Phones





SCB CIO ชี้ช่องจัดพอร์ตลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก

2021-11-17 18:48:55 821



 
นิวส์ คอนเน็คท์ - SCB CIO แนะกลยุทธ์จัดพอร์ตลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก เน้นลงทุนหุ้นสหรัฐ ยุโรป เวียดนาม และ Tech จีน ลุ้นโอกาสรับผลตอบแทนดีในระยะยาว
 
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office (CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า กลยุทธ์จัดพอร์ตการลงทุนในช่วงปลายปี 64 ในสินทรัพย์ทั่วโลก เน้นหุ้นสหรัฐ ยุโรป เวียดนาม และTech จีน โดยมั่นใจว่าในระยะยาวมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี โดยตลาดหุ้นสหรัฐ และยุโรป ได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่ง การประกาศทำการลดการเข้าซื้อพันธบัตรตามที่ตลาดคาด (QE taper without tantrum) และตลาดแรงงานสหรัฐฯฟื้นตัวดีขึ้นมาก รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงมีแนวโน้มยืดเยื้อ จะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ต้องขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่มีวิกฤตโควิด-19 ในช่วงกลางปี 65
 
สำหรับตลาดหุ้นในกลุ่ม Emerging Markets มองว่า ตลาดหุ้นเวียดนามยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หลังมีการกลับมาเปิดเมืองและภาคการส่งออกยังคงเติบโตแข็งแกร่ง ในส่วนของตลาดหุ้นจีนยังคงมีมุมมอง neutral โดยเน้นการลงทุนในกลุ่ม tech ด้วยมูลค่าที่ถูกและความเสี่ยงด้านกฏเกณฑ์ภาครัฐ (Regulatory risks) ที่น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
 
ทั้งนี้ SCB CIO ประเมินหลังธนาคารกลางหลักทยอยประกาศการลดการเข้าซื้อพันธบัตร (QE tapering) ตลาดการเงินโลกจะเริ่มหันมาให้ความสนใจกับประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed มากขึ้น โดยหลังจากเริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาส 3/64 โดยล่าสุดเฟดประกาศเริ่มทำ QE taper ในช่วงเดือน พ.ย.64 และน่าจะเสร็จสิ้นช่วงกลางปี 65 ซึ่งตรงกับที่ตลาดคาดไว้ แต่ด้วยการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดแรงานในสหรัฐฯ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อสูงที่มีแนวโน้มยืดเยื้อถึงกลางปี65 ทำให้ตลาดเริ่มคาดการว่าเฟดน่าจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
 
โดย SCB CIO คาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังปี 65 เป็นอย่างเร็ว ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็วในปี 66 สำหรับการฟื้นตัวในกลุ่มประเทศอาเซียนเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น หลังการเปิดประเทศมีความคืบหน้าในช่วงไตรมาสที่ 4/64 อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากกำลังซื้อภายในประเทศ เนื่องจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีจำนวนไม่มากนัก โดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งยังคงใช้นโยบาย Zero COVID policy
 
สำหรับการขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวแบบค่อยเป็นค่อยไป และผลประกอบการที่แข็งแกร่งในตลาด DM ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักสำหรับหุ้นในกลุ่ม quality growth ตลาดพันธบัตร priced-in ประเด็นอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงที่น่าจะยืดเยื้อและการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักที่จะเกิดขึ้นเร็วกว่าคาด ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นขยับขึ้นเร็วกว่าพันธบัตรระยะยาว
 
ขณะที่ขนาดโครงการด้าน infrastructure ของประธานธิบดีโจ ไบเดน น่าจะมีขนาดไม่มากเท่ากับที่เคยประกาศไว้ ทำให้การเก็บภาษีรวมถึงปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลน่าจะน้อยกว่าที่คาด SCB CIO ยังคงมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ที่ 1.6% -1.8% ช่วงสิ้นปี 64 โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตามคือการเจรจาต่อรองเพดานหนี้สาธารณะในช่วงต้น ธ.ค. ซึ่งคาดว่าจะเป็นในลักษณะ last minute deal
 
สำหรับประเด็นราคาน้ำมันในตลาดโลก แม้ยังอยู่ในระดับสูงแต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลง หลังปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมัน ปริมาณการผลิตน้ำมัน และปริมาณน้ำมันสำรองในสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัว การขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่องทำให้เรายังเน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศ DM โดยเฉพาะในกลุ่ม Quality growth อย่างไรก็ตาม ความกังวลประเด็นอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงจะยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อตลาดหุ้นทั่วโลก การมีหุ้นในกลุ่ม value ใน portfolio ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการป้องกันความผันผวนในช่วงที่ bond yields เป็นขาขึ้น
 
ในส่วนกลยุทธ์จัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Asset Allocหation Portfolio Strategy) SCB CIO ยังคงมีมุมมองบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ ยุโรป และเวียดนาม รวมถึงแนะนำทยอยสะสมหุ้นกลุ่ม tech ของจีน ขณะที่ได้ปรับมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น neutral หลังจากที่ได้มีการ priced-in การฟื้นตัวของกำไรในไตรมาส 3/64 และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่น่าจะช้ากว่าคาด ไปแล้ว ในระยะข้างหน้าเราเชื่อว่าการเปิดเมืองและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยทำให้อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวชัดเจนขึ้น