Phones
หน้าแรก
Stock
เศรษฐกิจมหภาค
แบงก์ - Finance
อสังหาริมทรัพย์ - Marketing
ประกัน - ท่องเที่ยว
Variety
สกู้ป พิเศษ
SET
SISB ประเมินครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง
MAI
UREKA ลุยผลิตน้ำประปา รุกตลาดเม็ดพลาสติกรีไซเคิล
IPO
6 โบรกฯ ฟันธง! ATLAS หุ้นเด่นอนาคตไกล เคาะเป้าสูง 5.20 บ.
บล./บลจ
บล.โกลเบล็ก แนะ 4 หุ้นเด่น รับโครงการ Sandbox ก.ล.ต.
เศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง
ครม. เคาะ "วิทัย รัตนากร" ผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ มีผล 1 ต.ค. 68
การค้า - พาณิชย์
บสย. ผนึก “เงินดีดี” หนุน Micro SMEs รายย่อย-อาชีพอิสระ เข้าถึงแหล่งทุน
พลังงาน - อุตสาหกรรม
GULF เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งแรกภายใต้บริษัทใหม่
คมนาคม - โลจิสติกส์
"สุริยะ" เตรียมเปิดลงทะเบียนรับสิทธิ์ใช้รถไฟฟ้า 20 บ.
แบงก์ - นอนแบงก์
KBANK ผนึก แสนสิริ ปล่อยแคมเปญสินเชื่อบ้านสีเขียว
ไฟแนนซ์ - ลิสซิ่ง
SAWAD ลุยขายหุ้นกู้ 4 รุ่น ดอกเบี้ยสูงสุด 4.30%
SMEs - Startup
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
ประกันภัย - ประกันชีวิต
พรูเด็นเชียลฯ เปิดตัวแคมเปญ #PRU30MinsStartStrong
รถยนต์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ สานต่อแคมเปญ “Welcome Back Stars” ปีที่ 2
ท่องเที่ยว
ดันสุพรรณบุรีสู่ต้นแบบ Culture 2030 ของ UNESCO
อสังหาริมทรัพย์
ศุภาลัยอัดแคมเปญพิเศษ ตอบแทนทุกกลุ่มพันธมิตร
การตลาด
Shopee ผนึกพันธมิตร คว้าวง ENHYPEN เขย่าหัวใจแฟนคลับชาวไทย
CSR
KBANK จับมือ Google Cloud โชว์ความสำเร็จโครงการ Earth KATALYST
Information
SO ต้อนรับคณะนักลงทุน IAT เยี่ยมชมธุรกิจ
Gossip
EKH หุ้นตัวท็อป รพ.คูน หนุนเต็มพิกัด
Entertainment
พีทีจี จับมือ เตรียมอุดมศึกษา จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ‘TU Co-Learning Space by PTG’
สกุ๊ป พิเศษ
"รุ่ง-วิทัย" ใครจะเข้าวิน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ
KBANK ไตรมาส 2/68 กำไรลด 9.45% รวม 6 เดือนกำไร 2.6 หมื่นล.
2025-07-21 20:53:51
67
sharer
นิวส์ คอนเน็คท์ - ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK เปิดผลงาน Q2/68 มีกำไรสุทธิ 12,488 ล้านบาท ลดลง 9.45% จากไตรมาสก่อน จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงตามภาวะตลาด โดย NIM ลดลงอยู่ที่ระดับ 3.31% ขณะที่งวด 6 เดือนปี 68 มีกำไรสุทธิ 26,280 ล้านบาท ลดลง 0.98%
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK เปิดเผยว่า ผลดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2568 เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2568 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารจำนวน 12,488 ล้านบาท ลดลง 1,303 ล้านบาท หรือ 9.45% หลักๆ จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงตามภาวะตลาด รวมทั้งการดูแลช่วยเหลือด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระให้ลูกค้ามีความยืดหยุ่นทางการเงินมากขึ้น และช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ
โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) ลดลงอยู่ที่ระดับ 3.31% แม้ว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 13,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 266 ล้านบาท หรือ 1.95% สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ มีจำนวน 20,803 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 751 ล้านบาท หรือ 3.75% จากไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่จากค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้าและค่าใช้จ่ายทางการตลาด อย่างไรก็ตาม ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้อยู่ภายใต้องค์รวมของกรอบงบประมาณที่วางไว้ ส่งผลให้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ลดลง 1.68%
นอกจากนี้ ได้พิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 10,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 232 ล้านบาท หรือ 2.36% ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม รองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์ในอนาคต
สำหรับผลดำเนินงานงวด 6 เดือนปี 2568 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2567 ที่ปรับปรุงใหม่ ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 56,847 ล้านบาท ลดลง 2,470 ล้านบาท หรือ 4.16% ขณะที่การตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) จำนวน 19,868 ล้านบาท เพื่อให้สำรองฯ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ และภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและยังคงเผชิญกับความท้าทาย ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารสำหรับงวด 6 เดือน ปี 2568 มีจำนวน 26,280 ล้านบาท ลดลง 260 ล้านบาท หรือ 0.98%
ด้านภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2568 มีสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชน การผลิตภาคอุตสาหกรรม และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นทั้งในฝั่งผู้บริโภคและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ การใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งในส่วนของรายจ่ายประจำและรายจ่ายเพื่อการลงทุนหดตัวลง เพราะเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อนที่ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567 เริ่มมีผล
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 มองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตในระดับต่ำกว่าครึ่งแรกของปีค่อนข้างมาก หรือมีความเสี่ยงที่จะไม่เติบโต เนื่องจากการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวลึกหลังจากขยายตัวสูงไปแล้วในช่วงครึ่งปีแรก ประกอบกับอัตราภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่จะเก็บจากสินค้าไทยอาจสูงกว่าคู่แข่งสำคัญหลายประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องต่อบรรยากาศการลงทุน ในขณะที่แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอลงแรง แต่เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทำได้เพียงในระดับจำกัด นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะมีผลกดดันต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2569 ด้วยเช่นกัน
ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้าผู้ฝากเงิน ผู้ลงทุน ที่ครอบคลุมถึงลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจด้วยการดูแลช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,374,808 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33,854 ล้านบาท หรือ 0.78% เมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ที่ปรับปรุงใหม่ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากเงินลงทุนสุทธิ ซึ่งเป็นการลงทุนตามการคาดการณ์ภาวะตลาดและทิศทางอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิลดลง เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.66%
SISB ประเมินครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง
EKH กูรูเชียร์ 'ซื้อ' เป้าสวย 6.90 บ. - วิทัย รัตนากร ผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่
BBIK ย้ายเข้าเทรด SET เดินหน้าสร้างการเติบโต
CHAYO ชงต่อลมหุ้นกู้ 5 ชุด 3.9 พันล. - SCB Q2 โกยกำไร 1.2 หมื่นล. KBANK ผลงานหด 9.45%
SCBX กำไรสุทธิ Q2/68 ทะลัก 12,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.7%
KBANK ไตรมาส 2/68 กำไรลด 9.45% รวม 6 เดือนกำไร 2.6 หมื่นล.