บริการในปัจจุบัน โดยเปลี่ยนจากการเช่า NT มาเป็นการถือครองสัมปทานโดยตรง
ทั้งนี้ การเปลี่ยนจากการเช่ามาถือครองสัมปทานของผู้ให้บริการจะช่วยลดต้นทุนค่าคลื่นความถี่ในระยะยาว และเพิ่มโอกาสในการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ การได้รับสัมปทานคลื่นความถี่ในครั้งนี้ ผู้ให้บริการจะสามารถลดภาระต้นทุนคลื่นความถี่จากการชำระค่าเช่ารายปีที่สูงถึง 3,900-4,500 ล้านบาทต่อปี เป็นค่าใบอนุญาตตลอดอายุ 15 ปีเฉลี่ยที่ 990-1,700 ล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับราคาที่ชนะการประมูล ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการลงทุนเพื่อยกระดับการบริการตามแผนของผู้ให้บริการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพโครงข่ายเดิม อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยี AI บนโครงข่ายอัจฉริยะ การขยายโครงข่าย 5G-Advanced ที่ช่วยให้การใช้งานมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาบริการดิจิทัลในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีโลกเสมือน (AR/VR) และอุปกรณ์อัจฉริยะ รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับเทคโนโลยี 6G ในระยะข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม การที่คลื่นความถี่ 850 MHz และ 1500 MHz บางส่วนยังไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้อาจทำให้ผู้บริโภคเสียโอกาสจากการได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นผ่านคุณสมบัติเฉพาะของย่านคลื่นความถี่ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้นบนโครงข่าย 5G และการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลที่มีความเสถียรมากขึ้น นอกจากนี้ รายได้ที่นำเข้ารัฐจากราคาประมูลที่ไม่สูงมากนักอาจกระทบต่อแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ เนื่องจากรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ถือเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ
ขณะที่การกำหนดนโยบายของภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมกลไกการแข่งขันในตลาด จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับผลประโยชน์มากขึ้น และผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศได้ในระยะยาว โดยโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมของไทยในปัจจุบันที่มีผู้ให้บริการหลักเพียง 2 ราย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จำกัดและการแข่งขันด้านราคามีความเข้มข้นลดลง
ดังนั้น การออกแบบนโยบายที่ช่วยเพิ่มกลไกการแข่งขันในตลาด จึงเป็นความท้าทายสำคัญของภาครัฐ อาทิ 1. การสนับสนุนผู้ให้บริการแบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) ให้มีโอกาสเข้ามาแข่งขันในตลาดมากขึ้น, 2. การกำกับดูแลด้านราคาและคุณภาพบริการที่เป็นธรรม อาทิ การกำหนดแพ็กเกจการบริการขั้นต่ำทั้งด้านราคา ปริมาณการใช้งาน และความเร็ว ให้สอดคล้องกับต้นทุนของผู้ให้บริการและคุณสมบัติของคลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการได้รับ และ 3. การทบทวนย่านคลื่นความถี่ ปริมาณ และราคาขั้นต่ำในการจัดสรรคลื่นความถี่ในครั้งต่อไปให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด แผนพัฒนาโครงข่ายของผู้ให้บริการ และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
GPI เปิดแผนครึ่งปีหลัง รุกหนักอีเว้นต์ไลฟ์สไตล์-บันเทิง
ผู้ถือหุ้นกู้ EA ทั้ง 11 รุ่น โหวตหนุนขยายเวลาไถ่ถอน
BWG แจง! ไม่ได้ขายกิจการทั้งหมดของ BWG-ETC ให้ GULF
BWG & ETC ปิดดีล GULF มูลค่า 1,100 ล้านบ. - TMI บอร์ดไฟเขียว! ซื้อคืน 11 ล้านหุ้น
MGC เข็นผลงานทั้งปีโต 10% - SMART ปรับหมากธุรกิจครึ่งปีหลัง เล็งรุกตลาดเทรนด์รักษ์โลก
MGC เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า อัพรายได้ปีนี้โต 10%